การจัดการกับการเรียนมหาวิทยาลัยในผู้ที่เป็นโรค Asperger

เผยแพร่ครั้งแรก 28 ส.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
การจัดการกับการเรียนมหาวิทยาลัยในผู้ที่เป็นโรค Asperger

การเรียนมหาวิทยาลัยอาจเป็นเรื่องยาก แต่ก็เป็นรางวัลที่คุ้มค่าสำหรับผู้ที่เป็นโรค Asperger สถานการณ์ของสังคมแบบใหม่ หอพักที่แออัด และงานที่ซับซ้อนอาจทำให้การเรียนมหาวิทยาลัยเป็นสิ่งท้าทาย ในอีกแง่หนึ่ง การมีเพื่อน การเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ และการประสบความสำเร็จทางการศึกษาสามารถทำให้การเรียนมหาวิทยาลัยเป็นเรื่องที่น่าพึงพอใจได้ หากคุณเป็นโรคนี้และกำลังจะเข้ามหาวิทยาลัย คุณอาจจะสงสัยว่าจะจัดการชีวิตของตนเองได้อย่างไร

มหาวิทยาลัยจะทำให้คุณต้องสร้างกิจวัตรใหม่ มีปฏิสัมพันธ์กับคนใหม่ ๆ มากมาย และจัดการกับเรื่องหลากหลายที่อยู่นอกเหนือความควบคุมของคุณ โชคดีที่การเข้ามหาวิทยาลัยไม่ใช่เรื่องที่เป็นไปไม่ได้ ต่อไปนี้เป็นคำแนะนำเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่จะช่วยให้ใช้ชีวิตนักศึกษาได้ง่ายขึ้น

การขอห้องพักเดี่ยว – หากคุณกำลังจะเข้าพักในมหาวิทยาลัย การอาศัยอยู่ในห้องเดี่ยวอาจเป็นประโยชน์ต่อคุณ คุณจะต้องการพื้นที่เงียบสงบสำหรับการอ่านหนังสือและใช้เวลากับตัวเอง ติดต่อหน่วยงานจัดหาห้องพักที่มหาวิทยาลัยของคุณ และแจ้งให้พวกเขาทราบว่าคุณเป็น Asperger และต้องการมีห้องเป็นของตนเอง การกล่าวอย่างตรงไปตรงมาเกี่ยวกับความต้องการของคุณตั้งแต่เริ่มต้นเป็นสิ่งสำคัญ โดยเฉพาะเมื่อเป็นเรื่องเกี่ยวกับสถานที่ที่คุณต้องอาศัยอยู่

เรียนในชั้นเรียนออนไลน์หากเป็นไปได้ – ในตอนนี้มีมหาวิทยาลัยและวิทยาลัยจำนวนมากขึ้นที่มีชั้นเรียนออนไลน์นอกเหนือไปจากชั้นเรียนปกติ หากมหาวิทยาลัยของคุณมีชั้นเรียนดังกล่าว ให้สมัครเรียนไว้บ้างในแต่ละเทอม ชั้นเรียนออนไลน์จะทำให้คุณได้พักจากการมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคม และทำให้คุณได้เรียนรู้อย่างสะดวกในห้องพักของคุณ

ขอเอกสารที่คุณต้องการ – คุณจำเป็นต้องไปที่สำนักงานให้การบริการสำหรับผู้มีความบกพร่องที่มหาวิทยาลัยของคุณก่อนจะเริ่มเรียน เพื่อขอเอกสารสำหรับวิชาเรียนของคุณ คุณอาจต้องเข้ารับการประเมินเนื่องจากเจ้าหน้าที่ที่สำนักงานบริการผู้มีความบกพร่องของมหาวิทยาลัยอาจไม่ค่อยคุ้นเคยกับสิ่งอำนวยความสะดวกที่คุณต้องการ ดังนั้น ก่อนที่คุณจะไปพบพวกเขา การพูดคุยกับครอบครัวหรือนักบำบัดและสร้างรายการสิ่งของที่คุณต้องการเพื่อใช้ในมหาวิทยาลัยก็เป็นความคิดที่ดี

สร้างตารางของคุณก่อนที่จะไปมหาวิทยาลัย – เมื่อคุณรู้ว่าชั้นเรียนของคุณจะเริ่มขึ้นเมื่อไร นั่งลงและวาดตารางงานของคุณเองที่ครอบคลุมถึงทุกอย่างที่คุณจะทำในแต่ละวัน คุณอาจจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนมันนิดหน่อยเมื่อคุณไปเรียน แต่การไปโรงเรียนโดยที่มีแผนการพร้อมอยู่ในหัวก็เป็นเรื่องที่ทำให้รู้สึกสบายใจ การไปมหาวิทยาลัยจะนำความเปลี่ยนแปลงมากมายมาสู่ชีวิตของคุณ และการเปลี่ยนแปลงก็เป็นเรื่องยาก โดยเฉพาะหากคุณเป็น Asperger ดังนั้น การที่คุณพยายามสร้างกิจวัตรตั้งแต่เริ่มแรกของปีการศึกษาจึงเป็นสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับคุณ

หาอาจารย์สอนพิเศษ – บางชั้นเรียนหลักที่คุณต้องเข้าเรียนในสาขาสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาอาจเป็นสิ่งท้าทาย โดยเฉพาะหากต้องมีการเขียนอย่างมาก ดังนั้น คุณอาจต้องการอาจารย์สอนพิเศษเพื่อช่วยคุณ หาอาจารย์ทำงานเป็นพิเศษเกี่ยวกับนักเรียนที่มีปัญหาทางด้านการเรียนรู้ หากอาจารย์พิเศษที่คุณเรียนอยู่ไม่ค่อยให้ความช่วยเหลือในการศึกษาของคุณ ก็ให้หาอาจารย์คนใหม่ การทำงานร่วมกับคนที่เข้าใจในพรสวรรค์และข้อจำกัดของคุณเป็นสิ่งสำคัญ

ติดต่อใกล้ชิดกับครอบครัว – ติดต่อครอบครัวตามเวลาที่กำหนดไว้ในแต่ละวัน การติดต่อกับพวกเขาอย่างสม่ำเสมอจะเป็นเรื่องที่ดีสำหรับคุณ โดยเฉพาะเมื่อมีสถานการณ์ยุ่งยาก หากคุณจะเข้ามหาวิทยาลัยในเมืองเมื่อคุณโตขึ้น ก็ให้หาเวลาร่วมกับครอบครัวอย่างสม่ำเสมอ พวกเขาจะสามารถให้การสนับสนุนคุณในการใช้ชีวิตในมหาวิทยาลัย และเป็นกำลังด้านความมั่นคงให้กับคุณ

คิดถึงข้อแนะนำเหล่านี้ไว้เมื่อคุณกำลังจะเข้าเป็นนักศึกษามหาวิทยาลัย และอย่าลืมมีความสุขกับบทเรียนชีวิตบทใหม่นี้ล่ะ !


2 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Going Through College With High Functioning Autism. Verywell Health. (https://www.verywellhealth.com/going-through-college-with-asperger-syndrome-260485)
Students with Autism Spectrum Disorder in College: Results from a Preliminary Mixed Methods. National Center for Biotechnology Information. (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC4927339/)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป