8 วิธีช่วยให้ทรวงอกมีสุขภาพดี

เผยแพร่ครั้งแรก 3 พ.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
8 วิธีช่วยให้ทรวงอกมีสุขภาพดี

อย่างที่เราทราบกันดีว่า “หน้าอก” เป็นอวัยวะที่แสดงถึงความเป็นผู้หญิง อีกทั้งยังเป็นอวัยวะที่ดึงดูดสายตาของคนรอบข้าง อย่างไรก็ตาม หน้าอกมีความเหมือนกับอวัยวะอื่นๆ ตรงที่บางโรคสามารถส่งผลกระทบต่อสุขภาพหน้าอกตลอดช่วงชีวิต นี่จึงเป็นเหตุผลว่าทำไมคุณควรดูแลสุขภาพทรวงอก และใส่ใจกับความผิดปกติหรือปัญหาใดๆ ที่เกิดขึ้น สำหรับวิธีการดูแลหน้าอกที่เราอยากให้คุณทราบมีดังนี้

1. นวดหน้าอก

การนวดหน้าอกเป็นประจำถือเป็นวิธีที่ช่วยกระตุ้นการทำงานของระบบน้ำเหลือง และเพิ่มการไหลเวียนโลหิตในเนื้อเยื่อหน้าอก อย่างไรก็ตาม ให้คุณเริ่มนวดจากใต้แขนแต่ละข้าง ไล่ไปตามแนวด้านข้างลำตัว และไปจบลงที่การกดเบาๆ ที่หัวนม คุณอย่าสับสนระหว่างการนวดตามวิธีที่เรากล่าวไปกับการตรวจหน้าอกด้วยตัวเองทุกเดือน แต่วิธีนี้ก็สามารถช่วยให้คุณตรวจพบความผิดปกติได้เช่นกัน

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

2. รักษาน้ำหนักให้อยู่ในระดับที่มีสุขภาพดี

ผู้หญิงที่มีน้ำหนักเกินมาตรฐานหรือเป็นโรคอ้วน มีแนวโน้มที่จะเป็นโรคมะเร็งเต้านมมากถึงสองเท่า เมื่อเทียบกับคนที่มีน้ำหนักตัวที่เสถียรและอยู่ในระดับที่มีสุขภาพดี อย่างไรก็ตาม คุณสามารถควบคุมน้ำหนักโดยทานอาหารให้สมดุล ออกกำลังกายทุกวัน และฝึกทำกิจวัตรอื่นๆ ที่ดีต่อสุขภาพ

3. ออกกำลังกาย

การออกกำลังกายทุกวันเป็นวิธีที่ช่วยให้ระบบน้ำเหลืองไม่อุดตันได้มีประสิทธิผลมากที่สุด เพราะมันช่วยกำจัดสารพิษใดๆ ก็ตามที่ไหลเวียนผ่านน้ำเหลือง ทั้งนี้ The National Cancer Institute กล่าวว่า การออกกำลังกายอาจช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งระหว่าง 20%-80% อีกทั้งยังช่วยหลั่งฮอร์โมนที่สามารถป้องกันไม่ให้เกิดอันตรายต่อเซลล์ในเนื้อเยื่อของหน้าอกไปพร้อมกับช่วยรักษาน้ำหนักตัวให้อยู่ในระดับที่ดีต่อสุขภาพ

4. เหงื่อ

ของเหลวที่หลั่งออกมาเมื่อคุณเหงื่อออกมีสารที่เป็นของเสียที่ร่างกายไม่ต้องการ และถ้าไม่ถูกกำจัดออกไป มันก็สามารถทำให้เกิดโรคร้าย เมื่อเหงื่อออกจากการออกกำลังกาย ซาวน์น่า หรือกิจกรรมอื่นๆ มันก็จะช่วยสนับสนุนการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน และช่วยให้คุณมีสุขภาพทรวงอกที่ดี

5. หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์

การดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไปสามารถทำให้สารพิษก่อตัวขึ้นในร่างกาย และลดประสิทธิภาพการทำงานของอวัยวะที่มีหน้าที่ขับของเสีย ทำให้เกิดการคั่งน้ำเพิ่มขึ้น คุณมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคมะเร็งและโรคอื่นๆ เพิ่มขึ้นเช่นกัน โดยเป็นผลมาจากการตอบสนองต่อการอักเสบของร่างกาย นอกจากนี้ยังมีการค้นพบด้วยว่า การดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไปสามารถเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งเต้านมได้ 20% แต่การดื่มไวน์แดง 1 แก้วต่อวัน อาจช่วยปกป้องหน้าอก เพราะมันมีสารเรสเวอราทรอลนั่นเอง

6. รู้ประวัติการเจ็บป่วยของสมาชิกในครอบครัว

มีการประมาณไว้ว่า คนที่ถูกวินิจฉัยว่าเป็นโรคมะเร็งเต้านมมากกว่า 15% มีประวัติของคนในครอบครัวที่เป็นโรคนี้ หากสมาชิกที่อยู่ใกล้ตัวเป็นโรคมะเร็งเต้านม คุณมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคดังกล่าวเพิ่มขึ้น 2-5 เท่า ด้วยเหตุนี้จึงเป็นเรื่องสำคัญที่เราควรรู้ประวัติของคนในครอบครัว เพื่อที่จะได้ไปตรวจร่างกายให้บ่อยกว่าเดิม หากตรวจพบความผิดปกติได้เร็วเท่าไรก็ยิ่งดี

7. ตรวจร่างกายเป็นประจำ

มีหลายปัจจัยที่นำไปสู่การเกิดโรคมะเร็ง ซีสต์ และปัญหาอื่นๆ ในทรวงอก ทั้งนี้คุณควรไปตรวจหน้าอกอย่างน้อยทุก 3 ปี หลังจากที่คุณมีอายุเข้าเลขสี่ โดยเฉพาะถ้าคุณมีคนในครอบครัวที่เคยเป็นโรคมะเร็งชนิดนี้ ยิ่งไปกว่านั้น ยังมีงานวิจัยแนะนำว่า เราควรตรวจร่างกายอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง

8. ดื่มน้ำ

การดื่มน้ำช่วยเติมพลังให้แก่เซลล์ และมีบทบาทสำคัญในการลำเลียงวิตามิน แร่ธาตุ และสารอาหารทุกชนิดที่เซลล์ต้องการ น้ำดื่มตามธรรมชาติช่วยดีท็อกซ์ร่างกาย และช่วยสนับสนุนการทำงานของระบบน้ำเหลืองและระบบไหลเวียนโลหิต ซึ่งเป็นผลดีต่อทรวงอกค่ะ

หน้าอกเป็นอวัยวะที่มีผลต่อความสวยงามของสรีระ และน่าเศร้าที่โรคร้ายก็สามารถตามมากวนใจที่บริเวณนี้ได้เช่นกัน ดังนั้นคุณควรหมั่นดูแลรักษาทรวงอกให้ดี และหากพบว่าหน้าอกผิดปกติ คุณก็ไม่ควรอายที่จะไปพบแพทย์ค่ะ

ที่มา: https://steptohealth.com/8-habits-practice-healthy-breasts/


1 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
5 Ways to Boost Breast Health. Health Essentials from Cleveland Clinic. (https://health.clevelandclinic.org/5-ways-to-boost-breast-health/)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
สัญญาณเตือนแรกเกี่ยวกับโรคมะเร็งที่คุณควรรู้
สัญญาณเตือนแรกเกี่ยวกับโรคมะเร็งที่คุณควรรู้

คู่มือทำความเข้าใจโรคมะเร็งหลายชนิดและอาการของโรคมะเร็ง

อ่านเพิ่ม