รับประทานยาคุมซารินย้อนศร ...ทำไงดี?

เผยแพร่ครั้งแรก 1 ม.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 16 มิ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 4 นาที

ยาคุมกำเนิดยี่ห้อซาริน (Zarine) แต่ละแผงจะประกอบด้วยยาทั้งหมด 28 เม็ด

โดยที่ 21 เม็ดแรก (ยาเม็ดสีเหลือง) จะมีตัวยาฮอร์โมน Ethinylestradiol 0.030 mg + Levonorgestrel 0.150 mg เท่ากันทุกเม็ด

และ 7 เม็ดสุดท้าย (ยาเม็ดสีขาว) เป็นเม็ดยาที่ไม่มีฮอร์โมนคุมกำเนิด หรือที่เรียกว่า “เม็ดยาหลอก”

ช่วงที่รับประทานเม็ดยาหลอก จัดเป็น “ช่วงปลอดปลอดฮอร์โมน” ของรอบเดือนค่ะ ซึ่งหลังหยุดเม็ดยาที่เป็นฮอร์โมนประมาณ 2 – 3 วัน ก็จะมีประจำเดือนมา (เป็นช่วงที่รับประทานเม็ดยาหลอกอยู่นั่นเอง) และเมื่อรับประทานยาคุมหมดแผงแล้ว ก็ให้ต่อแผงใหม่ได้เลยในวันรุ่งขึ้น แม้เลือดประจำเดือนจะยังไม่หมดก็ตาม 

ยาคุมซาริน (Zarine) จะรับประทานตามลำดับลูกศรที่อยู่ด้านหลังของแผงยา โดยเริ่มจากเม็ดที่ 1..., 2..., 3... ไปเรื่อย ๆ จนครบเม็ดยาฮอร์โมน 21 เม็ด แล้วต่อด้วยเม็ดยาหลอกในลำดับเม็ดที่ 22..., 23..., 24... ไปจนถึงเม็ดที่ 28 

การรับประทานยาย้อนศร อาจพบได้ใน 3 ลักษณะ ดังนี้

  1. รับประทานผิด แต่เป็นเม็ดยาสีเหลืองเหมือนกัน
  2. รับประทานผิด แต่เป็นเม็ดยาสีขาวเหมือนกัน
  3. รับประทานผิด โดยรับประทานเม็ดสีขาวแทนเม็ดสีเหลือง

1. หากมีการรับประทานยาคุมย้อนศร โดยเป็นเม็ดสีเหลืองเหมือนกัน เช่น...

  • ต้องรับประทานเม็ดที่ 1 แต่กลับไปรับประทานเม็ดที่ 7 แทน
  • ต้องรับประทานเม็ดที่ 8 แต่กลับไปรับประทานเม็ดที่ 14 แทน
  • ต้องรับประทานเม็ดที่ 15 แต่กลับไปรับประทานเม็ดที่ 21 แทน

ยาคุมแบบฮอร์โมนรวมบางยี่ห้อ ผู้ใช้จำเป็นที่จะต้องรับประทานตามลำดับลูกศรอย่างเคร่งครัด เพราะยาแต่ละเม็ดมีระดับฮอร์โมนที่แตกต่างกัน 2 – 3 ระดับ

แต่สำหรับยาคุมยี่ห้อซาริน เนื่องจากเม็ดยาที่มีสีเดียวกันก็จะมีตัวยาเหมือนกันด้วย ดังนั้น ผู้ใช้จะรับประทานยังไงก็ได้ค่ะ ขอแค่ให้ได้รับฮอร์โมนครบ 21 วัน และมีช่วงปลอดฮอร์โมนอีก 7 วัน การที่แนะนำให้รับประทานตามลำดับลูกศร ก็เพื่อให้ง่ายต่อการใช้นั่นเอง

การรับประทานยาคุมซารินย้อนศร โดยที่เป็นเม็ดสีเหลืองเหมือนกัน จึงไม่มีปัญหาค่ะ ไม่ต้องกังวล เพราะอย่างที่บอกไปแล้วว่าตัวยาเม็ดสีเหลืองทุกเม็ดมันเหมือนกันหมด จะรับประทานย้อนศรต่อไปจนหมดแถวนั้น หรือจะกลับไปรับประทานตามลูกศรก็ได้  

ตัวอย่าง

สมมติว่ารับประทานยาหมดแถวแรกแล้ว ต่อไปต้องรับประทานเม็ดที่ 8 แต่กลับไปแกะเม็ดที่ 14 มารับประทานแทน

 

ในวันต่อ ๆ ไปก็รับประทานย้อนศรต่อไปจนหมดแถว

 

หรือเปลี่ยนเป็นรับประทานตามลูกศร ก็ได้

 

 

2. หากมีการรับประทานยาคุมย้อนศร โดยเป็นเม็ดสีขาวเหมือนกัน เช่น...

  • รับประทานเม็ดที่ 28 แทนเม็ดที่ 22

กรณีนี้ก็ไม่มีปัญหาอีกเช่นกันค่ะ เพราะยาเม็ดสีขาวเป็น “เม็ดยาหลอก” ที่ไม่มีฮอร์โมนเหมือนกันทั้ง 7 เม็ด ดังนั้นจะรับประทานย้อนศรต่อไปจนหมดแถวไปเลย หรือกลับมารับประทานตามลูกศรก็ได้ หรือจะไม่รับประทานแล้วแกะทิ้งวันละเม็ดแทน...ก็ยังได้เลยค่ะ  

3. หากมีการรับประทานยาคุมย้อนศร โดยรับประทานยาเม็ดสีขาวแทนยาเม็ดสีเหลือง เช่น...

  • รับประทานเม็ดที่ 22 หรือ 28 แทนเม็ดที่ 1
  • รับประทานยาเม็ดที่ 15 ไปแล้ว วันต่อมาต้องรับประทานเม็ดที่ 16 แต่ไปแกะเม็ดที่ 22 มารับประทานแทน

แบบนี้…ก็ “เป็นเรื่อง” สิคะ! เพราะเท่ากับว่าเราไม่ได้รับประทานเม็ดยาฮอร์โมนตามที่ควรเป็น

วิธีแก้ไขจะเหมือนกรณีที่ลืมรับประทานยาค่ะ ในบทความนี้จะยกตัวอย่างกรณีที่รับประทานผิดไป 1 เม็ด ซึ่งก็เหมือนเราลืมรับประทานเม็ดยาฮอร์โมน 1 วัน

แก้ไขโดยรีบรับประทานยาเม็ดที่ควรต้องใช้ (ถ้าไม่มีการรับประทานผิด) ทันทีที่นึกได้ จากนั้นก็รับประทานต่อไปตามลำดับลูกศร 

ตัวอย่าง

สมมติว่าเริ่มแผงใหม่ ต้องรับประทานเม็ดที่ 1 แต่กลับไปแกะเม็ดที่ 22 มาใช้แทน

 

เมื่อรู้ตัวว่ารับประทานผิดเม็ด ให้รีบรับประทานเม็ดที่ 1 ทันทีที่นึกได้

แล้วรับประทานเม็ดต่อมาตามเวลาปกติ เช่น ถ้านึกได้ตอนเช้า ว่าเมื่อคืนรับประทานยาผิดเม็ด วันนี้จะต้องรับประทานยาทั้งหมด 2 เม็ด ก็คือเม็ดที่ 1 ทันทีที่นึกได้ และเม็ดที่ 2 ตามเวลารับประทานปกติ (หรืออาจต้องรับประทานทีเดียว 2 เม็ดไปเลย หากรู้ตัวช้า แยกเวลาไม่ทันแล้ว)

แล้ววันต่อ ๆ ไปก็รับประทานตามลำดับวันละ 1 เม็ด เช่นเดิมนะคะ

เมื่อรับประทานยาหมดแผงแล้ว วันต่อมาก็ต่อแผงใหม่ได้เลยค่ะ ไม่จำเป็นต้องเว้นว่าง 1 วันทดแทนยาที่รับประทานผิดไป 1 เม็ดก่อนหน้านี้ (หรือจะเว้นว่าง 1 วันก็ได้นะคะ ถ้ามั่นใจว่าจะไม่สับสน)


2 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Birth Control Pill (for Teens). Nemours KidsHealth. (https://kidshealth.org/en/teens/contraception-birth.html)
Can you get pregnant while on the pill: 5 ways it can happen. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/322799)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
อาการก่อนเป็นประจําเดือน
อาการก่อนเป็นประจําเดือน

อย่าด่วนตัดสินว่า ขี้เหวี่ยง ขี้วีน ขี้กังวล ร้องไห้ง่าย คือนิสัยของผู้หญิง แท้ที่จริงอาจมาจากพีเอ็มเอสก็ได้

อ่านเพิ่ม
PMS พีเอมเอส อาการหงุดหงิดขั้นรุนแรง ก่อนที่จะมีประจำเดือน
PMS พีเอมเอส อาการหงุดหงิดขั้นรุนแรง ก่อนที่จะมีประจำเดือน

รู้จัก เข้าใจ และพร้อมรับมือกับทุกอาการพีเอ็มเอส...หนักแค่ไหนก็เอาอยู่

อ่านเพิ่ม