โรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง หรือที่เรียกว่า “โรคผิวหนังอักเสบจากภูมิแพ้ (Atopic Dermatitis: AD)” เป็นหนึ่งในชนิดของโรคผิวหนังอักเสบที่พบได้มากที่สุด มักพบในเด็ก แต่ก็สามารถพบได้ในผู้ใหญ่เช่นกัน
สาเหตุของโรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง
โรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนังมักเกิดพร้อมกับภาวะอื่นๆ เช่น หอบหืด หรือไข้ละอองฟาง โดยสาเหตุที่ก่อให้เกิดโรคยังไม่ทราบแน่ชัด แต่ก็เชื่อว่าเป็นภาวะที่เกิดขึ้นจากหลายปัจจัยรวมกัน เช่น
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
- ปัจจัยทางด้านพันธุกรรม หากพ่อแม่มีประวัติเป็นโรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง ลูกจะมีโอกาสเป็นโรคนี้ และยังส่งผลต่อความรุนแรงของโรคอีกด้วย
- ความผิดปกติของผิวหนัง ผู้ป่วยโรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนังจะมีสภาพผิวหนังที่แห้งกว่าคนปกติมาก โดยอาจเกิดจากการลดลงของระดับเซราไมด์ (Ceremind) หรือการขาดโปรตีน ทำให้ผิวหนังระคายเคืองได้ง่าย
- ความผิดปกติของภูมิคุ้มกัน ทำให้เกิดการอักเสบของผิวหนังโดยไม่ต้องอาศัย IgE ตัวการสำคัญที่ทำให้เกิดสารฮีสตามีน ซึ่งในระยะยาวจะทำให้เกิดโรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนังตามมา
อาการของโรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง
อาการของโรคที่พบบ่อยคือ มีอาการปวด คัน แดง แห้ง และแตกสะเก็ด โดยส่วนมากจะมีอาการแสดงเล็กน้อย แต่จะมีช่วงที่รุนแรงขึ้นเมื่อได้รับสิ่งกระตุ้น หรือที่เรียกว่า “สารก่อภูมิแพ้”
โดยอาการของโรคสามารถเกิดกับผิวหนังส่วนใดของร่างกายก็ได้ บริเวณที่เกิดขึ้นบ่อย ได้แก่ หลัง หรือหน้าข้อเข่า นอก หรือในข้อศอก รอบคอ มือ แก้ม และหนังศีรษะ
สิ่งที่ผู้ป่วยมักกังวลคือ รอยคล้ำ หรือซีดบริเวณที่ป่วยเป็นโรค ซึ่งมักจะมองเห็นชัดในผู้ที่มีผิวเข้ม
ภาวะเช่นนี้ไม่ได้เป็นผลมาจากการเกิดแผล หรือผลข้างเคียงของครีมสเตียรอยด์ แต่เป็นเหมือนกับ “ร่องรอย” ที่การอักเสบครั้งก่อนทิ้งเอาไว้มากกว่า ซึ่งรอยเหล่านี้จะค่อยๆ กลับเป็นสีเดิมเอง
สิ่งที่กระตุ้นให้เกิดอาการ มีดังนี้
- ความเครียด สามารถทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของระบบภูมิคุ้มกันได้ และอาจเป็นตัวกระตุ้นให้ผู้ป่วยคัน และเกาผิวหนัง ตามมา
- สารก่อภูมิแพ้ ได้แก่
- สารก่อภูมิแพ้จากอาหาร สามารถกระตุ้นให้อาการของโรคกำเริบ หรือมีผื่นเห่อ โดยอาหารที่พบว่าเป็นสาเหตุได้บ่อย คือ ไข่ นม แป้งสาลี ถั่วเหลือง และถั่วลิง
- สารก่อภูมิแพ้ในอากาศ ไม่ว่าจะไรฝุ่น แมลงสาบ เชื้อรา หรือเกสรดอกไม้ก็สามารถกระตุ้นให้อาการของโรคกำเริบได้
- เชื้อจุลชีพ ผู้ป่วยโรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนังมักพบการติดเชื้อแบคทีเรียบนผิวหนัง โดยการรักษาด้วยยาฆ่าเชื้อที่มีฤทธิ์ต้านแบคทีเรียจะช่วยให้อาการดีขึ้น
- สิ่งระคายเคือง ไม่ว่าจะเป็นสบู่ หรือเสื้อผ้าที่หยาบ หรือเป็นขน ล้วนแต่เป็นสิ่งกระตุ้นที่อาจทำให้โรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนังกำเริบได้
- การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน ผู้หญิงอาจจะมีอาการแย่ลงในช่วงไม่กี่วันก่อนมีประจำเดือน หรือระหว่างตั้งครรภ์
- สภาพแวดล้อม อาการแห้ง-เย็น ความชื้น ละอองฝุ่น ขนสัตว์ หรือละอองเกสร หากผู้ที่สัมผัสเป็นภูมิแพ้ก็อาจกระตุ้นให้อาการของโรคกำเริบได้
การวินิจฉัยโรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง
แพทย์มักจะสามารถวินิจฉัยโรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนังได้จากการสังเกตผิวหนังที่มีอาการ และการสอบถามอาการจากผู้ป่วย
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
โดยคำถามที่แพทย์อาจถามคุณ เช่น
- ผื่นขึ้นบริเวณไหน มีอาการคัน หรือเคยมีการระคายเคืองส่วนนี้ หรือไม่
- ช่วงระยะเวลาที่ผิวแห้งนานเท่าไหร่
- ช่วงเวลาที่เริ่มมีอาการ และอาการที่มีเป็นๆ หายๆ หรือไม่
- ครอบครัวของคุณเคยมีประวัติโรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง หอบหืด หรือไข้ละอองฟาง หรือไม่
- คุณมีภาวะอื่นหรือไม่ เช่น เป็นภูมิแพ้ หรือหอบหืด
คุณควรแจ้งแพทย์ทันทีหากว่า อาการของคุณเริ่มส่งผลต่อคุณภาพชีวิต เช่น หากคุณเริ่มนอนไม่หลับ เพราะอาการคัน หรืออาการจากโรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนังส่งผลต่อการเรียน หรือการทำงาน
การตรวจหาสิ่งกระตุ้น
การหลีกเลี่ยงสารก่อภูมิแพ้จะช่วยลดการกำเริบของโรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนังได้มาก เมื่อคุณได้รับวินิจฉัยว่าเป็นโรคนี้แล้ว แพทย์มักจะให้ตรวจภูมิแพ้เพื่อหาสารที่ตัวกระตุ้นให้เกิดโรค เช่น
- สอบถามอาหาร และวิถีการใช้ชีวิตของคุณเพื่อมองหาว่าสิ่งใดเป็นตัวส่งเสริมให้เกิดอาการขึ้นมา ยกตัวอย่างเช่นคุณอาจจะมีอาการผื่นผิวหนังอักเสบหลังจากต้องกับสบู่หรือแชมพู เป็นต้น
- แนะนำให้คุณจดบันทึกการรับประทานอาหารของคุณกับการที่ประสบกับอาการของโรคขึ้นมาเพื่อให้แพทย์วิเคราะห์รูปแบบอาการระหว่างสิ่งที่คุณประสบกับอาหารการกินของคุณ
ปกติมักจะไม่มีการทดสอบภูมิแพ้เพื่อหาสิ่งเร้า แต่ก็อาจจะใช้ได้กับการมองหาภาวะแพ้อาหารที่อาจเป็นตัวกระตุ้นอาการของเด็กเล็ก
หรือเมื่อมีการคาดการณ์ว่า ภาวะแพ้อาหารมีส่วนของการเกิดอาการโรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง
การรักษาโรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง
โรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนังยังไม่มีวิธีรักษา มีเพียงการรักษาบรรเทาอาการต่างๆ กระนั้นผู้ป่วยที่เป็นเด็กหลายคนจะมีอาการดีขึ้นเองตามอายุที่เพิ่มขึ้น
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง
แนวทางการรักษาเบื้องต้น
- การใช้สารเพิ่มความชุ่มชื้นแก่ผิวหนัง เช่น ขี้ผึ้ง ครีม โลชั่น จะต้องใช้ทุกวัน วันละหลายๆ ครั้ง เพื่อไม่ให้ผิวแห้ง
- ยาคอร์ติโคสเตียรอยด์เฉพาะที่ เป็นยาในรูปแบบครีม หรือขี้ผึ้งสำหรับใช้ลดอาการบวมแดงระหว่างที่มีอาการปะทุ มีหลายระดับความแรง โดยจะต้องใช้ภายใต้การดูแลของเภสัชกร เนื่องจากตัวยาอาจทำให้เกิดผลข้างเคียง เช่น ผิวบาง สีผิวเปลี่ยน สิวขึ้น หรือขนขึ้นเยอะ
วิธีการรักษาอื่นๆ เช่น
- การใช้ยาพิเมโครลิมัส หรือทาโครลิมัสเฉพาะที่สำหรับโรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนังกับบริเวณผิวหนังบอบบางที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษาวิธีอื่น
- การใช้ยาต้านฮิสตามีนสำหรับอาการคันรุนแรง
- การพันผ้า หรือสวมเสื้อรัดร่างกายแบบพิเศษทับยาคอร์ติโคสเตียรอยด์เพื่อปล่อยให้ผิวหนังฟื้นฟูตนเอง พร้อมกับหยุดอาการแห้งของผิวหนัง
ภาวะแทรกซ้อนของโรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง
โรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนังจะทำให้ผิวหนังแตกแห้งได้ และยิ่งมีการเกา หรือดูแลรักษาไม่ดี ก็อาจเสี่ยงต่อการติดเชื้อแบคทีเรีย หรือเชื้อไวรัสที่ผิวหนังได้
1. การติดเชื้อแบคทีเรียทางผิวหนัง
สัญญาณของการติดเชื้อแบคทีเรีย มีดังนี้
- มีของเหลวขับออกจากร่างกาย
- เกิดสะเก็ดสีเหลืองบนผิวหนัง
- เกิดจุดสีเหลืองขาวบนบริเวณที่เป็นโรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง
- ผิวหนังเกิดอาการบวมและปวดขึ้น
- มีไข้สูง และรู้สึกไม่สบายเนื้อสบายตัว
เมื่อติดเชื้อแบคทีเรีย อาการปกติของคุณอาจจะทรุดลงอย่างรวดเร็ว และภาวะผื่นผิวหนังอักเสบจะไม่ตอบสนองต่อการรักษาตามปกติ
คุณควรเข้าพบแพทย์ทันทีที่คุณคาดว่า ผิวหนังตนเอง หรือลูกคุณเกิดการติดเชื้อ
2. การติดเชื้อไวรัสทางผิวหนัง
มีโอกาสที่ภาวะผื่นภูมิแพ้ผิวหนังจะทำให้ผิวหนังของคุณติดเชื้อไวรัสโรคเริม หรือคล้ายเริมได้ โดยอาการของโรคผื่นผิวหนังคล้ายเริ่ม มีดังนี้
- บริเวณที่เป็นจะเจ็บปวด และอาการทรุดลงอย่างรวดเร็ว
- เกิดตุ่มหนองที่อาจระเบิดออก และทิ้งหลุมไว้ ซึ่งจะก่อให้เกิดอาการปวดบนผิวหนัง
- ในบางกรณี ผู้ป่วยอาจมีไข้สูง และรู้สึกไม่สบายด้วย
ให้ติดต่อแพทย์ทันทีหากคุณคาดว่า คุณ หรือลูกเริ่มมีภาวะผื่นผิวหนังคล้ายเริม
หากคุณถูกวินิจฉัยว่า เป็นโรคผื่นผิวหนังคล้ายเริมจริง แพทย์จะใช้ยาต้านไวรัสที่เรียกว่า “อะไซโคลเวียร์ (Acyclovir)” กับคุณ
วิธีการดูแลตัวเองเมื่อป่วยเป็นโรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง
- หลีกเลี่ยงการเกา เพราะจะเพิ่มความรุนแรงของโรค และเสี่ยงต่อการติดเชื้อได้
- หลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้นที่จะทำให้อาการทรุดลง เช่น สารก่อภูมิแพ้ ผ้าเนื้อหยาบ ความร้อน หรือความเครียด
- ปรับเปลี่ยนอาหารการกิน หากโรคนี้มีสาเหตุมาจากการแพ้อาหาร ก็ควรเลิกกินอาหารชนิดนั้น
- บำรุงผิวให้ชุ่มชื้นอยู่เสมอ นอกจากจะบรรเทาอาการผิวแห้งแล้ว สารเพิ่มความชุ่มชื้นต่างๆ ยังมีส่วนช่วยต้านการอักเสบอ่อนๆ และลดความเสี่ยงการเกิดอาการอีกด้วย
ผลกระทบต่อลูกที่พ่อแม่ต้องใส่ใจ
1. การถูกรังแก
เด็กที่ป่วยเป็นโรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนังมักถูกเด็กในวัยเดียวกันที่สุขภาพร่างกายแข็งแรงรังแก ซึ่งอาจสร้างบาดแผลแก่จิตใจของเด็กได้ คุณควรทำความเข้าใจ ให้คำปรึกษา หรือหารือกับครูผู้ดูแลเกี่ยวกับความรู้สึกของลูกคุณ
2. ปัญหาด้านการนอนหลับ
ลูกของคุณอาจนอนไม่หลับจากการเกิดอาการ ซึ่งส่งผลต่ออารมณ์ พฤติกรรม และประสิทธิภาพในด้านการเรียน ทำให้เด็กเรียนได้ช้ากว่า
3. ความมั่นใจในตัวเอง
อาการแสดงของโรค เช่น ผื่นแดง คัน อาจส่งผลต่อความมั่นใจของลูกคุณได้ ซึ่งส่งผลต่อพัฒนาการทางสังคมมาก
คุณควรส่งเสริม และกระตุ้นความมั่นใจในตนเองของพวกเขา รวมถึงปรับทัศนคติที่พวกเขามีต่อรูปลักษณ์ของตัวเอง แต่หากอาการไม่ดีขึ้น การเข้าพบจิตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญนับเป็นหนึ่งในทางเลือกที่ไม่เลว
แม้ว่า โรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนังจะยังไม่มีวิธีการรักษาที่แน่ชัด แต่ผู้ป่วยเด็กส่วนใหญ่ก็จะหายได้เองเมื่อโตขึ้น
อย่างไรก็ตามเมื่อโตเป็นผู้ใหญ่แล้ว แต่ยังคงป่วยเป็นโรคนี้อยู่ การที่เรารู้วิธีดีแลรักษาที่เหมาะสม เช่น ทาสารให้ความชุ่มชื้นเป็นประจำ หลีกเลี่ยงสารกระตุ้น ก็จะช่วยให้อาการของโรคไม่กำเริบ และสามารถใช้ชีวิตได้อย่างปกติ
เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจภูมิแพ้และภาวะแพ้ จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกการอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android
เปนภูมิแพ้ทั้งแม่ละลูกควรทำยังไงดีค่ะ