จะขอประวัติการทำฟันได้อย่างไร

การขอประวัติการทำฟันเป็นสิทธิของคุณ
เผยแพร่ครั้งแรก 21 มิ.ย. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
จะขอประวัติการทำฟันได้อย่างไร

คุณไม่ได้รู้สึกอยู่คนเดียวหากคุณเคยมีความคิดที่อยากจะแอบดูบันทึกการทำฟันของคุณทันทีที่ทันตแพทย์ออกไปจากห้อง แต่ไม่มีเหตุผลใดเลยที่คุณจะต้องรู้สึกผิดหรือกลัวจะถูกจับได้ ข้อมูลดังกล่าวเป็นของคุณ และภายใต้กฎว่าด้วยความเป็นส่วนบุคคลของ HIPAA คุณไม่เพียงสามารถขอดูประวัติการทำฟันของคุณเท่านั้น แต่เป็นประวัติการรักษาของคุณทั้งหมด

จะขอประวัติการทำฟันได้อย่างไร

ต้องขอบคุณ HIPAA ที่คุณเท่านั้นที่จะมีสิทธิในบันทึกการรักษาของคุณ และทั้งหมดที่คุณต้องทำคือการขอเท่านั้นเอง คุณสามารถไปพบทันตแพทย์เพื่อขอต่อเจ้าตัวเอง แต่ผู้เชี่ยวชาญหลายรายแนะนำให้เขียน เพื่อที่ทั้งคุณและผู้ให้บริการทางสุขภาพจะได้มีไว้เป็นบันทึก เป็นเรื่องสำคัญที่ต้องรู้ว่า ในฐานะผู้ป่วย คุณมีสิทธิในสำเนาบันทึกการรักษาของคุณ แต่ไม่ใช่ฉบับจริง บันทึกการรักษาฉบับจริงเป็นของผู้ให้บริการทางสุขภาพ ซึ่งจะไม่สามารถปฏิเสธการให้สำเนาการรักษาของคุณได้แม้คุณยังไม่ได้จ่ายค่ารักษาสำหรับการบริการที่คุณได้รับ อย่างไรก็ตาม พวกเขาอาจคิดค่าบริการสำหรับการจัดเตรียมและส่งเอกสารทางอีเมล

สำเนาเป็นรูปเล่มหรือบันทึกแบบอิเล็กทรอนิกส์

บันทึกนั้นมีอยู่สองรูปแบบ คือเป็นสำเนาแบบรูปเล่ม และ EMR (electronic medical records) ซึ่งทาง HIPAA มีบทบาทสำคัญในการพัฒนา EMRs อยู่ การบันทึกแบบอิเล็กทรอนิกส์ยังทำให้การแชร์ข้อมูลเป็นไปอย่างปลอดภัยและราบรื่นกว่าอีกด้วย

ไม่มีสิ่งใดที่ดีไปกว่ากัน ไม่ว่าจะเป็นสำเนาแบบรูปเล่มหรือบันทึกแบบอิเล็กทรอนิกส์ แต่เป็นสิ่งใดที่คุณชอบมากกว่า เตือนตนเองไว้ด้วยว่าบันทึกทางการแพทย์อาจมีความยาวหลายร้อยหน้า ดังนั้นจึงควรกำหนดไว้ด้วยว่าคุณต้องการข้อมูลอะไร

คุณจะทำอะไรกับข้อมูลการทำฟันของคุณได้บ้าง

เมื่อคุณมีข้อมูลการทำฟันของคุณแล้ว คุณจะทำอะไรกับมันได้บ้าง ? ทาง HIPAA กำหนดไว้อย่างชัดเจนว่าคุณจะนำข้อมูลไปใช้ได้อย่างไรบ้าง ซึ่งต่อไปนี้เป็นสิทธิบางอย่างที่คุณทำได้

  • การขอสำเนาของข้อมูลการทำฟันจากบันทึกของตนเอง
  • การขอให้แก้ไขบันทึกการทำฟันของตนเอง
  • การถามว่าข้อมูลของคุณถูกใช้และแชร์อย่างไรบ้าง
  • การตัดสินใจว่าข้อมูลทางสุขภาพของคุณจะถูกส่งต่อให้บริษัททางการค้าหรือไม่
  • ขอรายงานสำหรับคำอธิบายวัตถุประสงค์จำเพาะ หากข้อมูลของคุณถูกส่งต่อ

HIPAA คืออะไร?

HIPAA คือ พระราชบัญญัติการเคลื่อนย้ายประกันสุขภาพและการคุ้มครอง (Health Insurance Portability and Accountability Act ) ตัวกฎหมายดังกล่าวประกาศใช้ในปี 1996 ซึ่งเป็นความพยายามที่จะทำให้ระบบการดูแลสุขภาพซับซ้อนน้อยลง และทำให้ผู้ป่วยมั่นใจในความปลอดภัย โดยเฉพาะความเป็นส่วนตัวของข้อมูลทางการแพทย์

ผู้ให้บริการทางสุขภาพบางรายเพิ่มขั้นตอนบางอย่างสำหรับการควบคุมความเป็นส่วนตัวของข้อมูลผู้ป่วย เช่น การใช้ระบบคีย์การ์ดแบบอิเล็กทรอนิกส์ คุณสามารถสอบถามผู้ให้บริการทางสุขภาพของคุณได้ว่าพวกเขาได้ทำอะไรไปบ้าง และวางแผนเพื่อทำตาม HIPAA

ผู้ให้บริการทางสุขภาพทุกคน องค์กรทางสุขภาพ และโครงการทางสุขภาพของรัฐบาลที่ใช้ เก็บรักษา หรือเคลื่อนย้ายข้อมูลทางสุขภาพของผู้ป่วยต้องทำตามระเบียบของ HIPAA แต่องค์กรทางสุขภาพขนาดเล็กที่ก่อตั้งขึ้นเองนั้นไม่อยู่ในความครอบคลุมของกฎหมายนี้


3 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Accessing Medical Records - Primary Care Support England. Primary Care Support England. (https://pcse.england.nhs.uk/services/gp-records/accessing-medical-records/)
How to Obtain Access to Your Dental Records. Verywell Health. (https://www.verywellhealth.com/can-i-access-my-dental-records-1058926)
Dental records: An overview. National Center for Biotechnology Information. (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3009547/)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
การผุกร่อนบนฟันน้ำนม
การผุกร่อนบนฟันน้ำนม

เตรียมความพร้อมดูแลฟันชุดแรกในชีวิตตั้งแต่วัยเด็ก เพื่อเป็นพื้นฐานดูแลฟันแท้ต่อไปในอนาคต

อ่านเพิ่ม
ทำฟันเด็ก วิธีรักษาฟัน การดูแลฟันเด็กให้แข็งแรง ค่าทำฟันเด็ก
ทำฟันเด็ก วิธีรักษาฟัน การดูแลฟันเด็กให้แข็งแรง ค่าทำฟันเด็ก

ฟัน อวัยวะสำคัญของร่างกาย เมื่อฟันลูกน้อยเริ่มมีปัญหาจะรักษาอย่างไร พร้อมบอกวิธีดูแลฟันเด็กให้แข็งแรง ค่าทำฟันเด็กในเบื้องต้น

อ่านเพิ่ม