6 วิธีบรรเทาอาการปวดส้นเท้าที่ใครๆ ก็ทำเองได้ที่บ้าน

เผยแพร่ครั้งแรก 19 เม.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
6 วิธีบรรเทาอาการปวดส้นเท้าที่ใครๆ ก็ทำเองได้ที่บ้าน

อาการปวดส้นเท้า (Heel pain) คือปัญหาที่เกิดได้จากหลายปัจจัย ซึ่งมักเกิดขึ้นเมื่อคุณใส่รองเท้าที่ไม่เหมาะสม ได้รับบาดเจ็บที่เท้าส่วนนี้  เกิดจากการจัดท่าทางขณะเดินหรือวิ่งที่ไม่ดี ผิวหนังด้าน และโรคอื่นๆ  ซึ่งแน่นอนว่าใครๆ ก็อยากให้ฝ่าเท้ากลับมามีสภาพปกติในเร็ววัน เพราะมันจะส่งผลต่อการเดิน และทำให้คุณรู้สึกไม่สบายตัว นอกจากคุณจะใช้ยาที่มีขายอยู่ทั่วไปแล้ว มันยังมีวิธีจากธรรมชาติที่ช่วยบรรเทาอาการปวดได้เช่นกัน เราลองมาดูกันดีกว่าว่ามีอะไรบ้าง

1. น้ำส้มสายชูหมักจากแอปเปิ้ล

น้ำส้มสายชูหมักจากแอปเปิ้ลถือเป็นผลิตภัณฑ์ที่ใช้ทำได้สารพัดประโยชน์ และมักนำมาใช้เพื่อจุดประสงค์ในการรักษาโรค เพราะมันมีสารต้านการอักเสบ และมีคุณสมบัติช่วยปลอบปะโลมผิว ซึ่งเหมาะสำหรับนำมาใช้บรรเทาอาการปวดที่เกิดจากการได้รับบาดเจ็บที่ส้นเท้า

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ส่วนผสม

  • น้ำ 2 ถ้วย (500 มิลลิลิตร)
  • น้ำส้มสายชูหมักจากแอปเปิ้ล ½ ถ้วย (125 มิลลิลิตร)

วิธีเตรียมและวิธีใช้

  1. ต้มน้ำให้เดือด จากนั้นให้เทใส่ถ้วย และเติมน้ำส้มสายชูหมักจากแอปเปิ้ลลงไป
  2. จุ่มเท้าลงในน้ำที่เตรียมไว้ 15-20 นาที
  3. ทำซ้ำจนกระทั่งอาการดีขึ้น

2. เกลือยิปซั่ม

เกลือยิปซั่มสามารถช่วยบรรเทาอาการต่างๆ ที่ส่งผลต่อฝ่าเท้า มันจะช่วยควบคุมการอักเสบ และช่วยกระตุ้นให้เลือดหมุนเวียนเพื่อบรรเทาอาการปวดในเวลาไม่นาน

ส่วนผสม

  • เกลือยิปซั่ม ½ ถ้วย (100 กรัม)
  • น้ำ 3 ถ้วย (750 มิลลิลิตร)

วิธีเตรียมและวิธีใช้

  1. นำเกลือยิปซั่มไปเจือจางในน้ำร้อน และเทลงในถ้วยขนาดใหญ่
  2. แช่ฝ่าเท้าเป็นเวลา 20 นาที และเช็ดให้แห้ง
  3. ทำเช่นนี้ทุกวันจนกว่าอาการจะดีขึ้น

3. เสจและน้ำส้มสายชูหมักจากแอปเปิ้ล

อย่างที่รู้กันดีว่า น้ำส้มสายชูหมักจากแอปเปิ้ลมีสารต้านการอักเสบ เมื่อเรานำมันมาใช้คู่กับเสจ ซึ่งมีสรรพคุณช่วยบรรเทาอาการปวดและต้านการอักเสบ คุณก็จะได้สุดยอดทรีทเมนต์ที่อาจทำให้อาการปวดฝ่าเท้าหายเป็นปลิดทิ้ง นอกจากนี้มันยังช่วยให้เลือดไหลเวียนดีขึ้นอีกด้วย

ส่วนผสม

  • ใบเสจ 6 ใบ
  • น้ำส้มสายชูหมักจากแอปเปิ้ล ½ ถ้วย (125 มิลลิลิตร)

วิธีเตรียมและวิธีใช้

  1. บดใบเสจ และเติมลงในหม้อพร้อมกับน้ำส้มสายชูหมักจากแอปเปิ้ล จากนั้นให้อุ่นโดยใช้ไฟต่ำเป็นเวลา 5 นาที และปล่อยทิ้งไว้ให้เย็นที่อุณหภูมิห้อง
  2. แช่ผ้าลงในน้ำ และนำมาประคบบริเวณที่มีปัญหา ปล่อยทิ้งไว้ 2 ชั่วโมงก่อนล้างออก
  3. ทำซ้ำวันละ 2 ครั้ง เป็นเวลา 3-4 วัน

4. น้ำมันมะกอกและน้ำมันกานพลู

น้ำมันทั้งสองชนิดนี้สามารถช่วยบรรเทาอาการปวดส้นเท้าหลังจากที่ได้รับบาดเจ็บหรือออกกำลังกายอย่างหนัก สารต้านการอักเสบที่พบได้ในน้ำมันดังกล่าวจะช่วยทำให้เนื้อเยื่อกล้ามเนื้อคลายตัว และช่วยให้ระบบไหลเวียนโลหิตทำงานดีขึ้น

ส่วนผสม

  • น้ำมันมะกอก 2 ช้อนโต๊ะ (32 กรัม)
  • น้ำมันหอมระเหยกานพลู 1 ช้อนโต๊ะ (15 กรัม)

วิธีเตรียมและวิธีใช้

  1. ผสมน้ำมันมะกอกและน้ำมันหอมระเหยกานพลู จากนั้นให้นำไปอุ่นในไมโครเวฟ
  2. เมื่อน้ำมันเย็นลงแล้ว ให้คุณนำมานวดที่ผิวอย่างอ่อนโยนโดยไม่ต้องล้างออกและทำวันละ 2 ครั้ง

5. วาสลีนและพริกคาเยน

วาสลีนสามารถช่วยบรรเทาอาการปวดส้นเท้าได้เป็นอย่างดี ในขณะที่สารแคปไซซินในพริกคาเยนมีคุณสมบัติช่วยลดอาการปวด อีกทั้งยังมีสารต้านการอักเสบ ทำให้คุณหายปวดหรือตึงที่ฝ่าเท้า

ส่วนผสม

  • วาสลีน 3 ช้อนโต๊ะ (60 กรัม)
  • พริกคาเยน ½ ช้อนชา (2 กรัม)

วิธีเตรียมและวิธีใช้

  1. นำวาสลีนไปอุ่นในไมโครเวฟและผสมกับพริกคาเยน
  2. เมื่อส่วนผสมเริ่มเป็นก้อน ให้คุณนำมานวดที่ส้นเท้าอย่างเบามือ โดยให้คุณทำเช่นนี้วันละ 2 ครั้ง

6. อาร์นิก้า

อาร์นิก้าเป็นทรีทเมนต์สำหรับรักษาอาการเจ็บภายนอกและอาการปวดที่มีชื่อเสียง เพราะมันมีฤทธิ์ช่วยควบคุมความปวด อีกทั้งยังนำมาใช้รักษากล้ามเนื้อฉีกขาด กล้ามเนื้อตึง และปัญหาอื่นๆ

ส่วนผสม

  • อาร์นิก้า ½ ช้อนชา (2 กรัม)
  • น้ำมันมะกอก 2 ช้อนโต๊ะ (32 กรัม)

วิธีเตรียมและวิธีใช้

  1. ผสมอาร์นิก้ากับน้ำมันมะกอก และนำมาทาที่ส้นเท้า โดยปล่อยไว้ไม่ต้องล้างออก
  2. ใช้วันละ 2 ครั้ง ถ้ายังคงมีอาการปวด

อาการปวดส้นเท้าอาจไม่ใช่เรื่องที่ร้ายแรงถึงชีวิต แต่มันก็ส่งผลต่อการใช้ชีวิตของคุณมากทีเดียว ดังนั้นถ้าอยากลองรักษาตัวด้วยวิธีธรรมชาติ การทำตามวิธีที่เรากล่าวไปก็สามารถช่วยบรรเทาอาการปวดส้นเท้าได้


11 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Heel Spur Treatment, Symptoms & Pictures. MedicineNet. (https://www.medicinenet.com/heel_spurs/article.htm)
Heel pain: Causes, prevention, and treatments. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/181453)
Chronic Heel Pain? 4 Simple Fixes for Your Plantar Fasciitis. Health Essentials from Cleveland Clinic. (https://health.clevelandclinic.org/chronic-heel-pain-4-simple-fixes-for-your-plantar-fasciitis/)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป