5 เหตุผลสำหรับการฉีดคอร์ติโคสเตียรอยด์

เผยแพร่ครั้งแรก 7 ต.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
5 เหตุผลสำหรับการฉีดคอร์ติโคสเตียรอยด์

การฉีดคอร์ติโคสเตียรอยด์คืออะไร ?

ถึงแม้ว่าหลักการทางวิทยาศาสตร์ของประสิทธิผลในการฉีดคอร์ติโคสเตียรอยด์เข้าสู่ข้อและเนื้อเยื่ออ่อนจะไม่ชัดเจน และการศึกษาทดลองก็ล้มเหลวในการสนับสนุนประโยชน์ของหัตถการนี้ แต่แพทย์หลายคนก็สามารถพิสูจน์การระงับอาการปวดได้จริงโดยประเมินจากผู้ป่วยที่ได้รับการฉีดคอร์ติโคสเตียรอยด์เข้าในข้อ

คอร์ติโคสเตียรอยด์ (corticosteroid หรือ glucocorticoid) ใช้ในการบรรเทาอาการปวดโดยการฉีดเข้าข้อ ถุงน้ำรอบข้อ (bursae) ปลอกเส้นเอ็น และเนื้อเยื่ออ่อน ถุงน้ำรอบข้อจะเต็มไปด้วยน้ำไขข้อ (synovial fluid) และทำหน้าที่เป็นตัวกันกระแทกในข้อ และเช่นเดียวกับผ้าเบรกในรถยนต์ ถุงน้ำรอบข้อยังช่วยลดแรงเสียดทานอีกด้วย

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
กายภาพบำบัดและนวดเพื่อการรักษาวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 198 บาท ลดสูงสุด 92%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

สเตียรอยด์มีผลในการต้านการอักเสบและลดอาการปวดของร่างกาย เมื่อฉีดสเตียรอยด์เข้าข้อหรือเนื้อเยื่อ คอร์ติโคสเตียรอยด์จะบรรเทาอาการอักเสบ อาการบวม แดง และร้อนลงได้

การฉีดคอร์ติโคสเตียรอยด์นั้นค่อนข้างปลอดภัย หากทำอย่างถูกต้อง ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น ได้แก่ การแพ้ เส้นเอ็นขาด การฝ่อลีบของเนื้อเยื่อ สีผิวที่ด่าง และการติดเชื้อ

แม้ว่าคอร์ติโคสเตียรอยด์ที่ออกฤทธิ์ระยะสั้น เช่น dexamethasone จะไม่ได้ออกฤทธิ์นานเมื่อฉีดเข้าข้อหรือเนื้อเยื่อ แต่ในบางรายก็มีปฏิกิริยาเช่น steroid flare ซึ่งผลข้างเคียงดังกล่าวก็มีข้อจำกัดของช่วงเวลาเช่นกัน เมื่อเกิด steroid flare คอร์ติโคสเตียรอยด์จะตกผลึกในข้อและทำให้เกิดอาการปวดที่หายได้เอง แพทย์หลายรายผสมdexamethasone ซึ่งออกฤทธิ์ระยะสั้นเข้ากับ betamethasone ซึ่งออกฤทธิ์ระยะยาว เพื่อสร้างยาฉีดเข้าข้อที่ได้ประโยชน์จากคอร์ติโคสเตียรอยด์ที่ออกฤทธิ์ทั้งระยะสั้นและระยะยาว

ต่อไปนี้เป็นเหตุผลห้าอย่างของการฉีดคอร์ติโคสเตียรอยด์

เหตุผลที่หนึ่ง: ภาวะเส้นประสาทบริเวณข้อมือถูกกดทับ (carpal tunnel syndrome)

ภาวะดังกล่าวทำให้เกิดอาการปวด ชา และเป็นเหน็บที่นิ้ว ซึ่งเกิดจากเส้นประสาทมีเดียน (median nerve) ส่วนที่อยู่ในปลอก (carpal tunnel) ในข้อมือถูกกดทับ การฉีดคอร์ติโคสเตียรอยด์สามารถช่วยบรรเทาอาการได้หลายเดือน และยืดระยะเวลาที่จำเป็นต้องผ่าตัดรักษาออกไป (75% ของคนที่มีภาวะนี้มักจะต้องผ่าตัดในที่สุด)

เหตุผลที่สอง: ข้ออักเสบ (osteoarthritis)

การฉีดสเตียรอยด์ใช้สำหรับการอักเสบที่ข้อเข่า ข้อมือ มือ และสะโพกอยู่แล้ว ซึ่งมีหลักฐานทางการศึกษาที่สนับสนุนประโยชน์ของการฉีดสเตียรอยด์เข้าข้อในผู้ที่มีข้ออักเสบอยู่เพียงน้อยนิด ยิ่งไปกว่านั้น หากคุณตัดสินใจที่จะรับการฉีดยาเข้าข้อ การให้ผู้เชี่ยวชาญเช่นศัลยแพทย์ออร์โธพิดิกส์เป็นผู้ฉีดให้ก็เป็นความคิดที่ดี

