ป้องกันฟันผุด้วย 5 วิธีง่ายๆ ที่คุณทำเองได้ที่บ้าน

เผยแพร่ครั้งแรก 4 พ.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
ป้องกันฟันผุด้วย 5 วิธีง่ายๆ ที่คุณทำเองได้ที่บ้าน

อย่างที่เราทราบกันดีอยู่แล้วว่า หน้าที่หลักของฟันคือเคี้ยวอาหาร แต่ทั้งนี้ฟันก็เป็นหนึ่งในอวัยวะที่สามารถผุพังหรือเสื่อมสภาพได้ไม่ต่างจากอวัยวะอื่นๆ หากมีเศษอาหาร หรือแบคทีเรียหลงเหลืออยู่ที่ฟัน มันก็จะทำให้เกิดคราบพลัค ซึ่งมักสะสมอยู่ตามซอกฟัน รอยแตกหรือร่องฟัน หรือใกล้กับแนวเหงือก หากคุณไม่กำจัดคราบพลัคให้หมดสิ้น มันก็จะทำให้เกิดฟันผุได้ในที่สุด

เราสามารถแก้ปัญหาฟันผุด้วยตัวเองที่บ้านได้ไหม?

ปัญหาฟันผุจะต้องรักษาโดยทันตแพทย์เท่านั้น อย่างไรก็ตาม มีหลายวิธีที่สามารถเพิ่มความแข็งแรงให้เคลือบฟันก่อนที่ฟันจะผุ โดยสามารถทำได้เองที่บ้าน ซึ่งมันสามารถช่วยป้องกันไม่ให้เกิดฟันผุตามมาในอนาคต สำหรับวิธีที่เราอยากแนะนำมีดังนี้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

1. ออยล์พูลลิ่ง

ออยล์พูลลิ่งเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ถูกนำมาใช้เป็นยารักษาโรคตั้งแต่สมัยโบราณ โดยใช้น้ำมันงา หรือน้ำมันมะพร้าว 1 ช้อนโต๊ะ กลั้วให้ทั่วปากภายในระยะเวลาที่กำหนด แล้วค่อยบ้วนออก ทั้งนี้มีงานวิจัยเมื่อปี ค.ศ. 2009 พบว่า การใช้น้ำมันงาทำออยล์พูลลิ่งสามารถช่วยลดจำนวนของคราบพลัคและแบคทีเรียได้เหมือนกับตอนใช้น้ำยาบ้วนปาก หากการทำออยล์พูลลิ่งช่วยลดคราบพลัค มันก็อาจช่วยป้องกันฟันผุได้ แต่ทั้งนี้เรายังต้องรองานวิจัยเพิ่มเติมเพื่อยืนยันผลเหล่านี้

2. ว่านหางจระเข้

มี Review เมื่อปีค.ศ. 2015 พบว่า ยาสีฟันเจลว่านหางจระเข้อาจช่วยต่อสู้กับแบคทีเรียที่เป็นต้นเหตุของฟันผุได้ เพราะยาสีฟันชนิดนี้มีสารต้านแบคทีเรียที่ช่วยฆ่าแบคทีเรียชนิดที่เป็นอันตรายในช่องปาก และอาจช่วยคืนแร่ธาตุให้เคลือบฟันในระยะก่อนฟันผุ

3. หลีกเลี่ยงการทานอาหารหรือเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลสูง

การทานอาหารที่มีน้ำตาลถือเป็นหนึ่งในสาเหตุสำคัญที่ทำให้ฟันผุ เมื่อน้ำตาลผสมกับแบคทีเรียในช่องปาก มันก็จะทำให้เกิดกรด ซึ่งเคลือบฟันจะถูกทำลาย ทั้งนี้องค์การอนามัยโลก หรือ The World Health Organization (WHO) แนะนำว่า เราสามารถป้องกันไม่ให้เกิดฟันผุโดยทานอาหารหรือเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลสูงให้น้อยลง

4. ทานรากชะเอมเทศ

สารต้านแบคทีเรียที่พบได้ในรากชะเอมเทศอาจช่วยกำจัดแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุของฟันผุ นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยชิ้นเล็กๆ เมื่อปี ค.ศ.2011 พบว่า การดูดอมยิ้มที่มีสารสกัดจากรากชะเอมเทศอาจช่วยป้องกันฟันผุได้ แต่ทั้งนี้ยังต้องรองานวิจัยชิ้นอื่นๆ มายืนยันเพิ่มเติม

5. ทานหมากฝรั่งปลอดน้ำตาล

มีงานวิจัยเมื่อปี ค.ศ. 2015 ระบุว่า การเคี้ยวหมากฝรั่งสูตรปลอดน้ำตาลหลังจากทานอาหารสามารถทำให้ระดับของแบคทีเรียที่ทำร้ายเคลือบฟันมีจำนวนน้อยลง การมีแบคทีเรียชนิดนี้น้อยลงก็อาจทำให้เคลือบฟันแข็งแรงขึ้น ซึ่งมันจะทำให้ฟันมีความทนทานต่อการผุมากขึ้นนั่นเอง

อย่างไรก็ตาม การใช้วิธีข้างต้นอาจช่วยลดความเสี่ยงที่จะทำให้เกิดฟันผุ หรือลดความเสียหายที่มีต่อเคลือบฟันในช่วงก่อนฟันผุ แต่ทั้งนี้คุณก็ควรดูแลฟันตามที่ทันตแพทย์แนะนำควบคู่กันไปด้วย เช่น แปรงฟัน โดยเฉพาะการใช้ยาสีฟันชนิดฟลูออไรด์ หรือใช้ไหมขัดฟัน ฯลฯ ทั้งนี้ไม่ใช่ว่าการมีฟันผุจะทำให้คุณรู้สึกปวดทุกครั้ง ดังนั้นจึงเป็นเรื่องสำคัญที่คุณควรไปพบทันตแพทย์เป็นประจำ


14 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Tooth Decay Prevention: 8 Daily Dental Care Tips. WebMD. (https://www.webmd.com/oral-health/guide/tooth-decay-prevention)
Tooth whitening: What you should know. (2009). (http://www.ada.org/~/media/ADA/Publications/Files/patient_83.ashx)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
โรคเหงือกอักเสบ (Gingivitis) คืออะไร ?
โรคเหงือกอักเสบ (Gingivitis) คืออะไร ?

เรียนรู้ว่าโรคเหงือกอักเสบคืออะไร และจะรักษาหรือป้องกันได้อย่างไร

อ่านเพิ่ม
เลือดออกตามไรฟัน
เลือดออกตามไรฟัน

สัญญาณเตือนสุขภาพที่เกิดได้ทุกเพศทุกวัย อย่าชะล่าใจโดยเด็ดขาด

อ่านเพิ่ม
ฟันเหลือง ทำอย่างไรดี?
ฟันเหลือง ทำอย่างไรดี?

รู้จัก 8 สาเหตุของฟันเหลือง ทั้งโดยธรรมชาติและจากพฤติกรรมที่คุณหลีกเลี่ยงได้ พร้อมแนะนำ 7 วิธีเพื่อให้ฟันกลับมาขาวสดใส

อ่านเพิ่ม