6 ความจริงที่จะทำให้คุณทิ้งเมคอัพชิ้นเก่า

เผยแพร่ครั้งแรก 28 มิ.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
6 ความจริงที่จะทำให้คุณทิ้งเมคอัพชิ้นเก่า

เครื่องสำอางกับผู้หญิงนับว่าเป็นของคู่กัน ซึ่งเชื่อได้เลยว่ามีผู้หญิงหลายคนที่ชอบซื้อเครื่องสำอางมาตุนไว้ เพราะมีผลิตภัณฑ์ที่น่าลองใช้มายั่วเงินในกระเป๋าจนอดไม่ได้ที่จะต้องซื้อ ทำให้คุณใช้เครื่องสำอางไม่หมดเสียที อย่างไรก็ตาม หากคุณเห็นสิวขึ้นตามใบหน้า ไม่แน่ว่ามันอาจเกิดจากเครื่องสำอางก็ได้ค่ะ โดยเฉพาะเครื่องสำอางที่เก่าเก็บ ครั้นจะตัดใจทิ้งก็ทำใจลำบาก แต่สิ่งที่เรากำลังจะกล่าวหลังจากนี้อาจทำให้คุณตัดสินใจได้ง่ายขึ้น

1.เครื่องสำอางก็หมดอายุได้

โดยทั่วไปแล้วรองพื้นสูตรลิควิดมีอายุการใช้งาน 12 เดือน ในขณะที่มาสคาราและอายไลน์เนอร์มีอายุเพียงแค่ประมาณ 3 เดือนเท่านั้น ส่วนบรรดาลิปทั้งหลายจะอยู่ได้นานประมาณ 2 ปี แต่ก็จะเสื่อมสภาพเร็วขึ้นถ้าใช้เป็นประจำ สำหรับแป้งอัดแข็งและอายแชโดว์ ด้วยความที่ผลิตภัณฑ์เหล่านี้มีเนื้อที่แข็ง ทำให้มันมีอายุการใช้งานถึง 2 ปี หรือมากกว่านี้ถ้าเก็บอย่างเหมาะสม แต่ประสิทธิผลและเม็ดสีก็จะลดลงเมื่อเวลาผ่านไป

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

2.ยิ่งเครื่องสำอางเก่าเท่าไร มันก็จะยิ่งใช้ได้ผลน้อยลงมากเท่านั้น

เมื่อเครื่องสำอางอายุมากขึ้น ส่วนผสมในเครื่องสำอางก็จะเริ่มกร่อนและออกซิไดซ์ ทำให้เครื่องสำอางมีประสิทธิผลลดลง ซึ่งสารเคมีในเครื่องสำอางจะเริ่มเสื่อมสภาพ ในกรณีที่เป็นผลิตภัณฑ์รองพื้น หากเราใช้ชิ้นที่เก่าเก็บ คุณจะพบว่าเนื้อรองพื้นติดบนผิวแบบไม่สม่ำเสมอ นอกจากนี้สิ่งที่สามารถเกิดขึ้นได้ก็คือ สารกันเสียจะเริ่มเสื่อมสภาพ ส่งผลให้แบคทีเรียก่อตัวขึ้น

3.เครื่องสำอางที่ไม่ได้ถูกเปิดใช้ก็ยังคงมีความเสี่ยง

หลายคนอาจคิดว่าเครื่องสำอางที่ซื้อมาแล้วแต่ยังไม่ได้เปิดใช้ถือว่ายังคงมีความสดใหม่ แต่ความจริงแล้ว กระบวนการเสื่อมสภาพจะเกิดขึ้นอย่างช้าๆ และเมื่อผลิตภัณฑ์สัมผัสกับอากาศ มันก็จะทำให้เกิดผลลัพธ์เช่นเดียวกับเครื่องสำอางที่หมดอายุ ซึ่งมีความเป็นไปได้ที่สารกันเสียเริ่มเสื่อมสภาพก่อนที่คุณจะเปิดใช้ ดังนั้นหากคุณซื้อครีมรองพื้นตุนไว้ และเก็บในลิ้นชักนาน 5 ปี คุณก็ควรโยนทิ้งลงถังขยะแม้ว่าคุณยังไม่เคยเปิดใช้เลยก็ตาม ในขณะที่มาสคารา ครีม เจล หรือแม้แต่แป้งกลับมีความเสี่ยงมากกว่า เพราะนาทีที่ผลิตภัณฑ์เหล่านี้สัมผัสกับอากาศ มันก็จะทำให้เสี่ยงต่อการปนเปื้อนมากขึ้น

