กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

อยากผ่าฟันคุด ควรไปผ่าที่ไหน? ราคาประมาณเท่าไร การใช้สิทธิประกันสังคม

ไขข้อข้องใจ ถ้าต้องผ่าฟันคุดไปที่ไหนดี ใช้สิทธิ์ประกันสังคมได้หรือไม่ เช็กสิทธิ์ได้ที่ไหน และตัวอย่างราคาค่าผ่าฟันคุดตามโรงพยาบาลต่างๆ
เผยแพร่ครั้งแรก 22 มี.ค. 2019 อัปเดตล่าสุด 13 ม.ค. 2021 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
อยากผ่าฟันคุด ควรไปผ่าที่ไหน? ราคาประมาณเท่าไร การใช้สิทธิประกันสังคม

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • ฟันคุด คือ ฟันที่ไม่สามารถโผล่พ้นเหงือกได้ หากปล่อยทิ้งไว้จะทำให้เกิดอาการปวด เหงือกอักเสบ บวมแดง ฟันซ้อนเก หรือฟันข้างเคียงผุได้
  • ผ่าฟันคุดจะมีราคาแตกต่างกันไปตามความยาก-ง่าย และสถานพยาบาล หรือคลินิกทันตกรรมที่ให้บริการ โดยราคาเฉลี่ยอยู่ที่ 1,500-5,000 บาท
  • ผ่าฟันคุด สามารถใช้สิทธิประกันสังคมได้ และสถานพยาบาลบางแห่งก็สามารถเข้ารับบริการได้เลยโดยไม่ต้องสำรองจ่าย โดยราคาการผ่าฟันคุดที่สามารถเบิกจ่ายได้ตามสิทธิประกันสังคมปีละ 900 บาท
  • เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจถอน หรือผ่าฟันคุด

เมื่อฟันกรามที่ขึ้นไม่สามารถโผล่พ้นเหงือกได้ตามรูปแบบปกติของฟันซี่ทั่วไป จนทำให้เกิดอาการปวดเหงือก เราจะเรียกฟันแบบนี้ว่า "ฟันคุด" ซึ่งเป็นฟันที่จะต้องได้รับการผ่า หรือถอนออก ก่อนที่ฟันซี่นี้จะไปทำความเสียหายต่อฟันซี่ข้างๆ 

การผ่าฟันคุดเป็นการผ่าตัดที่สามารถเบิกประกันสังคมได้ ไม่ต้องสำรองจ่าย โดยคุณสามารถเช็กสิทธิ์โรงพยาบาลที่เข้าร่วมโครงการทำฟันไม่ต้องสำรองจ่ายทั่วประเทศ พร้อมตัวอย่างตารางเปรียบเทียบราคาผ่าฟันคุดของโรงพยาบาลได้ที่บทความนี้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ราคาโดยประมาณในการผ่าฟันคุด

การผ่าฟันคุดในสถานพยาบาล และคลินิกทันตกรรมจะมีราคาที่แตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับความยากง่ายในกระบวนการผ่า โดยราคาจะปรับเพิ่มขึ้นตามระดับความยาก 

แต่หากจะเปรียบเทียบอัตราค่าบริการระหว่างโรงพยาบาลรัฐ กับคลินิกทันตกรรมเอกชนในปัจจุบัน พบว่า ราคาไม่แตกต่างกันมากนัก 

ยกเว้นศูนย์ทันตกรรมของโรงพยาบาลในมหาวิทยาลัยบางแห่งที่จะมีราคาพิเศษสำหรับนิสิตนักศึกษาของสถาบันนั้นๆ เช่น

  • โรงพยาบาลคณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีราคาพิเศษสำหรับนิสิตระดับปริญญาตรี สามารถผ่าฟันคุดได้ในราคาเพียง 250-400 บาท/ซี่ และราคา 500-2,000 บาท/ซี่ สำหรับนิสิตปริญญาโท 
  • โรงพยาบาลทันตกรรม คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นิสิตปริญญาตรีสามารถผ่าฟันคุดได้ในราคาเพียง 200 บาท/ซี่ และ 300-500 บาท/ซี่ สำหรับศิษย์เก่า

ทั้งนี้ ราคาเฉลี่ยในการผ่าฟันคุดทั้งโรงพยาบาลรัฐ และคลินิกเอกชนจะอยู่ที่ 1,500-5,000 บาทโดยประมาณ

ผ่าฟันคุดใช้สิทธิประกันสังคมได้หรือไม่?

ผู้ประกันตนประกันสังคมสามารถใช้สิทธิ์เบิกค่าทำฟัน รวมถึงค่าใช้จ่ายในการผ่าฟันคุดได้ ทั้งจากโรงพยาบาลรัฐ โรงพยาบาลเอกชน และคลินิกทันตกรรม ซึ่งเป็นสถานพยาบาลที่ประกันสังคมระบุไว้ 

โดยข้อมูลจากสำนักงานประกันสังคมระบุว่า การถอนฟัน การอุดฟัน การขูดหินปูน และผ่าฟันคุด ให้ผู้ประกันตนมีสิทธิได้รับค่าบริการทางการแพทย์เท่าที่จ่ายจริงตามความจำเป็น แต่ต้องไม่เกิน 900 บาทต่อปี 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ถอนหรือผ่าฟันคุดวันนี้ ที่คลินิกใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 594 บาท ลดสูงสุด 67%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

อย่างไรก็ตาม หากเข้ารับการรักษาในสถานพยาบาลที่มีสติ๊กเกอร์ หรือข้อความแจ้งว่า "สถานพยาบาลแห่งนี้ให้บริการผู้ประกันตนกรณีทันตกรรม ทำฟัน ไม่ต้องสำรองจ่าย" นั่นแปลว่า คุณสามารถเข้ารับการบริการได้ทันที โดยไม่ต้องสำรองจ่ายล่วงหน้า หากอัตราค่าบริการไม่เกิน 900 บาท

โดยสามารถเช็กรายชื่อสถานพยาบาลที่ทำความตกลงกับสำนักงานประกันสังคมในการให้บริการทางการแพทย์กรณีทันตกรรมแก่ผู้ประกันตนได้

เปรียบเทียบอัตราค่าบริการผ่าฟันคุดในสถานพยาบาลต่างๆ?

ราคาการผ่าฟันคุดที่นำมาเปรียบเทียบต่อไปนี้ เป็นราคาโดยประมาณ ซึ่งอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ ขึ้นอยู่กับสถานพยาบาลที่ให้บริการ 

และนอกจากบริการผ่าฟันคุดแล้ว คุณยังสามารถเข้ารับการตรวจสุขภาพฟันทั้งเด็ก และผู้ใหญ่ เข้ารับการรักษาโรคเกี่ยวกับฟัน เช่น อุดฟันผุ รักษารากฟัน หรือเข้ารับบริการจัดฟัน ฟอกฟันขาว หรือทำรีเทนเนอร์ ได้อีกด้วย

โดยรายการสถานบริการที่มีบริการผ่าฟันคุดที่จะนำมาเปรียบเทียบ มีดังต่อไปนี้

1. โรงพยาบาลคณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

หากใช้บริการคลินิกทันตกรรมทั่วไปหรือแบบพิเศษ จะมีราคาอยู่ระหว่าง 1,500-5,000 บาท

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

แต่หากใช้บริการคลินิกทันตกรรมนิสิต

  • ระดับปริญญาบัณฑิต จะมีราคาอยู่ระหว่าง 250-400 บาท
  • ระดับบัณฑิตศึกษา จะมีราคาอยู่ระหว่าง 500-2,000 บาท

2. โรงพยาบาลทันตกรรม คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

หากใช้บริการคลินิกทันตกรรมทั่วไปหรือแบบพิเศษ จะมีราคาอยู่ระหว่าง 2,500-4,000 บาท

แต่หากใช้บริการคลินิกทันตกรรมนิสิต

  • ระดับปริญญาบัณฑิต จะราคาอยู่ที่ 200 บาท
  • ระดับบัณฑิตศึกษา จะราคาอยู่ที่ 300-500 บาท

3. ศูนย์ทันตกรรมครบวงจร 24 ชั่วโมง โรงพยาบาลยันฮี 

ราคาอยู่ที่ประมาณ 2,500-5,000 บาท

4. งานทันตกรรม โรงพยาบาลศิริราช 

ราคาอยู่ที่ประมาณ 1,500-2,000 บาท

5. งานทันตกรรม โรงพยาบาลศิริราช (นอกเวลาราชการ) 

ราคาอยู่ที่ประมาณ 3,500-4,500 บาท

6. คลินิกคณะทันตแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

ราคาอยู่ที่ประมาณ 1,700-5,000 บาท

7. iDentist Clinic (ไอเดนทิส คลีนิก)

ราคาอยู่ที่ประมาณ 1,500-4,500 บาท

8. Truth Dental Clinic (ทรูท เดนทัล คลินิก) 

ราคาอยู่ที่ประมาณ 3,500-7,500 บาท

9. ศูนย์ทันตกรรม MDC โรงพยาบาลนวมินทร์ 9 

ราคาเริ่มต้นอยู่ที่ประมาณ 2,000 บาท

10. คลินิกทันตกรรม โรงพยาบาลรามคำแหง 

ราคาอยู่ที่ประมาณ 3,500-4,500 บาท

เมื่อมีฟันคุดเกิดขึ้น คุณไม่ควรปล่อยทิ้งไว้ เพราะอาจทำให้เกิดการอักเสบเรื้อรัง เกิดฟันซ้อนเกไปกระทบฟันข้างเคียง รวมถึงการทำให้ฟันข้างเคียงติดเชื้อ หรือผุได้ 

เมื่อพบว่า มีฟันคุดควรไปพบทันตแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัย และผ่าฟันคุด ซึ่งมีให้บริการทั้งในโรงพยาบาลรัฐ และคลินิกทันตกรรมเอกชน ขึ้นอยู่กับความสะดวกของแต่ละบุคคล

เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจถอน หรือผ่าฟันคุด จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


5 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
โรงพยาบาลยันฮี, ศูนย์ทันตกรรม ครบวงจร 24 ชม. ค่ารักษา, (https://th.yanhee.net/ค่ารักษา/ศูนย์ทันตกรรมครบวงจร24ชม/), 2019.
โรงพยาบาลคณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ค่ารักษาพยาบาล (http://www.dent.chula.ac.th/hospital/fee.php), 2019.
สำนักงานประกันสังคม, การบริการที่ท่านจะได้รับจากสถานพยาบาล /(13 โรคยกเว้น)/ข้อสังเกต, (https://www.sso.go.th/wpr/), 09 กรกฏาคม 2561.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
5 อาหารที่น่าตกใจสำหรับการมีสุขภาพฟันที่ดี
5 อาหารที่น่าตกใจสำหรับการมีสุขภาพฟันที่ดี

อาหารที่สามารส่งเสริมสุขภาพของช่องปากได้อย่างน่ามหัศจรรย์

อ่านเพิ่ม
ทำอย่างไรให้รูปของคุณดูดีเวลาลงแข่งขัน
ทำอย่างไรให้รูปของคุณดูดีเวลาลงแข่งขัน

คำแนะนำ 6 ข้อในการทำให้มีรูปที่ดูดี

อ่านเพิ่ม
รวมขั้นตอนการผ่าฟันคุด ไม่ได้น่ากลัวอย่างที่คิด
รวมขั้นตอนการผ่าฟันคุด ไม่ได้น่ากลัวอย่างที่คิด

เตรียมตัวเตรียมใจก่อนผ่าฟันคุด สาเหตุ วิธีการผ่าฟันคุดโดยละเอียด

อ่านเพิ่ม