กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

ความดันโลหิตต่ำ (Hypotension)

ภาวะความดันโลหิตต่ำ หรือภาวะที่มีความดันโลหิตต่ำกว่า 90/60 มิลลิเมตรปรอท สามารถเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ แต่หากเกิดจากภาวะช็อกอาจเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิต
เผยแพร่ครั้งแรก 30 พ.ค. 2019 อัปเดตล่าสุด 3 ก.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
ความดันโลหิตต่ำ (Hypotension)

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
สูตรอาหารเสริม รวมสารสำคัญ 9 ชนิด สำหรับ เบาหวาน น้ำตาลในเลือดสูง ความดัน ไขมัน

ซื้อผ่าน HD ประหยัดกว่า / ราคาพิเศษสำหรับ นศ. / ผ่อน 0% / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

การมีความดันโลหิตต่ำ เช่น มีค่าน้อยกว่า 120/80 มิลลิเมตรปรอท (mmHg) ถือเป็นเรื่องที่ดี แต่ถ้าหากมีความดันโลหิตที่ต่ำกว่า 90/60 มิลลิเมตรปรอทหรือต่ำกว่านั้น อาจทำให้รู้สึกเหนื่อย วิงเวียนศีรษะบ่อยครั้ง และอาจเป็นสัญญาณบ่งบอกถึงความผิดปกติที่ควรได้รับการรักษา

ภาวะความดันโลหิตต่ำ สามารถแบ่งออกได้หลายประเภทตามสาเหตุที่เกิดขึ้น ดังนี้

  • ภาวะความดันโลหิตต่ำเมื่อเปลี่ยนท่า (Orthostatic Hypotension) : ภาวะที่ความดันโลหิตลดลงเมื่อมีการเปลี่ยนจากท่านั่งหรือท่านอนลุกขึ้นมายืน อาการนี้สามารถพบได้ในคนทุกวัย
  • ภาวะความดันโลหิตต่ำหลังทานอาหาร (Postprandial Hypotension) : การลดลงของความดันโลหิตที่เกิดขึ้นทันทีหลังจากรับประทานอาหาร เป็นกลไกคล้ายกันและจัดเป็นส่วนหนึ่งของภาวะความดันโลหิตต่ำเมื่อเปลี่ยนท่า ผู้สูงอายุโดยเฉพาะผู้ที่ป่วยเป็นโรคพาร์กินสันมีแนวโน้มที่จะเกิดภาวะความดันโลหิตต่ำประเภทนี้ได้มากกว่าคนทั่วไป
  • ภาวะความดันโลหิตต่ำจากระบบประสาทอัตโนมัติ (Neurally Mediated Hypotension) : เกิดขึ้นหลังจากที่ยืนต่อเนื่องเป็นเวลานาน พบได้ในเด็กมากกว่าผู้ใหญ่ บางครั้งอาจพบอาการของความดันโลหิตต่ำเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์อย่างฉับพลันด้วย
  • ภาวะความดันโลหิตต่ำอย่างรุนแรง (Severe Hypotension) : ความดันโลหิตต่ำอย่างรุนแรงมักมีความสัมพันธ์กับภาวะช็อกที่เกิดขึ้นเมื่ออวัยวะภายในไม่ได้รับเลือดและออกซิเจนที่จำเป็นในการทำงานอย่างเพียงพอ ภาวะความดันโลหิตต่ำอย่างรุนแรงอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ หากไม่ได้รับการรักษาทันท่วงที

อาการของภาวะความดันโลหิตต่ำ

เมื่อความดันโลหิตลดลงต่ำกว่า 90/60 มิลลิเมตรปรอท ผู้ป่วยจะเริ่มมีอาการดังนี้

  • อ่อนแรง
  • วิงเวียนศีรษะ หน้ามืด
  • คลื่นไส้
  • ผิวชื้นชุ่มเหงื่อ
  • ซึมเศร้า
  • หมดสติ
  • มองภาพซ้อน

สาเหตุของภาวะความดันโลหิตต่ำ

ทุกคนสามารถเกิดภาวะความดันโลหิตต่ำได้ ซึ่งถ้าหากไม่ได้ต่ำมากจนเกินไป ก็จะทำให้เกิดอาการใดๆ ขึ้น แต่ผู้ที่มีความดันโลหิตต่ำเป็นเวลานาน อาจเกิดจากภาวะดังต่อไปนี้

  • การตั้งครรภ์ : เนื่องจากร่างกายต้องการเลือดเพิ่มมากขึ้นสำหรับหล่อเลี้ยงร่างกายแม่และทารก
  • การเสียเลือดจำนวนมากจากการบาดเจ็บ
  • ระบบไหลเวียนโลหิตที่มีปัญหา : อาจเกิดจากโรคหัวใจวายหรือโรคลิ้นหัวใจรั่ว
  • ภาวะช็อกที่อาจเกิดขึ้นร่วมกับภาวะขาดน้ำ
  • ภาวะช็อกจากการแพ้รุนแรงเฉียบพลัน (Anaphylactic Shock)
  • การติดเชื้อในกระแสเลือด
  • ความผิดปกติของต่อมไร้ท่อ เช่น โรคเบาหวาน โรคฮอร์โมนจากต่อมหมวกไตไม่เพียงพอ หรือโรคของต่อมไทรอยด์
  • ยาบางตัวอาจทำให้ความดันโลหิตต่ำลง เช่น Beta-blockers และ Nitroglycerin ที่ใช้รักษาโรคหัวใจ

การรักษาภาวะความดันโลหิตต่ำ

การรักษาภาวะความดันโลหิตต่ำ มักจะขึ้นอยู่กับสาเหตุที่เกิดขึ้น แต่ในเบื้องต้นแพทย์จะแนะนำให้ดื่มน้ำมากๆ เพื่อหลีกเลี่ยงภาวะความดันโลหิตต่ำเนื่องจากการขาดน้ำ โดยเฉพาะผู้ป่วยที่มีอาการไข้ อาเจียน หรือท้องเสียร่วมด้วย

ส่วนการรักษาภาวะความดันโลหิตต่ำจากการเปลี่ยนท่า แพทย์จะแนะนำให้เคลื่อนไหวช้าๆ และค่อยๆ ขยับตัวแทนที่จะลุกยืนขึ้นอย่างรวดเร็ว และไม่ควรนั่งไขว่ห้างเป็นเวลานาน

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
สูตรอาหารเสริม รวมสารสำคัญ 9 ชนิด สำหรับ เบาหวาน น้ำตาลในเลือดสูง ความดัน ไขมัน

ซื้อผ่าน HD ประหยัดกว่า / ราคาพิเศษสำหรับ นศ. / ผ่อน 0% / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

หากผู้ป่วยมีภาวะความดันโลหิตต่ำที่ทำให้เกิดภาวะช็อก ซึ่งเป็นรูปแบบความดันโลหิตต่ำที่อันตรายที่สุด แพทย์จะให้ของเหลวและเลือดทดแทน เพื่อเพิ่มความดันโลหิตและรักษาสัญญาณชีพให้คงที่

ที่มาของข้อมูล

Erica Roth, Everything You Need to Know About Low Blood Pressure (https://www.healthline.com/health/hypotension), May 8, 2019.


14 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Low blood pressure (hypotension). NHS (National Health Service). (https://www.nhs.uk/conditions/low-blood-pressure-hypotension/)
Hypotension: Symptoms, causes, and prevention. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/159609)
Mayo Clinic Staff. (2018). Low blood pressure (hypotension). (https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/low-blood-pressure/symptoms-causes/syc-20355465)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
ยา Dopamine (โดปามีน) สามารถใช้รักษาภาวะหัวใจล้มเหลวได้
ยา Dopamine (โดปามีน) สามารถใช้รักษาภาวะหัวใจล้มเหลวได้

ยา Dopamine (โดปามีน) ทำให้หัวใจแข็งแรงขึ้นในขณะที่หัวใจล้มเหลว ช่วยบรรเทาอาการความดันโลหิตได้

อ่านเพิ่ม
รู้จักอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่พบได้บ่อยๆ
รู้จักอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่พบได้บ่อยๆ

หากอยากรู้ว่า อุปกรณ์การแพทย์ชิ้นไหน ทำงานอย่างไร ต้องไม่พลาดบทความนี้

อ่านเพิ่ม