4.การใช้เมคอัพที่หมดอายุแล้วสามารถทำให้เกิดการติดเชื้อ

หากคุณใช้ครีมรองพื้นที่หมดอายุแล้ว คุณก็จะเสี่ยงต่อการเกิดสิวและติดเชื้อ ในขณะที่การใช้อายไลน์เนอร์ที่เก่าเก็บสามารถทำให้บริเวณดวงตาระคายเคือง และทำให้ดวงตาแดงและบวม ส่วนแป้งที่หมดอายุแล้วสามารถทำให้ผิวระคายเคือง และทำให้เกิดตุ่มสีแดงที่เหมือนสิว อย่างไรก็ตาม คุณสามารถป้องกันไม่ให้เกิดการติดเชื้อซ้ำโดยเลิกใช้ผลิตภัณฑ์สำหรับดวงตาที่คุณเคยใช้กับดวงตาที่ติดเชื้อ และผลิตภัณฑ์สำหรับริมฝีปากหากคุณเป็นเริมที่ริมฝีปาก

5.การทำความสะอาดเมคอัพไม่ได้ช่วยให้กลับมาใช้ได้เสมอไป

แม้ว่าแอลกอฮอล์เป็นหนึ่งในตัวช่วยที่ทำให้เรากลับมาใช้เมคอัพได้อีกครั้ง แต่มันก็ไม่ได้ช่วยให้เครื่องสำอางกลับมามีสภาพใหม่ได้เมื่อมันเริ่มเสื่อมสภาพ แต่ทั้งนี้คุณสามารถป้องกันไม่ให้แบคทีเรียก่อตัวตั้งแต่ต้นโดยใช้แอลกอฮอล์ 70% พ่นไปที่อายแชโดว์และแป้ง นอกจากนี้การทำความสะอาดแปรงยังช่วยป้องกันไม่ให้มีน้ำส่วนเกินและแบคทีเรียติดอยู่ที่ผลิตภัณฑ์ รวมถึงล้างแปรงแต่งหน้าอย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้งเพื่อไม่ให้แบคทีเรียแฝงตัวในเส้นใย

6.เครื่องสำอางที่เก็บในห้องน้ำมีความเสี่ยงมากขึ้น

การที่คุณจะยืดอายุการใช้งานของเมคอัพได้นั้น การเก็บเครื่องสำอางให้เหมาะสมถือเป็นกุญแจสำคัญ การเก็บเครื่องสำอางบางชิ้นไว้ในห้องน้ำอาจไม่ใช่ไอเดียที่ดีเสมอไป เพราะความชื้นจากไอน้ำสามารถทำให้เชื้อราแพร่พันธุ์ โดยเฉพาะในผลิตภัณฑ์ที่หมดอายุ

อย่างไรก็ตาม แม้ว่าเครื่องสำอางมีอายุการใช้งานตามที่เรากล่าวไป แต่หากมันเริ่มมีกลิ่นเหม็น เปลี่ยนสี แยกชั้น มีเนื้อครีมเคลือบด้านบนหรือแห้งกรัง มันก็ถึงเวลาที่คุณควรโยนทิ้งลงถังขยะเช่นกัน เพื่อปกป้องผิวจากการติดเชื้อและระคายเคือง

ที่มา: https://www.rd.com/health/beau...


1 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
When to Throw Away Makeup, According to a Dermatologist. Health.com. (https://www.health.com/beauty/when-to-throw-away-makeup)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป