Acid-Fast Bacillus (AFB)

ข้อควรรู้เกี่ยวกับการตรวจ Acid-Fast Bacillus (AFB) ทางเสมหะ เพื่อวินิจฉัยเชื้อวัณโรคระยะแสดงอาการ พร้อมรายละเอียดการตรวจ และความหมายของผลตรวจ
เผยแพร่ครั้งแรก 7 เม.ย. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 5 นาที
Acid-Fast Bacillus (AFB)

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • วัณโรค (Tuberculosis หรือ TB) เป็นโรคติดต่อที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Mycobacterium ซึ่งมีหลายชนิด เชื้อแบคทีเรียสามารถแพร่เชื้อโดยการรับละอองเสมหะจากปอดผู้ป่วยจากการไอ จาม 
  • ผู้ที่มีอาการบ่งชี้ว่า อาจเป็นวัณโรค แพทย์จะนิยมสั่งตรวจหาเชื้อแบคทีเรียชนิดนี้ด้วยการตรวจเสมหะย้อมเชื้อ Acid-Fast Bacillus (AFB) โดยเก็บตัวอย่างจากเสมหะ หรือน้ำในกระเพาะอาหารจากเด็กไปทดสอบ
  • การตรวจ AFB ยังสามารถช่วยวินิจฉัย ติดตาม และลดการแพร่กระจายโรควัณโรค รวมถึงระบุประสิทธิผลของการรักษาได้อีกด้วย
  • อาการที่อาจแสดงถึงวัณโรค เช่น ไอเรื้อรังพร้อมมีเสมหะ เป็นไข้ หนาวสั่น อ่อนเพลีย มีเหงื่อออกตอนกลางคืน เบื่ออาหาร น้ำหนักลดโดยหาสาเหตุไม่ได้
  • นอกจากดูแลสุขภาพให้แข็งแรงอยู่เสมอ หลีกเลี่ยงการเดินทางไป หรืออยู่ร่วมในสถานที่แออัดผู้คนแล้ว การตรวจสุขภาพเป็นประจำยังเป็นสิ่งที่ควรปฏิบัติ (ดูแพ็กเกจตรวจสุขภาพได้ที่นี่)

วัณโรค (Tuberculosis หรือ TB) เป็นโรคติดต่อที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Mycobacterium ซึ่งมีหลายชนิด สำหรับเชื้อแบคทีเรียชนิดที่พบบ่อยในประเทศไทย ได้แก่ M.tuberculosis 

เชื้อแบคทีเรียสามารถแพร่เชื้อโดยการรับละอองเสมหะจากปอดผู้ป่วยจากการไอ จาม ในบริเวณที่มีประชากรอยู่รวมกัน เช่น บ้าน โรงเรียน ประชากรกลุ่มเสี่ยง เช่น ผู้ที่มีอายุน้อย ผู้สูงอายุ ผู้มีโรคประจำตัว 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

นอกจากนี้ยังพบว่า ผู้ป่วยโรคที่เกี่ยวข้องกับระบบภูมิคุ้มกัน เช่น โรคเอดส์ (AIDS) มีความเสี่ยงต่อการเป็นวัณโรคมากขึ้นเมื่อได้รับเชื้อแบคทีเรียชนิดนี้

ผู้ที่มีอาการบ่งชี้ว่า อาจเป็นวัณโรค แพทย์จะนิยมสั่งตรวจหาเชื้อแบคทีเรียชนิดนี้ด้วยการตรวจเสมหะย้อมเชื้อ Acid-Fast Bacillus (AFB) โดยเก็บตัวอย่างจากเสมหะ หรือน้ำในกระเพาะอาหารจากเด็กไปทดสอบ 

จุดประสงค์ของการตรวจ Acid-Fast Bacillus (AFB)

การตรวจ AFB ทำให้พบแบคทีเรียหลายชนิด แต่แบคทีเรียที่พบได้บ่อยมากที่สุดและมีความสำคัญทางการแพทย์ คือ Mycobacterium Tuberculosis หนึ่งในสปีชีส์ของ Mycobacterium ที่ทำให้เกิดการติดเชื้อมากที่สุด

และยังมีไมโคแบคทีเรียอีกกลุ่มหนึ่งที่มีชื่อว่า Non-tuberculous Mycobacteria (NTM) สามารถทำให้เกิดการติดเชื้อได้เช่นกัน

นอกจากนี้การตรวจ AFB สามารถช่วยวินิจฉัย ติดตาม และลดการแพร่กระจายโรควัณโรค รวมถึงระบุประสิทธิผลของการรักษาได้อีกด้วย

การตรวจ AFBช่วยให้แพทย์สามารถตรวจหา Acid-Fast Bacilli เพื่อหาการติดเชื้อวัณโรคระยะแสดงอาการมากที่สุด โดย Acid-Fast Bacilli เป็นไมโคแบคทีเรียชนิดหนึ่งที่สามารถมองเห็นได้ 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

เมื่อนำไปส่องกับกล้องจุลทรรศน์และนำไปผ่านกระบวนการย้อมสี แบคทีเรียจะมีสีเดียวกับสีที่ย้อมหลังจากล้างด้วยแอลกอฮอล์ที่ใส่กรด

สำหรับชื่ออื่นๆ ของ AFB ได้แก่

  • AFB Smear and Culture
  • TB Culture and Sensitivity
  • Mycobacteria Smear and Culture
  • TB NAAT
  • Acid-Fast Bacillus Smear and Culture and Sensitivity
  • Mycobacterium tuberculosis Nucleic Acid Amplification Test

นอกจากการตรวจ AFB แล้ว ยังมีการตรวจอีกหลายวิธีที่นำมาใช้ควบคู่กัน เช่น 

  • การตรวจหาโมเลกุลสำหรับโรควัณโรค (Nucleic Acid Amplification Test (NAAT)): การทดสอบนี้มักถูกนำมาใช้เมื่อผลของ AFB Smear เป็นบวก หรือแพทย์สงสัยว่า ผู้ป่วยเป็นโรควัณโรค การตรวจหาโมเลกุลนี้สามารถช่วยวินิจฉัยเบื้องต้นได้เหมือนกับการทำ AFB Smear โดยทั่วไปแล้วเราจะทราบผลตรวจของ NAAT ใน 1-3 วันหลังจากที่เก็บตัวอย่างเสมหะ หรือของเหลวจากทางเดินหายใจ
  • AFB Cultures: เป็นการเพาะเชื้อเพื่อวินิจฉัยการติดเชื้อ M. tuberculosis ที่อยู่ในระยะแสดงอาการ และการติดเชื้อที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียที่ไม่ใช่เชื้อวัณโรค (Non-tuberculous Mycobacteria) แม้ว่าการเพาะเชื้อตอบสนองได้ง่ายกว่า AFB Smear แต่อาจต้องใช้เวลาหลายสัปดาห์ในการรอผลตรวจ
  • Susceptibility Testing: การตรวจประเภทนี้มักถูกสั่งให้ทำควบคู่กับการตรวจ AFB Cultures เพื่อหายาปฏิชีวนะที่มีประสิทธิผลมากที่สุดในการรักษาการติดเชื้อไมโคแบคทีเรีย

เมื่อไรที่ต้องตรวจ Acid-Fast Bacillus (AFB)?

ผู้ที่ต้องเข้ารับการตรวจ AFB คือผู้ที่แพทย์สงสัยว่า จะมีเชื้อวัณโรค ดังต่อไปนี้

  • มีสัญญาณและอาการที่บ่งชี้ว่า มีการติดเชื้อวัณโรคที่ปอดระยะแสดงอาการ หรือมีการติดเชื้อไมโครแบคทีเรียที่ปอดชนิดอื่นๆ เช่น
    • เฉื่อยชา
    • ไอเรื้อรังพร้อมกับมีเสมหะซึ่งอาจมีเลือดปนออกมาเป็นบางครั้ง
    • เป็นไข้ หนาวสั่น
    • มีเหงื่อออกตอนกลางคืน
    • เบื่ออาหาร
    • น้ำหนักลดโดยหาสาเหตุไม่ได้
    • อ่อนเพลีย
    • เจ็บหน้าอก
  • ผู้ที่มีอาการที่สัมพันธ์กับโรควัณโรค หรือการติดเชื้อไมโคแบคทีเรียชนิดอื่นๆ ที่อยู่ด้านนอกปอด ซึ่งอาการจะแตกต่างกันขึ้นอยู่กับบริเวณที่ได้รับผลกระทบ เช่น
    • ปวดหลังและอัมพาต (โรควัณโรคกระดูกสันหลัง)
    • อ่อนเพลียเนื่องจากโรคโลหิตจาง (การติดเชื้อวัณโรคที่ไขกระดูก)
    • สภาพจิตใจเปลี่ยนไป ปวดศีรษะ โคม่า (โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบจากเชื้อวัณโรค)
    • ปวดข้อ หรือปวดท้อง
  • มีผลตรวจวัณโรคเป็นบวก และมีการพบสัญญาณของโรคหลังจากที่เอ็กซ์เรย์ปอด ซึ่งจะมีการตรวจ 2 ชนิดที่แพทย์นำมาใช้เพื่อระบุว่า ผู้ป่วยติดโรคหรือติดเชื้อ M. tuberculosis หรือไม่ ได้แก่
  • ผู้ที่อยู่ใกล้ชิดกับผู้ที่ถูกวินิจฉัยว่า เป็นโรควัณโรค หรือผู้ที่เป็นโรคบางโรค เช่น โรค HIV ซึ่งมีความเสี่ยงที่จะเข้าสู่ระยะแสดงอาการมากขึ้น
  • ผู้ที่กำลังเข้ารับการรักษาโรควัณโรค โดยแพทย์ทำการตรวจ AFB เป็นระยะ เพื่อประเมินประสิทธิผลของการรักษาและเพื่อจะได้ทราบว่า ผู้ป่วยยังคงติดเชื้อหรือไม่
  • ผู้ที่มีการติดเชื้อเรื้อรังที่ผิวหนัง ซึ่งไม่ตอบสนองต่อยาปฏิชีวนะตามปกติ กรณีนี้อาจเกิดการติดเชื้อจาก Non-tuberculous Mycobacteria เนื่องจากแบคทีเรียชนิดนี้ ไม่ตอบสนองต่อยาปฏิชีวนะที่ใช้สำหรับรักษาการติดเชื้อแบคทีเรีย Staphylococcal หรือ Streptococcal

วิธีการเก็บตัวอย่างเสมหะเพื่อตรวจ Acid-Fast Bacillus (AFB)

ผู้ที่เข้ารับการตรวจ AFB จะต้องล้างปากด้วยน้ำก่อน แล้วไอแรงๆ ให้เสมหะออกมาเพื่อเก็บตัวอย่างในช่วงเช้าตรู่เป็นเวลาต่อเนื่องกัน 3 วัน ซึ่งตัวอย่างที่เก็บมานั้นจะถูกนำไปบรรจุในแก้วที่ผ่านการฆ่าเชื้อแยกกัน เพื่อทำให้โอกาสในการตรวจพบแบคทีเรียเพิ่มขึ้น

หากผู้เข้ารับการตรวจไม่สามารถผลิตเสมหะได้ แพทย์อาจเก็บตัวอย่างจากทางเดินหายใจโดยใช้กระบวนการที่เรียกว่า "การส่องกล้องหลอดลม (Bronchoscopy)" เพื่อเก็บตัวอย่างจากน้ำเมือกหลอดลมและหลอดลมฝอย 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

กรณีเด็กเล็กที่ไม่สามารถกระแอมเสมหะออกมาได้ แพทย์อาจเก็บตัวอย่างจากน้ำในกระเพาะอาหาร ซึ่งแพทย์จะใส่น้ำเกลือไปในกระเพาะอาหารผ่านทางสายยางแล้วทำการดูดน้ำในกระเพาะอาหารออกมา

หากแพทย์สงสัยว่า โรควัณโรคเกิดขึ้นด้านนอกปอด (Extrapulmonary) แพทย์อาจตรวจสอบของเหลวในร่างกายและเนื้อเยื่อที่มีแนวโน้มว่า จะได้รับผลกระทบมากที่สุด เช่น เก็บตัวอย่างปัสสาวะ หรือเก็บตัวอย่างของน้ำหล่อเลี้ยงสมองและไขสันหลัง (Cerebrospinal Fluid - CSF) 

