กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

8 วิธีช่วยให้คุณหายง่วงนอนในระหว่างวัน

รวมวิธีแก้ง่วงโดยไม่ต้องพึ่งชาหรือกาแฟ เพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อการนอนในเวลากลางคืน
เผยแพร่ครั้งแรก 3 พ.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
8 วิธีช่วยให้คุณหายง่วงนอนในระหว่างวัน

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • หลายคนอาจมีอาการง่วงตอนในช่วงทำงานตอนบ่าย ซึ่งถือเป็นช่วงเวลาที่ควรหลีกเลี่ยงการกินกาแฟ เพราะอาจส่งผลกระทบต่อคุณภาพการนอนในตอนกลางคืนได้
  • วิธีแก้ง่วงเบื้องต้นโดยไม่ต้องกินยาหรือกาแฟ คือการดื่มน้ำสะอาด หรืออาจล้างหน้าด้วยน้ำเย็นเพิ่มความสดชื่น
  • เปิดม่านหรือหน้าต่างในสำนักงาน เพื่อให้แสงธรรมชาติส่องเข้ามามากขึ้น ทำให้ฮอร์โมนเมลาโทนินซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ทำให้ง่วงนอน มีปริมาณน้อยลง
  • ควรหมั่นสังเกตอาการของตัวเองสม่ำเสมอ หากพักผ่อนเพียงพอ กินอาหารที่มีประโยชน์อย่างสม่ำเสมอ แต่ก็ยังอ่อนเพลียอยู่ อาจมีปัญหาด้านสุขภาพอื่นๆ ที่แฝงอยู่ เช่น ภาวะต่อมหมวกไตล้า
  • ดูแพ็กเกจตรวจสุขภาพได้ที่นี่

เคยรู้สึกง่วงนอนระหว่างวันไหม? หากคุณสังเกตว่าหนังตาค่อยๆ ปิด และเริ่มไม่มีสมาธิ การนอนงีบพักสักครู่คือวิธีที่ดีที่สุดที่จะทำให้คุณกลับมาตาสว่างได้อีกครั้ง แต่ประเด็นสำคัญคือ คุณอาจไม่มีโอกาสที่จะทำเช่นนี้ทุกครั้ง ดังนั้นคุณควรปรับเปลี่ยนนิสัยเพื่อป้องกันไม่ให้ง่วงนอนในระหว่างวัน สำหรับวิธีที่ HD อยากแนะนำมีดังนี้

รวมวิธีแก้ง่วง

1. ดื่มน้ำหรือล้างหน้าด้วยน้ำเย็น

หากคุณรู้สึกง่วงนอนในระหว่างที่อยู่ในห้องประชุม การดื่มน้ำสักแก้วคือวิธีที่ดีที่สุดที่จะช่วยให้คุณหายง่วง ณ ขณะนั้น บางทีร่างกายของคุณอาจเข้าสู่โหมดการนอนเพราะต้องการน้ำ 

ในกรณีที่คุณกลับจากที่ทำงานและมีกิจกรรมที่ต้องทำรออยู่ การอาบน้ำเย็นจะช่วยกระตุ้นการไหลเวียนเลือดและทำให้คุณตาสว่าง ในขณะที่น้ำร้อนจะทำให้คุณผ่อนคลายได้มากกว่า แต่หากคุณไม่สามารถอาบน้ำ ณ ขณะนั้น การล้างหน้าด้วยน้ำเย็นก็พอจะทำให้คุณหายง่วงได้

2. นอนตอนกลางคืนให้เพียงพอ

การนอนตอนกลางคืนให้เพียงพอจะช่วยป้องกันไม่ให้คุณง่วงนอนช่วงกลางวัน ถ้าคุณนอนเต็มอิ่ม คุณก็จะตื่นมาพร้อมกับความรู้สึกผ่อนคลายและสดชื่น ดังนั้นคุณควรพยายามนอนให้ได้วันละ 8 ชั่วโมง 

รวมถึงเข้านอนและตื่นนอนให้ได้เวลาเดิมทุกวัน หากคุณนอนวันธรรมดาได้ไม่เพียงพอ และหวังจะไปนอนในช่วงวันหยุด อาจเป็นความคิดที่ผิด เพราะความเหนื่อยจะสะสมจะทำให้คุณรู้สึกง่วงนอนมากกว่าเดิม

3. เปิดหน้าต่าง

สภาพแวดล้อมที่คุณอาศัยก็สามารถทำให้คุณรู้สึกอยากนอนเช่นกัน การอยู่ในห้องที่มืด หรือไม่มีแสงสว่างเพียงพอจะทำให้คุณรู้สึกอยากนอนหรือพักผ่อน เนื่องจากความสว่างโดยเฉพาะจากแสงธรรมชาติ มีส่วนสัมพันธ์กับฮอร์โมนเมลาโทนิน (Melatonin) 

ฮอร์โมนเมลาโทนินเป็นฮอร์โมนที่หลั่งออกมาเวลาที่บรรยากาศมืดลง ทำให้รู้สึกง่วงนอนมากขึ้น ดังนั้นวิธีที่จะช่วยให้คุณรู้สึกมีพลังคือ การรับแสงจากธรรมชาติ หากไม่มีหน้าต่างใกล้กับบริเวณที่คุณทำงาน ให้คุณเปิดไฟที่มีแสงสีขาวเพื่อให้สมองตื่นตัว  

4. ทานแอปเปิ้ล

เมื่อรู้สึกง่วงนอน หลายคนอาจใช้วิธีดื่มกาแฟเพื่อทำให้ตัวเองตาสว่างและกระตือรือร้น แต่หากการดื่มกาแฟช่วงหลังเที่ยง อาจมีผลทำให้คุณภาพการนอนในตอนกลางคืนแย่ลง เพราะคาเฟอีนสามารถตกค้างอยู่ในร่างกายได้อย่างน้อย 5 ชั่วโมง 

ดังนั้นอีกทางเลือกจึงเป็นการทานแอปเปิ้ล เพราะผลไม้ชนิดนี้มีน้ำสูงสามารถช่วยป้องกันการเกิดภาวะขาดน้ำ และการเคี้ยวสามารถปลุกสมองให้ตื่นได้ นอกจากนี้การทานแอปเปิ้ลยังทำให้คุณไม่เผลอทานขนมหวานในตอนเช้า

5. ลดน้ำหนัก

หากคุณมีน้ำหนักเกินมาตรฐาน การเกิดความรู้สึกเหนื่อยจะกลายเป็นเรื่องปกติ เพราะการมีน้ำหนักตัวมากขึ้นจะเพิ่มแรงดันที่หัวใจและปอด แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าคนผอมจะมีพลังงานมากกว่า เพียงแต่คนอ้วนจะเหนื่อยเร็วกว่า ดังนั้นเพื่อสุขภาพกายที่ดี คุณควรควบคุมน้ำหนักไม่ให้เกินมาตรฐาน

6. คุยกับคนอื่น

การได้พูดคุยกับบางคนสามารถทำให้คุณหายง่วงได้ ซึ่งคุณอาจชวนเพื่อนร่วมงานคุยเกี่ยวกับเรื่องทั่วไปที่คุณนึกได้ตอนนั้น โดยอาจเป็นเรื่องฟุตบอล เศรษฐกิจ สังคม และอื่นๆ สมองของคุณก็จะตื่นตัวเพื่อตอบสนองต่อสิ่งที่อีกฝ่ายพูด การทำเช่นนี้จะทำให้คุณกลับมากระตือรือร้นได้อีกครั้ง

7. ฟังดนตรี

ดนตรีไม่ได้มีไว้เพื่อมอบความบันเทิงเท่านั้น แต่มันยังช่วยให้คุณหายสะลึมสะลือได้อีกด้วย เพราะดนตรีสามารถไปกระตุ้นสมอง โดยช่วยให้คุณมีสมาธิ อารมณ์ และความจำที่ดีขึ้น ซึ่งคุณอาจเลือกเพลงจากโทรศัพท์ และเพลิดเพลินกับดนตรีผ่านทางหูฟัง

8. เคลื่อนไหวร่างกาย

การนั่งอยู่ในตำแหน่งเดิมเป็นเวลาหลายชั่วโมงสามารถทำให้คุณรู้สึกง่วงนอน ซึ่งคุณสามารถแก้ปัญหาได้ง่ายๆ โดยลุกจากโต๊ะเพื่อเดินยืดเส้นยืดสาย เช่น การเดินขึ้นลงบันได จะช่วยกระตุ้นการไหลเวียนโลหิตและทำให้หายง่วงได้

การนำวิธีที่ HD แนะนำข้างต้นไปปรับใช้ก็อาจช่วยให้กลับมาตาสว่างพร้อมทำงานได้อีกครั้ง แต่หากมีปัญหาง่วงนอน อ่อนเพลียเรื้อรังทั้งๆ ที่พักผ่อนเพียงพอ อาจมีปัญหาด้านสุขภาพอื่นๆ เช่น ภาวะต่อมหมวกไตล้า ซึ่งเป็นภาวะที่อาจมีปัจจัยจากความเครียด ทำให้รู้สึกอ่อนเพลียอยู่บ่อยๆ 

ดูแพ็กเกจตรวจสุขภาพ เปรียบเทียบราคา โปรโมชันล่าสุดจากโรงพยาบาลและคลินิกชั้นนำได้ที่นี่ หรือไม่พลาดทุกการอัปเดตแพ็กเกจเหล่านี้ เมื่อกดเป็นเพื่อนทางไลน์ @hdcoth และกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


4 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
10 Tips for Staying Awake When You Are Too Sleepy. Verywell Health. (https://www.verywellhealth.com/tips-for-staying-awake-3015057)
21 ways to fall asleep naturally backed by science. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/322928)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป