Anti-Saccharomyces cerevisiae antibodies (ASCA)

ข้อควรรู้เกี่ยวกับการตรวจ Anti-Saccharomyces cerevisiae antibodies (ASCA) เพื่อแยกระหว่างโรคโครห์น และโรคลำไส้ใหญ่อักเสบชนิดเป็นแผล (Ulcerative colitis)
เผยแพร่ครั้งแรก 30 มิ.ย. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
Anti-Saccharomyces cerevisiae antibodies (ASCA)

การตรวจ Anti-Saccharomyces cerevisiae antibodies (ASCA) ทางเลือด ทำเพื่อวินิจฉัยโรคลำไส้อักเสบ (IBD) และช่วยแยกชนิดของโรคดังกล่าวระหว่างโรคโครห์น และโรคลำไส้ใหญ่อักเสบชนิดเป็นแผล (Ulcerative colitis) เพื่อที่จะได้มีการรักษาอย่างถูกต้องต่อไป

ชื่ออื่น: Anti-Saccharomyces cerevisiae mannan antibodies

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ชื่อทางการ: Saccharomyces cerevisiae Antibodies, IgG หรือ IgA

จุดประสงค์การตรวจ Anti-Saccharomyces cerevisiae antibodies (ASCA)

การตรวจ Anti-Saccharomyces cerevisiae antibodies (ASCA) ทำเพื่อช่วยแยกระหว่างโรคโครห์น และโรค ลำไส้ใหญ่อักเสบชนิดเป็นแผล (Ulcerative colitis) ซึ่งล้วนแต่เป็นชนิดของโรคลำไส้อักเสบ (Inflammatory bowel disease: IBD ที่พบบ่อยมากที่สุด

ส่วนใหญ่แล้วแพทย์จะวินิจฉัยโรคลำไส้อักเสบ ผ่านการประเมิน เช่น การตรวจชิ้นเนื้อของลำไส้เล็ก และเนื่องจาการแยกระหว่างโรคโครห์น และโรคลำไส้ใหญ่อักเสบชนิดเป็นแผลเป็นเรื่องยาก แพทย์จึงต้องตรวจ ASCA ควบคู่กับตรวจ Perinuclear anti-neutrophil cytoplasmic antibody (pANCA) เพื่อช่วยตัดสินชนิดของโรคลำไส้อักเสบดังกล่าว โดยผู้ที่เป็นโรคโครห์นมักมี ASCA ส่วนผู้ที่เป็นโรคลำไส้ใหญ่อักเสบชนิดเป็นแผลจะมี pANCA

เมื่อไรที่ต้องตรวจ Anti-Saccharomyces cerevisiae antibodies (ASCA)?

แพทย์จะตรวจ ASCA เมื่อผู้ป่วยมีสัญญาณและอาการที่บ่งชี้ถึงโรคลำไส้อักเสบ และเมื่อต้องการแยกระหว่างโรคโครห์น และโรคลำไส้ใหญ่อักเสบชนิดเป็นแผลออกจากกัน

สัญญาณและอาการของผู้ป่วยโรคลำไส้อักเสบ ประกอบไปด้วย

วิธีเก็บตัวอย่างเลือดเพื่อตรวจ Anti-Saccharomyces cerevisiae antibodies (ASCA)

แพทย์จะตรวจ Anti-Saccharomyces cerevisiae antibodies (ASCA) จากเลือดโดยการแทงเข็มเข้าไปในเส้นเลือดดำที่แขน ซึ่งผู้เข้ารับการตรวจไม่จำเป็นต้องเตรียมตัวล่วงหน้า

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

รายละเอียดการตรวจ Anti-Saccharomyces cerevisiae antibodies (ASCA)

Anti-Saccharomyces cerevisiae antibodies (ASCA) เป็นโปรตีนภูมิคุ้มกันที่พบได้บ่อยในผู้ที่เป็นโรคลำไส้อักเสบ (Inflammatory bowel disease: IBD) ซึ่งเป็นกลุ่มของโรคเรื้อรังที่เชื่อว่าเกิดจากกระบวนการที่ภูมิคุ้มกันทำร้ายเนื้อเยื่อร่างกายของตัวเอง ทำให้เนื้อเยื่อบุลำไส้บวมและเสียหาย

ชนิดของโรคลำไส้อักเสบที่พบได้บ่อยที่สุดก็คือ โรคโครห์น และโรคลำไส้ใหญ่อักเสบชนิดเป็นแผล ความแตกต่างของ 2 โรคนี้คือ โรคโครห์นสามารถส่งผลต่อทางเดินลำไส้ทุกส่วน ตั้งแต่ปากไปจนถึงรูทวาร แต่ส่วนใหญ่พบได้ในลำไส้เล็ก หรือลำไส้ใหญ่ ในขณะที่โรคลำไส้ใหญ่อักเสบชนิดเป็นแผลเกิดขึ้นในลำไส้ใหญ่เพียงบริเวณเดียวเท่านั้น

โดยทั่วไปแล้วแพทย์จะวินิจฉัยโรคโครห์น และโรคลำไส้ใหญ่อักเสบชนิดเป็นแผล โดยใช้วิธีส่องกล้องและตรวจชิ้นเนื้อตัวอย่างจากลำไส้เล็ก อย่างไรก็ตาม เนื่องจากทั้งโรคโครห์น และโรคลำไส้ใหญ่อักเสบชนิดเป็นแผล สามารถเกิดขึ้นในลำไส้ใหญ่ได้เหมือนกัน จึงทำให้เป็นเรื่องยากที่จะแยกระหว่างสองโรคนี้ในบางครั้ง หากเป็นเช่นนี้แพทย์จะนำวิธีตรวจ ASCA มาช่วย เพราะสามารถพบ ASCA ในผู้ที่เป็นโรคโครห์นได้บ่อยกว่าผู้ที่เป็นโรคลำไส้ใหญ่อักเสบชนิดเป็นแผล

อย่างไรก็ดี Saccharomyces cerevisiae antibodies ที่ร่างกายผลิตมี 2 กลุ่ม คือ ASCA IgG และ ASCA IgA ซึ่งการตรวจมักรวมสองกลุ่มนี้เข้าไปด้วย เพื่อช่วยพยากรณ์ความรุนแรงของโรคและความจำเป็นที่ต้องใช้วิธีผ่าตัด

ความหมายของผลตรวจ Anti-Saccharomyces cerevisiae antibodies (ASCA)

การแปลผล ASCA จะต้องทำร่วมกับผลตรวจ pANCA เพื่อยืนยันว่าผู้เข้ารับการตรวจเป็นโรคลำไส้อักเสบชนิดใด โดยสามารถแปลผลออกมาได้ 2 แบบ คือ

  • หาก ASCA เป็นบวก และ pANCA เป็นลบ ก็มีแนวโน้มว่าผู้ป่วยเป็นโรคโครห์น
  • หาก ASCA เป็นลบ และ pANCA เป็นบวก ก็มีแนวโน้มว่าผู้ป่วยเป็นโรคลำไส้ใหญ่อักเสบชนิดเป็นแผล

บางครั้งแพทย์อาจต้องตรวจแอนติบอดีอีกหลายชนิดเพิ่มเติมเพื่อประกอบการวินิจฉัย เช่น

  • ASCA
  • Perinuclear anti-neutrophil cytoplasmic antibody (pANCA)
  • Anti-CBir1 (Anti-flagellin antibody)
  • Anti-Omp C (Anti-outer membrane protein antibody)

หลังจากที่ตรวจแล้ว จะมีการนำผลในภาพรวมมาประเมินเพื่อช่วยแยกระหว่างโรคโครห์น และโรคลำไส้ใหญ่อักเสบชนิดเป็นแผล รวมถึงช่วยพยากรณ์ความรุนแรงของโรค

สิ่งที่ควรู้เกี่ยวกับ Anti-Saccharomyces cerevisiae antibodies (ASCA) ที่ควรรู้อีกบ้าง?

ปริมาณของ ASCA อาจไม่ได้สัมพันธ์กับความรุนแรงของอาการหรือภาวะ และไม่สามารถนำมาใช้ติดตามการตอบสนองต่อการรักษาได้

โดยปกติแล้วจะมีการตรวจ ASCA เพียง 1 ครั้ง เพื่อช่วยแยกโรคโครห์น และโรคลำไส้ใหญ่อักเสบชนิดเป็นแผล อย่างไรก็ตาม หากแพทย์สั่งให้ตรวจเพียงชนิดเดียวในตอนแรก แอนติบอดีอีกชนิดก็จะถูกตรวจในภายหลัง


1 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Anti-Saccharomyces cerevisiae antibodies (ASCA) (https://labtestsonline.org/tests/anti-saccharomyces-cerevisiae-antibodies-asca#), 19 February 2019.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)