ความหมายของผลตรวจ

การตรวจ AFB smear ที่ให้ผลลบ อาจหมายความว่า ผู้ป่วยไม่ได้ติดเชื้อ แต่อาการที่ปรากฏเกิดจากบางสิ่งที่ไม่ใช่ไมโคแบคทีเรีย หรือปริมาณของไมโคแบคทีเรียมีน้อยจนไม่สามารถมองเห็นได้โดยกล้องจุลทรรศน์ 

หากแพทย์ยังสงสัยว่า ผู้ป่วยติดเชื้อไมโคแบคทีเรีย อาจต้องเก็บตัวอย่างเพิ่มขึ้นและตรวจสอบคนละวัน

แต่หากผลการตรวจ AFB Smears เป็นบวกที่บ่งชี้ถึงการติดเชื้อไมโคแบคทีเรีย แพทย์อาจทำการเพาะเชื้อเพื่อยืนยันการวินิจฉัย และระบุสปีชีส์ของไมโคแบคทีเรียให้ชัดเจน

สำหรับผู้ที่มีสัญญาณและอาการของการติดเชื้อวัณโรคระยะแสดงอาการ แพทย์จะพิจารณาผลการตรวจ AFB Smear พร้อมกับผลตรวจ NAAT เพื่อให้การวินิจฉัยแม่นยำมากขึ้น และอาจต้องได้รับการยืนยันโดยผลจากการเพาะเชื้อ ตามตารางการแปลผลด้านล่างนี้

ผลการตรวจ AFB Smear

ผลการตรวจ NAAT

การแปลผล

บวก

บวก

วินิจฉัยขั้นต้นว่าเป็นวัณโรค

ลบ

บวก

อาจต้องตรวจตัวอย่างเพิ่มเติมโดยใช้ NAAT หากมีมากกว่าหนึ่งตัวอย่างที่เป็นผลบวก จึงจะวินิจฉัยขั้นต้นว่าเป็นวัณโรค

บวก

ลบ

ผลที่ได้ไม่แน่นอน ซึ่ง AFB ที่พบบน Smear ไม่ใช่ M. Tuberculosis

ลบ

ลบ

อาจไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อไมโคแบคทีเรีย

การตรวจ AFB คือ วิธีการตรวจผู้ที่แพทย์สงสัยว่าจะมีเชื้อวัณโรค เพื่อนำไปสู่การรักษาอย่างถูกต้องและทันท่วงทีต่อไป ดังนั้นหากสงสัยว่า ตนเองอยู่ในกลุ่มเสี่ยง เช่น อยู่ในสถานที่แออัด มีโรคเรื้อรัง โรคที่เกี่ยวกับระบบภูมิคุ้มกัน 

หรือมีอาการต้องสงสัยว่าอาจเกี่ยวข้องกับวัณโรค อาการที่พบบ่อย เช่น มีอาการไอ ไข้เรื้อรัง เบื่ออาหาร น้ำหนักลดไม่มีสาเหตุ อ่อนเพลีย หากเป็นเช่นนั้น คุณควรรีบไปพบแพทย์ทันที

ดูแพ็กเกจตรวจสุขภาพ เปรียบเทียบราคา โปรโมชั่นล่าสุดจากโรงพยาบาลและคลินิกชั้นนำได้ที่นี่ หรือไม่พลาดทุกการอัปเดตแพ็กเกจต่างๆ เมื่อกดเป็นเพื่อนทางไลน์ @hdcoth และกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


8 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Lab Test Online, Acid-Fast Bacillus (AFB) Testing (https://labtestsonline.org/tests/acid-fast-bacillus-afb-testing), 10 January 2019.
Healthline, What is an Acid-Fast Stain Test? (https://www.healthline.com/health/acid-fast-stain), 7 January 2019.
Medscape, What is the role of acid-fast bacillus (AFB) stain in the diagnosis of meningitis? (https://www.medscape.com/answers/232915-10856/what-is-the-role-of-acid-fast-bacillus-afb-stain-in-the-diagnosis-of-meningitis), 10 January 2019.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)