กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

ประโยชน์สี่อย่างที่ผู้ป่วยโรคมะเร็งอาจได้รับจากการฝังเข็ม

เผยแพร่ครั้งแรก 12 มิ.ย. 2017 อัปเดตล่าสุด 7 ธ.ค. 2022 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
ประโยชน์สี่อย่างที่ผู้ป่วยโรคมะเร็งอาจได้รับจากการฝังเข็ม

การฝังเข็มเป็นศาสตร์การรักษาแบบจีนโบราณ ซึ่งประกอบไปด้วยการฝังเข็มที่เล็กบางมากๆ ไปยังจุดเฉพาะของร่างกาย จุดเหล่านี้อยู่ตามแนวเส้นที่มองไม่เห็นที่เรียกว่าเส้นลมปราณ (meridian) ซึ่งเชื่อว่าแต่ละเส้นจะสัมพันธ์กับระบบอวัยวะของร่างกายที่ต่างกันออกไป แพทย์ฝังเข็มกระตุ้นจุดเหล่านี้โดยหวังว่าจะปลดปล่อยกระแสพลังชี่หรือพลังจักรวาล (qi) ผ่านทางเส้นลมปราณเหล่านี้ และทำให้สุขภาพของร่างกายฟื้นคืน

ประโยชน์ของการฝังเข็ม

การฝังเข็มถูกใช้ในการแพทย์แผนจีนโบราณ (รูปแบบหนึ่งของการแพทย์ทางเลือกที่เกิดขึ้นในประเทศจีน) มามากว่าห้าพันปีแล้ว และมักถูกใช้เพื่อกระตุ้นการฟื้นตัวจากภาวะเช่นอาการปวดหลัง ไมเกรน อาการปวดร้าวลงขาจากการกดทับเส้นประสาทไซอาติก (sciatica) ข้อเสื่อม และโรคปวดกล้ามเนื้อ (fibromyalgia) เช่นเดียวกับการใช้เพื่อช่วยในการเลิกบุหรี่ หรือการตั้งครรภ์ด้วย

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ถึงแม้ว่านักวิทยาศาสตร์จะยังไม่ทราบแน่ว่ากลไกของการฝังเข็มเป็นอย่างไร แต่ก็คาดว่าการรักษาดังกล่าวอาจช่วยกระตุ้นการปลดปล่อยสารเคมีที่ช่วยระงับความเจ็บปวดจากสมอง หรืออาจมีผลต่อระบบประสาทอัตโนมัติ หรืออาจกระตุ้นการไหลเวียนเลือด

การฝังเข็มและโรคมะเร็ง

ในขณะที่การฝังเข็มนั้นไม่สามารถใช้รักษาโรคมะเร็งได้ แต่การฝังเข็มอาจช่วยให้ผู้ป่วยหายจากอาการเจ็บปวดจากมะเร็ง และอาการอ่อนเพลียได้ (ซึ่งเป็นผลข้างเคียงจากการรักษามะเร็งตามมาตรฐาน) ต่อไปนี้เป็นสิ่งที่การฝังเข็มอาจเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่กำลังเป็นมะเร็งได้

1. บรรเทาอาการเจ็บปวดจากมะเร็ง

จากการศึกษาในปี พ.ศ. 2546 ผู้วิจัยพบว่าการฝังเข็มช่วยลดระดับความเจ็บปวดจากมะเร็งในผู้ป่วย 90 คนที่ใช้ยาระงับปวดแล้วไม่ได้ผล

2. ลดอาการอ่อนเพลียหลังได้ยาเคมีบำบัด

อ้างอิงจากการศึกษาในปีพ.ศ. 2550 ซึ่งประกอบไปด้วยผู้ป่วย 47 คน การฝังเข็มแสดงให้เห็นว่าสามารถจัดการกับอาการอ่อนเพลียหลังได้ยาเคมีบำบัดได้ดี ผู้เข้าร่วมวิจัยรู้สึกว่าอาการอ่อนเพลียโดยทั่วไปๆดีขึ้น อาการอ่อนเพลียทางกายดีขึ้น และมีแรงกระตุ้นมากขึ้น หลังจากได้รับการฝังเข็มเป็นเวลา 20 นาทีต่อครั้ง รวมหกครั้ง เป็นเวลาสองสัปดาห์

ผลการศึกษายังบ่งชี้ว่าผู้เข้าร่วมวิจัยที่ทำการกดจุด (acupressure) ด้วยตนเองก็มีอาการอ่อนเพลียลดลงเช่นกัน

3. รักษาอาการคลื่นไส้อาเจียนที่เกิดจากการได้รับยาเคมีบำบัด

จากการศึกษาที่ตีพิมพ์ในปี พ.ศ. 2548 ซึ่งผู้วิจัยได้ทบทวนการศึกษาแบบทดลอง (clinical trial) 11 การศึกษา พบว่าการฝังเข็มลดอาการอาเจียนหลังจากได้รับยาเคมีบำบัดได้ การทบทวนงานวิจัยดังกล่าวยังพบว่าการฝังเข็มช่วยลดระดับอาการคลื่นไส้หลังได้รับยาเคมีบำบัดได้ด้วย

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

4. ลดผลข้างเคียงจากการฉายแสง

จากการศึกษาชนิดนำร่อง (pilot study) ทีตีพิมพ์ในปี พ.ศ. 2551 พบว่าการฝังเข็มมีประสิทธิภาพในการลดอาการน้ำลายแห้ง (xerostomia) จากการฉายแสงได้ โดยผู้วิจัยก่อนหน้านี้แนะนำว่าการฝังเข็มอาจช่วยลดอาการนอนไม่หลับ และวิตกกังวล ที่เกี่ยวข้องกับการฉายแสงได้อีกด้วย

คำเตือนเรื่องความปลอดภัยของการฝังเข็ม

การฝังเข็มอาจทำให้เกิดอาการวิงเวียน มีเลือดออกเฉพาะจุด ผิวหนังอักเสบ เส้นประสาทถูกทำลาย และอาจจะเพิ่มอาการเจ็บปวดได้ด้วย โดยเฉพาะหากผู้ทำการฝังเข็มไม่ได้ฝึกมาดีพอ หากคุณกำลังพิจารณาการฝังเข็มสำหรับเป็นทางเลือกในการบรรเทาปัญหาสุขภาพที่เกี่ยวข้องกับโรคมะเร็งแล้ว คุณควรปรึกษาแพทย์ของคุณเสียก่อนเพื่อตัดสินใจเรื่องข้อดีข้อเสียที่อาจเป็นไปได้

เขาหรือเธออาจช่วยส่งตัวคุณต่อให้กับผู้ทำการรักษาที่มีความชำนาญและมีประสบการณ์การทำงานกับผู้ป่วยโรคมะเร็งมาก่อน และคอยเตือนตัวเองอยู่เสมอว่าการรักษาด้วยตัวเองและหลีกเลี่ยงหรือรักษาด้วยวิธีตามมาตรฐานช้าเกินไปอาจทำให้เกิดผลเสียร้ายแรงตามมาได้

บทความที่เกี่ยวข้อง

รีวิว ฝังเข็มออฟฟิศซินโดรม กระตุ้นไฟฟ้า ที่ สวนกวางตุ้งคลินิก | HDmall
รีวิว ฝังเข็ม Office Syndrome กระตุ้นไฟฟ้า และโคมไฟอินฟาเรด ที่ สวนกวางตุ้งคลินิก | HDmall
รีวิวฝังเข็ม บรรเทาภูมิแพ้ ที่ ดวงกมลคลินิกกายภาพบำบัด และการแพทย์แผนจีน | HDmall
รีวิวทุกขั้นตอน ฝังเข็ม ครอบแก้ว ติดหมุดใบหู ที่ Mandarin Clinic | HDmall
รีวิวฝังเข็ม รักษาอาการปวดคอ บ่า ไหล่ ที่ สวนกวางตุ้งคลินิก | HDmall

รีวิวการรักษาอาการไหล่ติด ด้วยวิธีผสมผสาน 3 ศาสตร์ กายภาพบำบัด นวดคลายกล้ามเนื้อ และฝังเข็ม ที่ ดวงกมลคลินิกกายภาพบำบัด และการแพทย์แผนจีน | HDmall


12 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
ฝังเข็มแบบจีนกับแบบตะวันตก แตกต่างกันอย่างไร? ควรเลือกแบบไหนให้เหมาะกับอาการของเรา? (https://hdmall.co.th/c/what-difference-dry-needling-vs-acupuncture).
ฝังเข็ม อันตรายไหม? ช่วยอะไรได้บ้าง? (https://hdmall.co.th/c/what-is-chinese-acupuncture).
การฝังเข็มแบบตะวันตกคืออะไร? Dry Needling รักษาโรคอะไรได้บ้าง? (https://hdmall.co.th/c/what-is-dry-needling-puncture).

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
เป็นไปได้ไหมที่การอ่อนเพลียจะเป็นอาการเริ่มต้นของมะเร็ง? เราควรรู้อะไรบ้าง?
เป็นไปได้ไหมที่การอ่อนเพลียจะเป็นอาการเริ่มต้นของมะเร็ง? เราควรรู้อะไรบ้าง?

อาการอ่อนเพลียกลายเป็นอาการของมะเร็งตั้งแต่เมื่อไหร่ และมีความแตกต่างจากอาการอ่อนเพลียทั่วไปอย่างไร

อ่านเพิ่ม