พญ. สุชาดา สมศักดิ์ แพทย์เวชกรรมทั่วไป
เขียนโดย
พญ. สุชาดา สมศักดิ์ แพทย์เวชกรรมทั่วไป
ทีมแพทย์ HD
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
ทีมแพทย์ HD

แพ้ดินสอพอง ในช่วงสงกรานต์

สาเหตุ อาการ วิธีป้องกัน และวิธีรักษาอาการแพ้ดินสอพอง ปัญหาผิวที่พบได้บ่อยในช่วงสงกรานต์
เผยแพร่ครั้งแรก 22 มี.ค. 2019 อัปเดตล่าสุด 12 เม.ย. 2021 ตรวจสอบความถูกต้อง 1 เม.ย. 2019 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
แพ้ดินสอพอง ในช่วงสงกรานต์

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • ดินสอพองที่ไม่มีคุณภาพ หรือดินสอพองผสมสีอาจปนเปื้อนเชื้อโรค หรือเชื้อแบคทีเรียได้
  • หากเข้าตา ปาก หรือบริเวณที่เป็นแผลเปิด อาจทำให้เชื้อโรคเข้าสู้ร่างกาย และทำให้เกิดอาการแพ้ได้
  • อาการแพ้ดินสอพองที่ผิวหนัง เช่น ผื่นแดง คัน ลอก สิวผด หากเข้าตาอาจทำให้ตาอักเสบ เคืองตา ตาแดง หากเข้าปากอาจทำให้ท้องเสีย และอาหารเป็นพิษได้
  • วิธีป้องกันคือ ไม่เล่นดินสอพอง หรือใช้ดินสอพองที่มีคุณภาพ และระมัดระวังไม่ให้เข้าตา และปาก
  • วิธีรักษาคือ เมื่อเกิดอาการแพ้ให้รีบล้างด้วยน้ำสะอาดทันที หากอาการแพ้รุนแรง ควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัย และรักษาด้วยวิธีที่เหมาะสม (ดูแพ็กเกจตรวจภูมิแพ้ได้ที่นี่)

ดินสอพอง มักถูกนำมาใช้แต่งแต้มใบหน้าในช่วงเทศกาลสงกรานต์ แต่ก็มีคนจำนวนไม่น้อยที่เมื่อสัมผัสดินสอพองแล้วเกิดอาการแพ้ ระคายเคืองที่ผิวหนัง เช่น เป็นผื่นแดง คัน ลอก หรือสิวผด

นอกจากนี้หากดินสอพองเข้าตา หรือปากก็อาจก่ออันตรายต่อดวงตา ระบบทางเดินหายใจ และระบบทางเดินอาหารได้อีกด้วย

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

สาเหตุของการแพ้ดินสอพอง

ดินสอพองทำจากวัตถุดิบธรรมชาติจึงอาจปนเปื้อนเชื้อโรคได้ ทั้งกระบวนการผลิตยังมีการวางตากแดด ตากลม หรือบรรจุหีบห่อ ซึ่งหากกระบวนการผลิตไม่มีมาตรฐานก็อาจเกิดการปนเปื้อนได้เช่นกัน โดยเมื่อสุ่มตรวจก็มักพบเชื้อแบคทีเรีย หรือเชื้อบาดทะยัก 

แม้จะยังไม่มีการรายงานทางการแพทย์ที่ชัดเจนถึงการติดเชื้ออักเสบที่เกิดจากดินสอพอง แต่ก็ควรระมัดระวังอย่าให้เข้าตา ปาก หรือบริเวณที่เป็นแผลเปิด ซึ่งเป็นช่องทางนำเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายจนอาจเป็นอันตรายต่อชีวิตได้

นอกจากนี้ดินสอพองที่ผสมสีก็อาจมีสารอันตรายอย่างปรอท หรือตะกั่วปนเปื้อนด้วย ซึ่งอาจทำให้เกิดพิษได้ทั้งชนิดเฉียบพลัน และชนิดเรื้อรัง เช่น หากสารพิษมาถูกบาดแผล หรือรอยถลอกก็อาจทำให้ผิวหนังระคายเคือง เป็นสิว และเกิดผดผื่นแพ้ดินสอพองได้นั่นเอง

อาการแพ้ดินสอพอง

  • รู้สึกระคายเคืองบริเวณผิวหนังที่สัมผัสดินสอพอง มีอาการผื่นแดง คัน ลอก ปวดแสบปวดร้อน หรือสิวผด
  • หากดินสอพองเข้าตา อาจทำให้เกิดตาอักเสบจากเชื้อโรค คัน เคืองตา ตาแดง เจ็บ บวม หรือน้ำตาไหลได้
  • หากดินสอพองเข้าปาก อาจทำให้เกิดโรคที่เกี่ยวข้องกับระบบทางเดินอาหารได้ ไม่ว่าจะเป็นท้องเสีย ท้องร่วง หรืออาหารเป็นพิษ 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

วิธีป้องกันอาการแพ้ดินสอพอง

  • ควรเลือกซื้อดินสองพองในแหล่งผลิตโดยตรง และมีคำว่า “สะตุ” ที่แสดงให้เห็นว่า สินค้าผ่านมาตรฐานการผลิตแล้ว ถึงแม้จะมีราคาแพง แต่ก็มั่นใจได้ว่า ปลอดภัยต่อการสัมผัสร่างกายอย่างแน่นอน
  • หากจำเป็นต้องใช้ดินสอพองเล่นสงกรานต์ ควรระวังอย่าให้เข้าจมูก หรือปาก และหากมีบาดแผลที่ผิวหนังก็ควรหลีกเลี่ยงโดยเด็ดขาด
  • หลีกเลี่ยงการสูดดมดินสอพองนานๆ เพราะฝุ่นผงจากดินสอพองจะไปสะสมเป็นก้อนในปอด ทำให้เกิดโรคในระบบทางเดินหายใจได้

วิธีรักษาอาการแพ้ดินสอพอง

  • หากเกิดอาการแพ้ดินสอพองให้รีบใช้น้ำสะอาดล้างทันที เพราะหากปล่อยไว้อาจเกิดอาการระคายเคือง อาการแพ้รุนแรง และเป็นอันตรายถึงชีวิตได้
  • ไปพบแพทย์ทันที หากเกิดอาการผิดปกติ เช่น เกิดผื่นลมพิษทั่วร่างกายร่วมกับอาการแน่นหน้าอก เพื่อเข้ารับการวินิจฉัย และวิธีรักษาอาการแพ้ดินสอพองอย่างเหมาะสม

สงกรานต์เป็นประเพณีที่อยู่คู่กับสังคมไทยมาอย่างยาวนาน เพื่อการเล่นน้ำอย่างสนุกสนาน และปลอดภัย ควรใช้ดินสอพองที่ได้รับมาตรฐาน และหลีกเลี่ยงการนำดินสอพองไปป้ายตา หรือป้ายปากผู้อื่น

ดูแพ็กเกจตรวจภูมิแพ้ เปรียบเทียบราคา โปรโมชั่นล่าสุดจากโรงพยาบาลและคลินิกชั้นนำได้ที่นี่ หรือไม่พลาดทุกการอัปเดตแพ็กเกจเหล่านี้ เมื่อกดเป็นเพื่อนทางไลน์ @hdcoth และกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


3 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
สำนักเครื่องสำอางและวัตถุอันตราย กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวง สาธารณสุข, ดินสอพอง, (http://www.dmsc.moph.go.th/cosmetics/upload/knowledge/ดินสอพอง.pdf).
ประกาศกระทรวงสาธารณสุขเรื่อง กำหนดวัตถุที่ห้ามใช้เป็นส่วนผสมในการผลิต เครื่องสำอาง ตามราชกิจจานุเบกษา เล่ม 125 ตอนพิเศษ 80 ง ลงวันที่ 12 พฤษภาคม 2551.
Hoare C, Li Wan Po A, Williams H, Systematic review of treatments for atopic eczema. Health Technol Assess, 2000.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
กล้วย และประโยชน์ของกล้วยแต่ละชนิด
กล้วย และประโยชน์ของกล้วยแต่ละชนิด

สรรพคุณของกล้วยแต่ละชนิด ประกอบไปด้วยอะไรบ้าง ประโยชน์ที่คุณไม่ควรพลาดในปริมาณแค่ 105 แคลอรี่

อ่านเพิ่ม