4 เคล็ดลับเพื่อช่วยให้ลูกที่กำลังจะเข้ามหาวิทยาลัยจัดการกับความบกพร่องทางคณิตศาสตร์ (dyscalculia)

แนวทางและเคล็ดลับสำหรับทักษะการดำรงชีวิต
เผยแพร่ครั้งแรก 17 ก.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
4 เคล็ดลับเพื่อช่วยให้ลูกที่กำลังจะเข้ามหาวิทยาลัยจัดการกับความบกพร่องทางคณิตศาสตร์ (dyscalculia)

สำหรับผู้ที่มีภาวะบกพร่องทางคณิตศาสตร์ (dyscalculia) เป็นเรื่องทั่วไปที่เพื่อนและครอบครัวจะคิดว่าภาวะนี้เป็นอุปสรรคที่ไม่น่าจะเอาชนะได้ยาก ผู้ที่ไม่เข้าใจโรคนี้จะแนะนำง่าย ๆ ให้หลีกเลี่ยงวิชาที่เกี่ยวข้องกับคณิตศาสตร์ในชั้นเรียนระดับสูงที่วิชาดังกล่าวไม่ใช่วิชาบังคับอีกต่อไปแล้ว 

อย่างไรก็ตามสิ่งที่คนส่วนมากไม่เข้าใจคือภาวะดังกล่าวไม่ใช่แค่ปัญหาที่ผู้มีภาวะนี้จะไม่สามารถเข้าใจตรีโกณมิติภาวะนี้หมายความถึงความยากลำบากแม้แต่กับตัวเลขพื้นฐาน ตัวเลขที่เราใช้ในชีวิตประจำวัน หากลูกของคุณกำลังจะไปเรียนมหาวิทยาลัยเป็นครั้งแรก นั่นหมายความว่าเธอต้องมีความรับผิดชอบต่อหลายสิ่งอย่างแรกคือสิ่งที่คุณเคยช่วยเหลือเธอ อย่างที่สองคือการรับมือกับตัวเลขทั้งหลาย ลองคิดดู ทั้งการจ่ายเงินการจำวันกำหนดส่งงาน และการจัดการกับงบประมาณซื้อของ ต่อไปนี้เป็นเคล็ดลับที่จะช่วยลูกของคุณเตรียมพร้อมสำหรับความท้าทาย ซึ่งจะเป็นรางวัลสำหรับก้าวย่างใหม่ในชีวิต

  1. ใช้เครื่องมือออนไลน์เพื่อจัดการกับเรื่องเงินและสิ่งที่เกี่ยวข้องกับเวลา ผู้ที่มีปัญหาบกพร่องทางคณิตศาสตร์ในทุกวันนี้มีโอกาสที่ดีในการใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อประโยชน์ของตน เครื่องมือช่วยจัดการเวลาและเงินนั้นมีอยู่บนอินเตอร์เน็ต และถูกสร้างขึ้นมาเพื่อให้ผู้ที่ต้องดิ้นรนในการทำความเข้าใจแม้แต่กับกฎที่ง่ายที่สุดของการตั้งงบประมาณและการบริหารเวลา
  2. ช่วยลูกของคุณสร้างตารางเวลาที่ทำตามได้ง่ายเช่นเดียวกับที่คุณก็รู้ดีอยู่แล้วภาวะดังกล่าวมักทำให้มีปัญหาในการทำงานให้เสร็จอย่างเป็นระบบ เมื่อลูกของคุณเข้ามหาวิทยาลัยเธอจะอยู่ในอีกโลกหนึ่งเลยทีซึ่งนั่นหมายความว่าเธอเดียว จะมีเวลาว่างมากมายที่ต้องจัดการด้วยตัวของเธอเอง ลองพยายามช่วยลูกของคุณสร้างตารางเวลาที่ยืดหยุ่นได้ และลองให้เธอทำตามด้วยตัวเองดู

  3. ให้ลูกลองฝึกทำงานบางอย่างที่เธอต้องทำคนเดียวขณะที่เธอยังอยู่ที่บ้าน เช่นเดียวกับการสร้างตารางเวลายังมีภาระงานอีกมากมายที่ลูกจะต้องทำด้วยตัวคนเดียวเมื่อเข้ามหาวิทยาลัยให้ลูกของคุณไปซื้อของเพื่อที่จะได้คุ้นเคยการรับมือกับราคาอาหาร ทำอย่างเดียวกับสิ่งที่ดูเหมือนเป็นเรื่องยากสำหรับลูก ถึงแม้ว่าจะเป็นสิ่งที่ไม่เกี่ยวข้องกับตัวเลข เช่นการซักผ้าและการทำอาหาร

  4. หากเป็นไปได้ไปดูที่มหาวิทยาลัยก่อนเพื่อช่วยให้ลูกของคุณคุ้นเคยกับสิ่งแวดล้อม

อีกปัญหาหนึ่งซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับตัวเลขที่ผู้บกพร่องทางคณิตศาสตร์มักต้องใช้ความพยายามคือการทำความเข้าใจพื้นที่และทิศทางหากเวลาและการเงินเอื้ออำนวยควรไปดูมหาวิทยาลัยที่ลูกจะอยู่ในอนาคตในวันหยุดสุดสัปดาห์ก่อนจะขึ้นเทอมใหม่หาทิศทางไปยังสถานที่ที่ลูกน่าจะต้องไปบ่อยๆ ซึ่งอาจจะรวมถึงศูนย์ นักศึกษา ห้องสมุดร้านขายของในพื้นที่ และอื่น ๆ ซึ่งไม่ได้จำกัดอยู่แค่นี้ ฝึกให้ชินกับทางไปสถานที่เหล่านี้ตั้งแต่ตอนมาลงทะเบียนเรียนเพื่อที่ลูกของคุณจะได้ไม่หลงทางและสับสน แน่นอนว่าถึงแม้คุณจะเตรียมการล่วงหน้าสำหรับการที่ลูกต้องจากอ้อมอกมาเรียนมหาวิทยาลัยไว้แค่ไหนก็ตาม จะมีอุปสรรคที่คุณอาจทำนายล่วงหน้าไม่ได้แน่นอน แม้แต่เด็กที่ไม่ได้มีปัญหาบกพร่องด้านการเรียนรู้ยังพบว่าการเปลี่ยนสภาพไปเป็นสภาวะกึ่งอิสระยังเป็นเรื่องยาก อย่างไรก็ตามเป็นเรื่องสำคัญที่ว่าสิ่งที่จะช่วยให้ลูกของคุณเรียนรู้ได้ดีที่สุดคือการทดลองทำและประสบการณ์จริงการให้การสนับสนุนมากที่สุดเท่าที่จะทำได้จะช่วยให้ประสบการณ์ของลูกกลายเป็นบทเรียนที่จะช่วยให้พวกเขาใช้ชีวิตต่อไปได้

โชคดีนะ!


2 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
healthline.com, dyscalculia (https://www.healthline.com/health/dyscalculia), December 19, 2019

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป