7 สัญญาณที่บอกว่าคุณทานน้ำตาลมากไป

เผยแพร่ครั้งแรก 9 ส.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
7 สัญญาณที่บอกว่าคุณทานน้ำตาลมากไป

การทานอาหารที่มีรสหวานอาจทำให้หลายคนรู้สึกมีความสุข แต่มันอาจทำให้คุณเป็นทุกข์ในภายหลัง เพราะหากร่างกายได้รับน้ำตาลมากเกินไป มันก็สามารถนำไปสู่การเกิดโรคร้ายและปัญหาสุขภาพต่างๆ ดังนั้นจึงเป็นเรื่องสำคัญที่เราควรจำกัดการทานน้ำตาลให้เหมาะสม อย่างไรก็ดี หากคุณกำลังสงสัยว่าตัวเองทานน้ำตาลมากเกินไปหรือไม่ วันนี้เราได้รวบรวมสัญญาณเตือนเบื้องต้นจากร่างกายที่บอกว่าคุณควรเพลาๆ การทานอาหารที่มีน้ำตาลสูงได้แล้ว เราลองมาดูกันดีกว่าว่ามีอะไรบ้าง

1.มีสิวขึ้นมากกว่าปกติ

การทานน้ำตาลมากเกินไปสามารถทำร้ายผิว ซึ่งมีงานวิจัยใน Journal of the Academy of Nutrition and Dietetics พบความสัมพันธ์ระหว่างอาหารที่มีน้ำตาลสูงและความรุนแรงของการเกิดสิว โดยพบว่าผู้เข้าร่วมทดลองที่มีสิวระดับปานกลางจนถึงระดับรุนแรงทานอาหารที่มีน้ำตาลสูงกว่าคนที่มีสิวน้อยหรือไม่มีสิวเลย

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

2.รู้สึกไร้เรี่ยวแรง

หากคุณทานอาหารเช้าและอาหารกลางวันที่อุดมไปด้วยน้ำตาล และไม่ได้ทานอาหารจำพวกโปรตีน ไฟเบอร์ และไขมัน คุณอาจรู้สึกว่าตัวเองไร้เรี่ยวแรงตอนกลางวัน รวมถึงอาจปวดศีรษะหรือต้องการนอน ทั้งนี้การทานอาหารให้สมดุลและอุดมไปด้วยสารอาหารจะช่วยป้องกันไม่ให้น้ำตาลเพิ่มขึ้นและลดลงแบบฉับพลัน ซึ่งเป็นต้นเหตุที่ทำให้คุณมีอาการดังกล่าว

3.ฟันผุ

เมื่อแบคทีเรียในช่องปากย่อยคาร์โบไฮเดรตชนิดใดๆ ก็ตาม มันก็จะผลิตกรดซึ่งจะผสมกับน้ำลายเพื่อผลิตคราบพลัค หากคุณทำความสะอาดได้ไม่ดีพอ มันก็จะสะสมที่ฟันและกัดกร่อนเคลือบฟัน สุดท้ายแล้วมันก็จะทำให้ฟันผุ ทั้งนี้คุณควรแปรงฟันให้ได้วันละอย่างน้อย 2 ครั้งเพื่อลดผลกระทบของน้ำตาลที่มีต่อฟัน

4.มีคอเลสเตอรอลสูง

มีงานวิจัยใน Journal of the American Medical Association ระบุว่า การทานน้ำตาลมากเกินไปสามารถทำให้คอเลสเตอรอลชนิดดี (HDL) ลดลง และเพิ่มคอเลสเตอรอลชนิดไม่ดี (LDL) ซึ่งหัวหน้างานวิจัยคาดว่าฟรุคโตสอาจกระตุ้นให้ร่างกายผลิตไตรกลีเซอไรด์และคอเลสเตอรอลชนิดไม่ดี หากคุณมีระดับคอเลสเตอรอลสูง การเลือกทานอาหารให้เหมาะสมก็สามารถช่วยลดคอเลสเตอรอลได้

5.หมดแรงหลังออกกำลังกาย

การทานอาหารให้เหมาะสมถือเป็นสิ่งสำคัญต่อการออกกำลังกาย ถ้าการออกกำลังกายดูเหมือนเป็นเรื่องที่ยากขึ้นสำหรับคุณ บางทีอาจเป็นเพราะว่าคุณทานอาหารที่มีน้ำตาลสูงมากเกินไป ทั้งนี้การทานอาหารที่อุดมไปด้วยน้ำตาลก่อนออกกำลังกายสามารถทำให้คุณรู้สึกเหนื่อยมากหลังจากนั้น เพราะน้ำตาลในเลือดจะเพิ่มขึ้นและลดลงอย่างรวดเร็ว ทำให้คุณสามารถรู้สึกเหนื่อยล้าหลังจากวิ่งได้แค่ครึ่งทาง

6.รู้สึกเศร้า

มีหลายงานวิจัยพบความเชื่อมโยงระหว่างการทานน้ำตาลและความเสี่ยงของการเป็นโรคซึมเศร้า ทั้งนี้อาหารที่มีน้ำตาลสูงทำให้การอักเสบทั้งร่างกายเพิ่มขึ้น ซึ่งมีความสัมพันธ์กับการเป็นโรคซึมเศร้า นอกจากนี้นักวิจัยพบว่า เมื่อติดตามผู้หญิงมากกว่า 70,000 คน ผลปรากฏว่า ยิ่งระดับน้ำตาลในเลือดของผู้หญิงสูงขึ้นหลังทานน้ำตาลและธัญพืชขัดสีมากเท่าไร มันก็จะทำให้พวกเธอเสี่ยงต่อการเป็นโรคซึมเศร้ามากขึ้น

7.ไม่รู้สึกอิ่ม

อาหารที่มีน้ำตาลสูงแต่มีโปรตีน ไฟเบอร์ และสารอาหารชนิดอื่นๆ ต่ำนั้นไม่สามารถทำให้คุณรู้สึกอิ่มท้อง ซึ่งน้ำตาลไม่ได้กระตุ้นให้เกิดกลไกที่ทำให้ร่างกายรู้สึกว่าเพิ่งทานอาหาร ดังนั้นจึงไม่แปลกที่คุณจะรู้สึกอยากทานอาหารเพิ่มเติมหลังจากทานอาหารที่มีน้ำตาลสูง

การไม่ควบคุมการทานน้ำตาลให้เหมาะสมสามารถนำมาซึ่งปัญหาทั้งสุขภาพกายและสุขภาพจิต ซึ่งองค์การอนามัยโรคแนะนำปริมาณของน้ำตาลที่เราควรทานต่อวันคือ ประมาณ 6 ช้อนชา อย่างไรก็ดี นอกจากการควบคุมการทานน้ำตาลแล้ว คุณก็ควรออกกำลังกายควบคู่กันเพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดโรคร้ายต่างๆ

ที่มา: https://www.rd.com/health/diet...

 


25 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Is It Possible to Eat Too Much Fruit?. Health.com. (https://www.health.com/nutrition/too-much-fruit)
7 Facts About Sugar and Depression: Is There a Connection?. Healthline. (https://www.healthline.com/health/depression/sugar-and-depression)
Borderline Diabetes: Know the Signs. Healthline. (https://www.healthline.com/health/diabetes/borderline-diabetes-know-the-signs)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป