กระบวนการผ่าฟันคุด จัดเป็นกระบวนการผ่าตัดที่หลายคนกลัว ทำให้ไม่กล้าไปผ่า หรือแม้แต่ถอนฟันคุด เพราะกลัวจะเกิดอาการเจ็บมากจนทนไม่ไหว แต่ความจริงแล้ว กระบวนการผ่าฟันคุดไม่ได้น่ากลัวมากขนาดนั้น ทั้งยังช่วยขจัดปัญหาฟันที่ขึ้นไม่ปกติ จนเสี่ยงเกิดผลกระทบต่อฟันข้างเคียงด้วย
ความหมายของฟันคุด
ฟันคุด (Wisdom teeth) คือ ฟันที่ไม่สามารถปรากฎออกมาให้เห็นเหมือนฟันซี่อื่นๆ ในช่องปาก เนื่องจากมีการล้ม เอียง เก จนไม่สามารถงอกผ่านเหงือกออกมาได้ หรืองอกออกมาได้เพียงบางส่วน
ถอนหรือผ่าฟันคุดวันนี้ ที่คลินิกใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 594 บาท ลดสูงสุด 67%
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
ฟันซี่ที่มักจะเกิดฟันคุด คือ ฟันกรามซี่ที่ 3 ซึ่งอยู่ด้านในสุด เกิดขึ้นได้ทั้งซี่บน และซี่ล่างโดยปกติแล้ว จะงอกผ่านเหงือกออกมาในช่วงอายุ 16-23 ปี และในระหว่างที่ฟันคุดขึ้น และไปล้มเอียงกระทบต่อฟันซี่ข้างๆ ก็มักจะทำให้เกิดอาการปวดเจ็บเหงือกเกิดขึ้น
ทำไมจึงต้องผ่าฟันคุด?
จุดประสงค์หลักในการผ่าฟันคุด โดยหลักๆ มีดังต่อไปนี้
- ป้องกันภาวะเหงือกอักเสบ
- ป้องกันการเกิดฟันผุที่ฟันคุด รวมถึงฟันข้างเคียง
- ป้องกันปัญหาที่เกี่ยวกับกระดูกฟัน เช่น ฟันล้ม รากฟันถูกทำลาย
ซึ่งจากปัญหาดังกล่าว นั่นก็ไม่ได้หมายความคุณต้องผ่า หรือถอนฟันคุดกันทุกคน โดยแพทย์จะพิจารณาว่า ผู้เข้ารับบริการจะต้องผ่า หรือถอนฟันคุดไปตามกรณี ฟันคุดบางซี่หากไม่ได้เบียด สร้างความเสียหายให้กับฟันซี่ใกล้เคียง ก็อาจไม่จำเป็นต้องผ่าก็ได้
แล้วต้องผ่าฟันคุดทันทีหรือไม่?
หากหากฟันคุดงอกขึ้นแบบเอียงตัว หรือไม่งอกขึ้นมาแล้วยังเอนตัวลงในแนวระนาบ ซึ่งมีแนวโน้มว่า จะทำให้เกิดปัญหาในอนาคต ทันตแพทย์ก็อาจแนะนำให้มีการผ่าฟันคุดไว้ก่อน แต่อาจสามารถขอนัดหมายได้ในภายหลัง ไม่จำเป็นต้องผ่าทันที หรือภายในเวลาที่แพทย์กำหนด
แต่หากฟันคุดซี่ดังกล่าวมีอาการอักเสบ หรือการติดเชื้อรุนแรงจนทำให้เกิดอาการบวมร่วมกับมีหนองไหลแล้ว กรณีนี้ผู้เข้ารับบริการจะต้องมีการผ่าฟันคุดทันที และจะต้องรับประทานยาปฏิชีวนะร่วมด้วยเพื่อรักษาไม่ให้อาการติดเชื้อมีความรุนแรงมากกว่าเดิม
ขั้นตอนในการผ่าฟันคุด
ขั้นตอนกระบวนการผ่าฟันคุดจะมีดังต่อไปนี้
ถอนหรือผ่าฟันคุดวันนี้ ที่คลินิกใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 594 บาท ลดสูงสุด 67%
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
- ตรวจสุขภาพฟันให้เรียบร้อย แล้วนัดหมายวันเวลามาผ่าฟันคุด โดยก่อนผ่า แพทย์จะให้รับประทานอาหารให้อิ่มเสียก่อน เพราะหลังจากผ่าฟันคุด ผู้เข้ารับบริการจะไม่สามารถรับประทานอาหารได้สะดวกนักประมาณ 12 ชั่วโมง
- เมื่อเริ่มต้นการผ่า แพทย์จะฉีดยาชา หรือยาระงับความรู้สึกบริเวณเหงือกจุดที่ต้องผ่าเพื่อนำฟันคุดออกมา แต่ในกรณีถอนฟัน ก็อาจไม่ต้องฉีดยาชาเสมอไป แต่ผู้เข้ารับบริการจะรู้สึกตึงขณะแพทย์ถอนฟันคุดออกมา
- ยาชาจะออกฤทธิ์ภายในเวลา 5 นาทีหลังจากฉีด เมื่อยาออกฤทธิ์ดีแล้ว ทันตแพทย์จะเริ่มกรีดเหงือกส่วนที่เห็นฟันคุดออก แล้วใช้เครื่องมือถอนดึงเอาฟันซี่นั้นออกมา แต่หากฟันเอียงตัวลงไปอยู่ในแนวระนาบ ทันตแพทย์ก็อาจต้องกรอผ่าฟันออกเป็น 4 ชิ้น แล้วค่อยๆ นำออกมาทีละส่วน
- เมื่อผ่าฟันคุดออกมาเรียบร้อย แพทย์จะล้างแผลด้วยน้ำเกลือ และเย็บแผลด้วยไหมซึ่งอาจเป็นไหมไม่ละลาย หรือไหมละลายที่ไม่ต้องมาตัดกับทันตแพทย์อีกในภายหลังก็ได้ จากนั้นจะให้ผู้เข้ารับบริการกัดผ้าก๊อซไว้บริเวณแผลเพื่อห้ามเลือดเป็นเวลา 1 ชั่วโมง
หลังจากใส่ผ้าก๊อซให้กัดแล้ว ผู้เข้ารับบริการสามารถกลับไปพักผ่อนที่บ้านได้ และมักจะได้รับการจ่ายยาปฏิชีวนะ หรือยาแก้ปวดไปรับประทานด้วย
การตัดไหมหลังผ่าฟันคุด เจ็บหรือไม่?
ในกรณีที่ไม่ได้ใช้ไหมละลาย แพทย์จะนัดให้ผู้ป่วยมาตัดไหมหลังจากผ่าฟันคุดไปแล้ว 7 วัน ในระหว่างนี้แผลผ่าตัดของผู้เข้ารับบริการหลายรายจะเริ่มปิดสนิทแล้ว บางคนอาจจะหายจนเกือบเป็นปกติ และเริ่มรำคาญด้ายที่ทิ่มอยู่ในช่องปากบ้างแล้ว
การตัดไหมไม่ละลายจะใช้เวลาไม่เกิน 5 นาที และไม่สร้างความเจ็บปวดใดๆ ผู้ป่วยจะรู้สึกเหมือนเหงือกถูกรูดด้วยเชือกนิ่มๆ และหลังจากนั้นจะมีการล้างแผลด้วยน้ำเกลืออีกครั้ง รวมถึงแพทย์จะตรวจแผลไปด้วยว่า มีอาการอักเสบ หรือผิดปกติหรือไม่
หากไม่มี ผู้เข้ารับบริการก็สามารถกลับบ้านได้ และเพียงรักษาความสะอาดของแผล และช่องปากให้เรียบร้อยก็เพียงพอแล้ว
ผ่าฟันคุดเจ็บหรือไม่? ขั้นตอนไหนของการผ่าฟันคุดที่เจ็บที่สุด?
การผ่าฟันคุดเป็นการผ่าตัดที่ต้องมีการผ่าเหงือก และถอนฟันจากราก มีการฉีดยาชาให้กับผู้เข้ารับบริการ ดังนั้นส่วนมากผู้เข้ารับการผ่าฟันคุดเกือบทุกราย จึงต้องรู้สึกเจ็บเหงือกบ้างในระหว่างการผ่า
แต่หากถามว่า แล้วเจ็บตอนไหน? เป็นการยากที่จะบอกว่า ขั้นตอนไหนของการผ่าฟันคุดเจ็บที่สุด เนื่องจากแต่ละคนมีปัญหาฟันคุดไม่เหมือนกัน บางคนอาจจะรู้สึกเจ็บแค่เฉพาะตอนฉีดยาชา แต่ก็จะแค่ในระยะเวลาสั้นๆ ไม่กี่นาทีเท่านั้น
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
ส่วนที่อาจทำให้รู้สึกเจ็บอีกส่วน ก็คือ เมื่อแพทย์ใช้เครื่องมือดึงถอนฟันออกจากเหงือก ซึ่งผู้เข้ารับบริการอาจรู้สึกตึงคล้ายถูกมีอะไรบางอย่างถูกดึงออกจากเหงือก
สิ่งที่ควรระวัง และอาจทำให้เกิดอาการเจ็บกว่าเดิม คือ ผู้เข้ารับบริการขยับตัว หรือรู้สึกกลัวจนขยับศีรษะระหว่างถอนฟันคุด และทำให้เครื่องมือที่ถอนฟันไปกระทบเหงือกส่วนที่ผ่าออกจนเกิดความรู้สึกเจ็บได้
อย่างไรก็ตาม เมื่อการผ่าฟันคุดเสร็จสิ้น และมีการปฏิบัติตามคำแนะนำของทันตแพทย์ ผู้เข้ารับบริการบางรายก็อาจไม่มีการปวด หรือไม่มีอาการบวมเลยก็ได้ รวมถึงสามารถรับประทานอาหารได้ตามปกติ
ขณะที่ผู้เข้ารับบริการบางรายเมื่อผ่าฟันคุดเสร็จแล้ว อาจพบได้ทั้งอาการปวดตึงแผลจนไม่สามารถอ้าปากได้ ไปจนถึงแก้มบวมเหมือนอมลูกมะนาว ในบางรายอาจพบรอยเขียวช้ำบริเวณแก้มร่วมอยู่ด้วย และไม่สามารถกลืนอาหารได้แม้จะเป็นอาหารเหลวก็ตาม
การถอนฟันคุดมากกว่า 1 ซี่
สำหรับผู้ที่ต้องมีการผ่าฟันคุดมากกว่า 1 ซี่ โดยเฉพาะผู้ที่เข้ารับการจัดฟัน สามารถผ่าฟันคุดบน-ล่าง ข้างใดข้างหนึ่งพร้อมกันได้ครั้งละ 2 ซี่เลย
การผ่าฟันคุดพร้อมกันนั้น มีข้อดีหลายอย่าง เช่น ลดระยะเวลาในการผ่าฟันคุดลง จาก 3-4 ครั้ง เหลือเพียงแค่ 1-2 ครั้งเท่านั้น และโดยทั่วไปหลังผ่าฟันคุด ทันตแพทย์มักจะจ่ายยาแก้ปวด หรือลดอาการอักเสบที่มีผลต่อกระเพาะ และตับ การผ่าฟันคุดพร้อมกัน 2 ซี่จะช่วยลดการสะสมของยาลงได้
กระบวนการผ่าฟันคุดอาจทำให้คุณต้องเผชิญกับความเจ็บ หรืออาการปวด และช้ำจากแผลผ่าตัดบ้าง แต่ก็มักเป็นระยะเวลาไม่เกิน 1 สัปดาห์ หลังจากนั้นแผลก็จะค่อยๆ ฟื้นตัวดีขึ้น ไม่ทำให้รู้สึกเจ็บอีก
ดังนั้นอย่าหลีกเลี่ยงที่จะเข้ารับการผ่า หรือถอนฟันคุดโดยเร็ว มิฉะนั้นฟันซี่ดังกล่าวอาจไปทำอันตราย และส่งผลกระทบต่อฟันซี่อื่น จนทำให้ช่องปากของคุณได้รับความเสียหายจากฟันคุดมากขึ้นกว่าที่คาดคิด
เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจถอน และผ่าฟันคุด จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android