ภาวะกล้ามเนื้อหน้าท้องแยกตัว หรือ Diastasis Recti หมายถึง กล้ามเนื้อที่บริเวณหน้าท้องแยกตัวออกจากกัน ทำให้ช่องว่างระหว่างกล้ามเนื้อด้านซ้ายและด้านขวาของช่องท้องกว้างขึ้น
ปกติแล้วหญิงตั้งครรภ์สามารถพบภาวะนี้ได้บ่อย โดยพบได้ประมาณ 2 ใน 3 ของหญิงตั้งครรภ์ทั้งหมด
ฝากครรภ์ คลอดบุตรวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 79 บาท ลดสูงสุด 65%
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
ในเด็กทารกแรกเกิดก็สามารถมีภาวะนี้ได้ แต่จะหายได้เองเมื่อเวลาผ่านไป ส่วนผู้ชายสามารถเกิดภาวะนี้ได้จาก การโยโย่หลังจากอดอาหาร, จากการทำท่าซิทอัพ หรือยกน้ำหนักที่ผิดท่าทาง หรือเกิดจากสาเหตุอื่นๆ
การมีลูกมากกว่าหนึ่งคน ทำให้มีโอกาสเกิดภาวะนี้ได้มากขึ้น โดยเฉพาะหากอายุใกล้เคียงกัน นอกจากนี้คุณยังมีโอกาสที่จะเป็นมากขึ้นหากตั้งครรภ์หลังอายุ 35 ปีไปแล้ว หรือตั้งครรภ์ที่มีทารกน้ำหนักตัวมาก, เป็นตั้งครรภ์แฝดตั้งแต่สองคนขึ้นไป
การตั้งครรภ์จะเพิ่มแรงดันที่บริเวณท้อง ทำให้บางครั้งกล้ามเนื้อหน้าท้องไม่สามารถคงรูปร่างไว้ตามเดิมได้ คำว่า “Diastasis” หมายความว่า การแยกตัว ส่วนคำว่า “Recti” หมายถึงกล้ามเนื้อหน้าท้องที่เรียกว่า rectus abdominis
เมื่อกล้ามเนื้อหน้าท้องมีการแยกตัวออกเช่นนี้ ทำให้มดลูก ลำไส้ และอวัยวะอื่นๆ มีเพียงเนื้อเยื่อเกี่ยวพันบางๆ ที่อยู่ด้านหน้าเท่านั้นที่จะคอยยึดอวัยวะเหล่านี้ไว้ หากไม่มีกล้ามเนื้อที่คอยสนับสนุน จะทำให้การคลอดทางช่องคลอดทำได้ยากขึ้น
ภาวะนี้จะทำให้มีอาการปวดหลังส่วนล่าง, ท้องผูก, และปัสสาวะเล็ดได้ และยังทำให้หายใจลำบากและเคลื่อนไหวร่างกายลำบากอีกด้วย ในกรณีที่เป็นรุนแรง (พบได้น้อย) คือเนื้อเยื่ออาจเกิดการฉีกขาด ทำให้อวัยวะภายในโผล่ออกมา หรือที่เรียกว่า ไส้เลื่อน (hernia)
การเปิดของกล้ามเนื้อมักจะหดตัวกลับมาได้หลังจากคลอดลูกแล้ว แต่ในบางการศึกษาพบว่า ผู้หญิงที่มีกล้ามเนื้อหน้าท้องแยกบางรายจะไม่หายกลับมาเป็นปกติแม้ว่าจะผ่านไปเป็นปีแล้วก็ตาม
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง
สิ่งที่ควรทำและไม่ควรทำ
อย่าทำให้กล้ามเนื้อตึงเครียด หรือใช้งานหนัก
เพราะจะทำให้อาการแย่ลงได้ อาการท้องผูกและการยกของหนัก เช่น การอุ้มเด็ก จะทำให้เกิดการตึงตัวของเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน การลุกขึ้นยืนหรือการนั่งลงก็เหมือนกับการยกของหนักเช่นกัน เพราะคุณกำลังแบกรับน้ำหนักตัวเองอยู่
ในระหว่างการเบ่งท้องเพื่อคลอด หากกระทำไม่ถูกต้อง จะทำให้เกิดแรงดันจำนวนมากมาที่เนื้อเยื่อหน้าท้องที่อ่อนแอนี้
ระมัดระวังในการออกกำลังกาย
การเคลื่อนไหวร่างกายในการออกกำลังกายบางชนิด เช่น ท่า crunches, ซิทอัพ, pushups, press-ups และท่าแพรงก์ ทำให้การแยกตัวของกล้ามเนื้อหน้าท้องแย่ลง แต่คุณสามารถว่ายน้ำ หรือเล่นโยคะบางท่า (เช่น downward dog) หรือทำออกกำลังกายที่มือและเข่า
ดูแลให้หน้าท้องฟื้นตัว
ปัจจุบันนักกายภาพบำบัดยังไม่ได้มีแนวทางมาตรฐานเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวว่าท่าทางใดบ้างที่จะช่วยให้กล้ามเนื้อหน้าท้องกลับมาอยู่ในแนวเดิมอย่างที่ควรจะเป็น แต่ก็มีการศึกษาพบว่าการใช้ Tupler technique ส่งผลดีต่อการฟื้นตัว โดยให้ออกกำลังกายด้วยท่าทางเฉพาะร่วมกับการสวมที่รัดหน้าท้องชนิดพิเศษ ซึ่งจะช่วยปกป้องและช่วยยึดกล้ามเนื้อหน้าท้องไปพร้อมๆ กัน
เมื่อเนื้อเยื่อเกี่ยวพันฟื้นตัวแล้ว การออกกำลังกายด้วย พิลาทิส (Pilates) หรือการออกกำลังกายอื่นๆ อาจช่วยเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อตามขวางของท้องได้ (กล้ามเนื้อแกนกลางลำตัว) แต่ไม่ใช่ว่าพิลาทิสทุกท่า หรือ การออกกำลังเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อทุกท่าจะส่งผลดีระหว่างตั้งครรภ์ ดังนั้นแนะนำว่าให้ออกกำลังกายกับครูฝึก (trainer) ที่ทราบดีว่า การแยกตัวของกล้ามเนื้อหน้าท้อง คืออะไร
ถ้าคุณยังไม่ได้มีการแยกตัวของกล้ามเนื้อหน้าท้องอยู่ก่อนแล้ว ช่วงเวลาที่ดีที่สุดในการสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อแกนกลางลำตัวก็คือก่อนการตั้งครรภ์
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง
ก่อนการเริ่มการออกกำลังกายใดๆ ระหว่างการตั้งครรภ์หรือหลังการตั้งครรภ์ ให้ปรึกษาแพทย์ก่อนว่าคุณสามารถทำได้อย่างปลอดภัย และอะไรที่ไม่ควรทำ
การรักษา
ถ้าการแยกตัวของกล้ามเนื้อหน้าท้องไม่ได้ใหญ่จนเกินไป คุณอาจตัดสินใจที่จะปล่อยทิ้งไว้ก็ได้ แต่คุณควรทำให้กล้ามเนื้อหน้าท้องกลับมาอยู่ในตำแหน่งเดิมก่อนที่จะตั้งครรภ์ครั้งถัดไป
แพทย์สามารถวัดความห่างของกล้ามเนื้อได้โดยใช้ความกว้างของนิ้วมือ, การใช้เครื่องมือวัด, หรือการอัลตราซาวด์ ซึ่งจะบอกได้ว่าตอนนี้อาการแย่ลงหรือดีขึ้น
หญิงตั้งครรภ์หลายรายสามารถทำให้กล้ามเนื้อหน้าท้องกลับมาอยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสมได้โดยการเคลื่อนไหวร่างกายอย่างอ่อนโยน ดังนั้นแนะนำให้ปรึกษาแพทย์เพื่อขอคำแนะนำ แพทย์อาจพิจารณาส่งตัวคุณไปรับการรักษาเพิ่มจากนักกายภาพบำบัด
หากการทำกายภาพบำบัดไม่สามารถทำให้อาการดีขึ้นได้ อาจต้องพิจารณารักษาด้วยการผ่าตัด เราเรียกการผ่าตัดนี้ว่า "abdominoplasty" หรือ "a tummy tuck" โดยศัลยแพทย์จะทำการพับและเย็บบริเวณตรงกลางที่อ่อนแอเข้าไว้ด้วยกัน
นอกจากนี้คุณอาจได้รับการผ่าตัดช่องท้องด้วยการส่องกล้อง (laparoscopy) ซึ่งทำให้เกิดแผลขนาดเล็กแทนที่จะเป็นแผลใหญ่ แต่อย่างไรก็ตามการเกิดแผลเป็น การติดเชื้อ และผลข้างเคียงอื่นๆ ก็สามารถเกิดขึ้นได้ไม่ว่าจะรักษาด้วยวิธีใด
https://www.webmd.com/baby/guide/abdominal-separation-diastasis-recti#1