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

เหตุผลที่สาม: โรคปวดข้อศอกด้านในหรือข้อศอกนักกอล์ฟ (golfer’s elbow หรือ medial epicondylitis)

โรคปวดข้อศอกด้านในหรือการอักเสบของปลายข้อศอกด้านใน เป็นการบาดเจ็บของข้อศอกที่ทำให้เกิดอาการปวดที่ปลายข้อศอกทางด้านใน (medial epicondyle) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกระดูกต้นแขน (humerus) การฉีดคอร์ติโคสเตียรอยด์อาจช่วยบรรเทาอาการของโรคได้เป็นระยะเวลาสั้น ๆ การฉีดพลาสมาที่มีเกล็ดเลือด (platelet-rich plasma) ก็อาจช่วยได้เช่นกัน

เหตุผลที่สี่: โรคปวดข้อศอกด้านนอกหรือข้อศอกนักเทนนิส (Tennis elbow หรือ lateral epicondylitis)

โรคปวดข้อศอกด้านนอกหรือการอักเสบของปลายข้อศอกด้านนอก เป็นการบาดเจ็บที่เกิดจากการใช้งานซ้ำ ๆ มากเกินไปในเส้นเอ็นของกล้ามเนื้อที่ใช้กระดูกข้อมือ ซึ่งมีจุดเกาะมาจากปลายข้อศอกทางด้านนอก และเช่นเดียวกับโรคปวดข้อศอกด้านใน อาการปวดของโรคปวดข้อศอกด้านนอกก็สามารถบรรเทาได้เป็นระยะเวลาสั้น ๆ หลังจากการฉีดคอร์ติโคสเตียรอยด์เช่นกัน แต่การกลับมาเป็นซ้ำก็มีสูงแม้จะได้รับการฉีดคอร์ติโคสเตียรอยด์ไปแล้วก็ตาม และการฉีดยาก็อาจไม่ได้มีประโยชน์ในระยะยาว

เหตุผลที่ห้า: โรคไหล่ติด (frozen shoulder)

โรคไหล่ติด (frozen shoulder หรือ adhesive capsulitis) เป็นภาวะอักเสบเรื้อรัง ซึ่งส่งผลกระทบต่อข้อไหล่ และทำให้เกิดอาการปวด เคลื่อนไหวติดขัด และเคลื่อนไหวได้น้อยลง การรักษาอื่น ๆ นอกเหนือไปจากการฉีดคอร์ติโคสเตียรอยด์ก็ได้แก่ การใช้ยาแก้ปวดกลุ่ม NSAIDs (เช่น ibuprofen) การจัดท่าไหล่ภายใต้การระงับความรู้สึก และสุดท้ายคือการผ่าตัด

คุณสามารถฉีดคอร์ติโคสเตียรอยด์ได้หรือเปล่า

โปรดจำได้ว่าการฉีดคอร์ติโคสเตียรอยด์เป็นเพียงแค่การรักษาเสริมเท่านั้น การฉีดยานี้ไม่สามารถแทนที่การรักษาหลัก (การผ่าตัด) ได้

ยิ่งไปกว่านั้น แม้ว่าบางคนอาจได้ประโยชน์จากการฉีดคอร์ติโคสเตียรอยด์มากกว่าหนึ่งครั้งในการรักษาโรคเดิมตลอดชั่วชีวิต แต่ผู้ที่ไม่ตอบสนองต่อการฉีดคอร์ติโคสเตียรอยด์ตั้งแต่ครั้งแรกก็ไม่ควรรับการฉีดซ้ำอีก พูดอีกอย่างก็คือ หากคุณได้รับการฉีดคอร์ติโคสเตียรอยด์เพื่อบรรเทาโรคข้อหรือเนื้อเยื่อแล้วไม่ได้ผล ก็กรุณาอย่าไปฉีดซ้ำอีก

สรุปคือ การฉีดยาเข้าข้อมีแนวโน้มจะทำให้ข้อและเนื้อเยื่ออ่อนแอลงเมื่อเวลาผ่านไป ดังนั้น คุณควรเลี่ยงการฉีดไม่ให้บ่อยเกิดไป และไม่ถี่เกินกว่าระยะหลายเดือน และสุดท้ายการฉีดคอร์ติโคสเตียรอยด์ก็เป็นเพียงการบรรเทาอาการปวดก่อนที่จะเข้ารับการผ่าตัดเท่านั้น


21 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Cortisone Shots for Inflammation: Benefits, Side Effects, and More. Verywell Health. (https://www.verywellhealth.com/cortisone-shot-side-effects-2549714)
Corticosteroid Injections of Joints and Soft Tissues: Overview, Mechanism of Inflammation, Actions of Corticosteroids. Medscape. (https://emedicine.medscape.com/article/325370-overview)
Steroid injections. NHS (National Health Service). (https://www.nhs.uk/conditions/steroid-injections/)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)