ซัมเมอร์นี้ก็ยังสวยเป๊ะ…..9 เทคนิคแต่งหน้าสำหรับช่วงหน้าร้อน

เผยแพร่ครั้งแรก 18 มี.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
ซัมเมอร์นี้ก็ยังสวยเป๊ะ…..9 เทคนิคแต่งหน้าสำหรับช่วงหน้าร้อน

อย่างที่ทุกคนทราบกันดีว่า ณ ตอนนี้ประเทศไทยได้เข้าสู่ฤดูร้อนอย่างเป็นทางการแล้ว นอกจากสภาพอากาศที่ร้อนจัดจะทำให้หลายคนรู้สึกหงุดหงิด หรือไม่สบายตัวแล้ว ความร้อนก็ยังทำให้เหงื่อออก และทำให้ใบหน้ามันมากขึ้น ซึ่งถือเป็นอุปสรรคสำคัญที่ทำให้เมคอัพบนใบหน้าเลือนในระหว่างวัน อย่างไรก็ตาม วันนี้เราจึงได้รวบรวมหลากเคล็ดลับการแต่งหน้าที่สามารถช่วยให้เมคอัพบนใบหน้าของสาวๆ ติดทนนานขึ้นในช่วงซัมเมอร์มาฝาก มาดูกันเลยดีกว่าว่ามีอะไรบ้าง

1. บำรุงผิวให้เหมาะสม

สาวๆ รู้ไหมว่า การดูแลผิวก่อนแต่งหน้ามีความสำคัญพอๆ กับการเลือกใช้เมคอัพ ทั้งนี้ก่อนที่คุณจะแต่งหน้า ให้คุณทาครีมมอยส์เจอไรเซอร์สูตรปลอดน้ำมันในตอนเช้า และให้คุณเลือกใช้ครีมรองพื้นสูตรปลอดน้ำมันหรือชนิดแมท เพื่อควบคุมไม่ให้เมคอัพไหลเยิ้มในวันที่อากาศร้อนจัด

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

2. ลงทุนกับไพรเมอร์

สำหรับใครที่ยังไม่มีไพรเมอร์ไว้ในครอบครอง เห็นทีว่าคุณจะพลาดไม่ได้แล้วค่ะ เพราะในช่วงที่อากาศร้อน แน่นอนว่าเมคอัพบนใบหน้าจะเลือนง่ายกว่าเดิม แต่หากคุณใช้ไพรเมอร์หลังลงครีมมอยส์เจอไรเซอร์ และก่อนทารองพื้น มันก็จะช่วยให้ใบหน้าเรียบเนียน และทำให้เครื่องสำอางติดทนนานขึ้นค่ะ

3. ใช้บรอนเซอร์

"บรอนเซอร์ช่วยให้ดวงตาเปล่งประกาย และทำให้ฟันขาวขึ้น ทุกคนจะดูดีขึ้นเมื่อผิวมีสีโทนอุ่นนิดๆ " กล่าวโดย Troy Surratt เมคอัพอาร์ทติสแห่งมหานครนิวยอร์ก  ถ้าอยากได้ลุคที่สดใสและเป็นธรรมชาติ เขาแนะนำให้ใช้บรอนเซอร์ทาบริเวณที่สูงของใบหน้า ซึ่งเป็นตำแหน่งที่แสงอาทิตย์ตกกระทบ เช่น หน้าผาก โหนกแก้ม คาง และจมูก สำหรับบรอนเซอร์ชนิดที่ทาได้ง่ายที่สุดคือ บรอนเซอร์ชนิดที่เป็นแป้งฝุ่น และมีหลายเฉดสีในตลับเดียว เพราะมันจะทำให้ได้ลุคที่ดูสมจริงหรือดูเป็นธรรมชาติมากขึ้น

4. อย่าแต่งหน้าเยอะ    

ถ้าคุณไม่อยากให้เมคอัพบนใบหน้าจับตัวกันเป็นก้อน หรือเป็นรอยแตก การแต่งหน้าบางๆ ก็เป็นวิธีที่ดี เพราะเครื่องสำอางมักจะไหลเยิ้มเมื่อเจออากาศร้อน ซึ่งวิธีหลีกเลี่ยงที่ดีที่สุดก็คือ การไม่แต่งหน้าจัด หากคุณสามารถทำได้ การใช้ Tinted moisturizer และคอนซีลเลอร์ก็นับว่าเพียงพอแล้ว

5. หลีกเลี่ยงการใช้ชิมเมอร์

สาวๆ บางคนอาจชอบใช้ชิมเมอร์เพื่อช่วยให้ผิวเปล่งปลั่ง หรือได้ลุคที่ดูดิวอี้ แต่การใช้ชิมเมอร์ในช่วงฤดูร้อนอาจเป็นไอเดียที่ไม่ค่อยดีเท่าไรนัก เพราะการใช้รองพื้นเนื้อครีม หรือชิมเมอร์ในวันที่อากาศร้อนกลับทำให้ผิวดูมัน และดูเหมือนมีเหงื่อออกมากกว่าเดิม โดยเฉพาะหากคุณทาหนักมือมากเกินไป

6. แต่งตาให้เหมาะสม

หากคุณอยากให้อายแชโดว์ติดทน ให้คุณหลีกเลี่ยงการใช้อายครีมทาที่เปลือกตา และใช้อายไพรเมอร์แทน รวมถึงใช้แป้งฝุ่นทาทับอีกครั้ง หลังจากที่คุณใช้อายไลน์เนอร์ชนิดดินสอหรือเนื้อครีมแล้ว ให้คุณใช้แปรงหัวตัดเล็กๆ ทาอายแชโดว์สีเข้มบนเปลือกตาเพื่อเซ็ทให้อายไลน์เนอร์ติดทนนานขึ้น

7. หลีกเลี่ยงการใช้บลัชชนิดเนื้อฝุ่น

การใช้บลัชอาจช่วยทำให้ใบหน้าดูสมดุลและดูมีสุขภาพดี แต่หากคุณใช้บลัชชนิดเนื้อฝุ่นในช่วงฤดูร้อน พวงแก้มของคุณก็จะเป็นคราบเร็วขึ้น ทั้งนี้ให้คุณหันมาใช้บลัชเนื้อเจลหรือชนิดที่เรียกว่า Stain แล้วทาบลัชเนื้อครีมทับ ถ้าอยากให้บลัชติดทนนานขึ้น ให้คุณใช้แป้งโปร่งแสงทาซ้ำที่พวงแก้มอีกรอบค่ะ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

8. ใช้เครื่องสำอางชนิดกันน้ำ

ในช่วงซัมเมอร์ แน่นอนว่าอากาศนอกบ้านจะต้องร้อนจนเหงื่อแตก และนั่นก็สามารถทำให้เมคอัพที่คุณบรรจงแต่งเลือนหายไปอย่างน่าเสียดาย รวมถึงยังทำให้ใบหน้าดูเลอะเทอะไม่น่ามอง โดยเฉพาะบริเวณดวงตา ดังนั้นจึงเป็นเรื่องสำคัญที่คุณควรใช้เครื่องสำอางสูตรกันน้ำ โดยให้ใช้อายไลน์เนอร์ และมาสคาร่าชนิด Waterproof แทนสูตรปกติ

9. เตรียมกระดาษซับมัน

ใบหน้าของเรามักมีความมันมากเป็นพิเศษในวันที่อากาศร้อน แต่ปัญหาจะบรรเทาลงเพียงแค่คุณพกกระดาษซับมันติดตัวค่ะ ซึ่งมันสามารถช่วยกำจัดความมันส่วนเกินได้ในทันที โดยให้คุณซับที่ใบหน้าเบาๆ แทนการเช็ด เพื่อไม่ให้เครื่องสำอางหลุดออกมา

สภาพอากาศที่ร้อนจัดอาจเป็นปัญหาสำหรับการรักษาเมคอัพบนใบหน้าให้ติดทนไปทั้งวัน แต่เพียงแค่คุณนำวิธีที่เราแนะนำข้างต้นไปปรับใช้  รับรองว่าคราวนี้คุณจะมีใบหน้าที่สวยเป๊ะไปตลอดวัน


2 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป