9 วิธีกลบกลิ่นกระเทียมและหัวหอมในช่องปาก

เผยแพร่ครั้งแรก 22 เม.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
9 วิธีกลบกลิ่นกระเทียมและหัวหอมในช่องปาก

เราต่างก็รู้ดีว่า กระเทียมและหัวหอมสามารถช่วยเติมรสชาติให้อาหาร และมอบประโยชน์ด้านสุขภาพมากมาย แต่น่าเสียดายที่อาหารเหล่านี้ทำให้เกิดกลิ่นไม่พึงประสงค์ในช่องปากหลังทาน โดยเฉพาะหากเราทานแบบดิบ ทั้งนี้กลิ่นเหม็นเกิดจากสารอัลลิซิน (Allicin) สารอัลลิลเมทิลซัลไฟด์ (Allyl methyl sulfide) และสารซีสเทอีนซัลโฟไซด์ (Cysteine sulfoxide) ที่พบได้ในกระเทียมและหัวหอม สารดังกล่าวจะทำให้เรามีลมหายใจที่เหม็นหลายชั่วโมงหรือแม้แต่นานข้ามคืน ทำให้บางคนไม่กล้าทานอาหารที่มีส่วนผสมของพืชกลิ่นฉุนเหล่านี้ได้ อย่างไรก็ตาม มีหลายวิธีที่ช่วยป้องกัน และแก้ปัญหาปากเหม็นได้ ซึ่งวันนี้เรารวบรวมมาให้คุณดูเป็นแนวทางแล้วดังนี้

9 วิธีกลบกลิ่นกระเทียมและหัวหอมในปาก

 1. ดื่มน้ำ

การดื่มน้ำหลังมื้ออาหารสามารถช่วยชะล้างกลิ่นของกระเทียมและหัวหอมที่ติดอยู่ที่ลิ้นและระหว่างฟันได้ นอกจากนี้มันยังไปช่วยกระตุ้นการผลิตน้ำตาล ซึ่งช่วยกำจัดแบคทีเรียชนิดที่ทำให้เกิดกลิ่นเหม็นในปาก ดังนั้นใครที่ตอนนี้ปากอบอวลไปด้วยกลิ่นกระเทียมและหัวหอม การดื่มน้ำจะช่วยบรรเทาความรุนแรงของกลิ่นปากได้ค่ะ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

2. แปรงฟันและขัดฟัน

แบคทีเรียที่เป็นต้นเหตุทำให้เรามีกลิ่นปากไม่พึงประสงค์มักพบได้ในคราบพลัคบนฟันและใต้แนวเหงือก แต่การแปรงฟันและใช้ไหมขัดฟันหลังมื้ออาหารสามารถช่วยลดจำนวนของแบคทีเรียในช่องปากได้อย่างมีนัยสำคัญ และกำจัดสาเหตุอื่นๆ ที่ทำให้ปากเหม็น ซึ่งหมายความรวมถึงคราบพลัคและเศษอาหาร

3. ใช้อุปกรณ์สำหรับขูดลิ้น

เรามักละเลยการแปรงลิ้นและเพดานปาก แต่บริเวณหลังลิ้นคือจุดที่มีการสะสมของแบคทีเรีย และเราจะรู้ได้เมื่อเห็นคราบสีขาวบนลิ้น อย่างไรก็ดี การใช้อุปกรณ์ขูดลิ้น หรือการแปรงลิ้นทุกวันสามารถช่วยกำจัดเซลล์ผิวที่ตายแล้ว จุลินทรีย์ และเศษอาหารเล็กๆ ทำให้กลิ่นปากลดลงได้ค่ะ

4. ใช้น้ำยาบ้วนปาก  

น้ำยาบ้วนปากที่มีกลิ่นรุนแรง โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของเปปเปอร์มิ้นต์ สามารถกลบกลิ่นเหม็นของกระเทียมและหัวหอมได้ นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยพบว่า การใช้น้ำยาบ้วนปากที่มีส่วนผสมของคลอรีนไดออกไซด์จะช่วยกำจัดคราบพลัค แบคทีเรีย และเศษอาหารชิ้นเล็กๆ ได้อย่างมีประสิทธิผล

5. ทานผักและผลไม้สด

การทานอาหารที่ทำให้เราสดชื่นอย่างผักและผลไม้ในขณะที่ทานอาหาร หรือหลังมื้ออาหารอาจช่วยพรางกลิ่นของกระเทียมและหัวหอมได้ เพราะมีงานวิจัยชิ้นหนึ่งที่นักวิจัยรายงานว่า การทานแอปเปิ้ลดิบ และผักกาดหอมดิบสามารถช่วยลดลมหายใจที่มีกลิ่นกระเทียมได้

6. ทานใบสมุนไพร

การเคี้ยวใบพาสลีย์ถือเป็นวิธีที่ใช้แก้ปัญหาลมหายใจเหม็นกลิ่นกระเทียมมาช้านานแล้ว ซึ่งสมุนไพรชนิดนี้ช่วยทำความสะอาดเพดานปากและกลบกลิ่นไม่พึงประสงค์ นอกจากนี้ยังมีการค้นพบด้วยว่า ใบมิ้นต์สามารถช่วยลดกลิ่นเหม็นกระเทียมในปากได้

7. ดื่มน้ำส้มสายชูหมักจากแอปเปิ้ล

มีบางคนรายงานว่า การดื่มน้ำที่ผสมน้ำส้มสายชูหมักจากแอปเปิ้ล 1 ช้อนโต๊ะก่อนและหลังทานอาหารสามารถช่วยกำจัดกลิ่นเหม็นของกระเทียมและหัวหอมในช่องปากได้ อย่างไรก็ตาม วิธีนี้ยังไม่ได้รับการพิสูจน์ทางการแพทย์ และคุณควรตรวจสอบกับแพทย์ก่อนใช้น้ำส้มสายชูหมักจากแอปเปิ้ล

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

8. ดื่มชาเขียว

การจิบชาเขียวหลังทานอาหารอาจช่วยกลบกลิ่นเหม็นที่รุนแรงได้ ซึ่งมีงานวิจัยพบว่า ชาเขียวสามารถช่วยกำจัดกลิ่นปากได้มีประสิทธิผลมากกว่ามิ้นต์ การเคี้ยวหมากฝรั่ง หรือการใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของน้ำมันพาสลีย์ นอกจากนี้ยังมีอีกงานวิจัยพบว่า การใช้น้ำยาบ้วนปากที่มีแคทีชินเป็นส่วนผสมสามารถช่วยลดคราบพลัคได้มีประสิทธิผลเทียบเท่ากับการใช้น้ำยาบ้วนปากสำหรับฆ่าเชื้อ

9. เคี้ยวหมากฝรั่ง

หมากฝรั่งรสมิ้นต์สามารถช่วยกลบกลิ่นเหม็นในช่องปากได้ อีกทั้งยังช่วยกระตุ้นการผลิตน้ำลาย ซึ่งเป็นตัวกำจัดแบคทีเรียและเศษอาหารชิ้นเล็กๆ ได้ และจากข้อมูลของของ The American Dental Association มีการระบุว่า คนที่เคี้ยวหมากฝรั่งแบบไร้น้ำตาล 20 นาที หลังจากมื้ออาหารอาจช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดฟันผุ

แม้ว่ากลิ่นเหม็นที่เกิดจากกระเทียมหรือหัวหอมจะคงอยู่ไม่นาน แต่ก็มีหลายวิธีที่สามารถช่วยบรรเทากลิ่นไม่พึงประสงค์ได้ แต่บางวิธีที่ได้ผลกับคนหนึ่งอาจไม่เวิร์คสำหรับอีกคน ดังนั้นให้คุณลองหลายๆ วิธีเพื่อที่จะได้รู้ว่าวิธีไหนที่ช่วยกำจัดกลิ่นปากที่มีต้นเหตุมาจากกระเทียมหรือหัวหอมได้ดีที่สุด

 ที่มา: https://www.medicalnewstoday.c...


19 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Bad Breath (Halitosis): Symptoms, Treatments & 6 Home Remedies. eMedicineHealth. (https://www.emedicinehealth.com/bad_breath_halitosis/article_em.htm)
Bad breath (halitosis): Causes, diagnosis, and treatment. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/166636)
9 Ways to Get Rid of Bad Breath. WebMD. (https://www.webmd.com/oral-health/features/get-rid-bad-breath#1)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
สารพัดคุณประโยชน์ของกระเทียมดำที่น่ารู้ !
สารพัดคุณประโยชน์ของกระเทียมดำที่น่ารู้ !

กระเทียมดำ สมุนไพรสุดแปลก ที่มากไปด้วยคุณประโยชน์จนน่าทึ่ง

อ่านเพิ่ม
ประโยชน์ของตะไคร้ ไอเดียการกินการใช้ตะไคร้เพื่อสุขภาพ และข้อควรระวัง
ประโยชน์ของตะไคร้ ไอเดียการกินการใช้ตะไคร้เพื่อสุขภาพ และข้อควรระวัง

ตะไคร้ พืชสมุนไพรไทย ราคาถูก อุดมด้วยประโยชน์มากมาย สามารถใช้ได้ทั้งบำรุงความงาม และรักษาโรค

อ่านเพิ่ม
ประโยชน์ของหอมแดง ไอเดียการกินการใช้หอมแดงเพื่อสุขภาพ ข้อควรระวัง
ประโยชน์ของหอมแดง ไอเดียการกินการใช้หอมแดงเพื่อสุขภาพ ข้อควรระวัง

ทำความรู้จักวิธีการใช้ประโยชน์จากหอมแดง สมุนไพรติดครัว ราคาถูก หาซื้อง่าย มากสรรพคุณ

อ่านเพิ่ม