คุณรู้ระดับวิตามินดีของคุณหรือไม่?

ผู้ป่วยโรคเซลิแอค (Celiac disease) จำนวนมากมีการขาดวิตามินที่สำคัญต่อร่างกายตัวนี้
เผยแพร่ครั้งแรก 30 ธ.ค. 2016 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
คุณรู้ระดับวิตามินดีของคุณหรือไม่?

ในผู้ป่วยหลายรายที่เพิ่งได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคเซลิแอค (Celiac Disease) จะพบว่ามีการขาดวิตามินดี ซึ่งเป็นวิตามินที่สำคัญทั้งต่อความแข็งแรงของกระดูก และต่อระบบภูมิคุ้มกันทั้งหมด แต่ภาวะนี้ไม่ได้พบได้เฉพาะในกลุ่มผู้ที่เพิ่งวินิจฉัยโรคเซลิแอคเท่านั้น แต่ยังพบได้มากในผู้ใหญ่หรือเด็กที่เป็นโรคนี้ และรับประทานอาหารที่ไม่มีกลูเตนอย่างเคร่งครัด

ภาวะขาดวิตามินดีพบได้ใน 64% ของผู้ชายและ 71% ของผู้หญิงที่เป็นโรคเซลิแอค ทำให้ภาวะนี้เป็นปัญหาที่พบได้บ่อยในโรคนี้ นอกจากนั้นยังเป็นภาวะที่พบได้ในประชากรทั่วไปด้วยเช่นกัน ในกลุ่มผู้ป่วยโรคเซลิแอคนั้น อาจเกิดจากการไม่สามารถดูดซึมได้หรือการไม่โดนแสงหรือรับประทานไม่พอ ซึ่งถูกกระตุ้นจากอาหารที่ไม่มีกลูเตน เพราะว่าอาหารกลุ่มนี้ส่วนใหญ่นั้นไม่มีการผสมวิตามินหรือแร่ธาตุเพิ่มลงไปเหมือนอาหารทั่วไป

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจแร่ธาตุวิตามินวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 97 บาท ลดสูงสุด 68%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

นอกจากสาเหตุนี้ คุณควรตรวจระดับวิตามินดีในเลือด และหากพบว่าต่ำ ควรปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับการรับประทานวิตามินเสริม

ภาวะการขาดวิตามินดีที่เกี่ยวข้องกับการดูดซึมสารไม่ได้

ผู้ป่วยโรคเซลิแอคที่ยังไม่ได้เริ่มรับประทานอาหารที่ไม่มีกลูเตน และในผู้ป่วยบางคนที่ไม่ได้รับประทานอาหารประเภทนี้อย่างเคร่งครัด จะทำให้ผนังลำไส้ฝ่อตัวจนเกิดการดูดซึมสารอาหารไม่ได้ หมายความว่าคุณไม่ได้รับวิตามินดีและสารอาหารอื่น ๆ จากอาหารและอาหารเสริมที่รับประทานเข้าไป

ภาวการณ์ขาดวิตามินดียังส่งผลให้เกิดการขาดแคลเซียมตามมา เนื่องจากไม่มีปริมาณวิตามินดีที่มากพอที่จะสามารถดูดซึมแคลเซียมในอาหารได้ โดยรวม ๆ กับพบว่าผู้ป่วยโรคเซลิแอคหลายคนหลีกเลี่ยงการรับประทานผลิตภัณฑ์จากนม เนื่องจากเกิดภาวะแพ้แลคโตส (Lactose intolerance) ทำให้รับประทานแคลเซียมน้อย และมีความเสี่ยงต่อการเกิดการขาดแคลเซียมอยู่เดิม

อาการแสดงเช่นกระดูกบางหรือกระดูกพรุน

ผู้ป่วยที่มีการขาดวิตามินดีส่วนใหญ่ไม่มีอาการใด ๆ จึงอาจไม่มีการตรวจพบจนกระทั่งเกิดปัญหา

การขาดวิตามินดีอย่างรุนแรงสามารถทำให้เกิดโรคกระดูก เช่น โรค rickets ในเด็ก และโรค osteomalacia ในผู้ใหญ่ โรค rickets เป็นโรคที่กระดูกไม่พัฒนาอย่างเหมาะสมและทำให้แขนและขาของเด็กโค้ง ส่วนโรค osteomalacia คือการสูญเสียโครงสร้างของกระดูกทำให้เกิดอาการปวดและทำให้กระดูกอ่อนลง

ผู้ป่วยโรคเซลิแอคมีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดโรคกระดูกพรุน ซึ่งเกิดจากการที่กระดูกอ่อนลงซึ่งอาจนำไปสู่การหักได้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจแร่ธาตุวิตามินวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 97 บาท ลดสูงสุด 68%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

การขาดวิตามินดียังทำให้เกิดการปวดกล้ามเนื้อและกล้ามเนื้ออ่อนแรง ซึ่งอาจพบได้บ่อยกว่าปัญหาที่กระดูก แต่ผู้ป่วยโรคเซลิแอค มักมีอาการปวดกล้ามเนื้อและข้อจากการรับประทานอาหารที่มีกลูเตน จึงอาจบอกยากว่าอาการดังกล่าวเกิดจากการรับประทานกลูเตนโดยบังเอิญหรือจากสาเหตุอื่น

การวิจัยที่บอกความเชื่อมโยงของระดับวิตามินดีกับโรคมะเร็งและโรคแพ้ภูมิตนเอง

นักวิจัยทางการแพทย์ได้พบว่ามีความเชื่อมโยงระหว่างระดับวิตามินดีที่ต่ำกับความเสี่ยงของการเกิดโรคที่เพิ่มขึ้น เช่นมะเร็งลำไส้ มะเร็งเต้านม มะเร็งต่อมลูกหมาก ความดันสูง และโรคแพ้ภูมิตนเอง แม้ว่ายังไม่สามารถอธิบายเหตุและผลได้ นอกจากนั้น มีการศึกษาที่แสดงว่าผู้ที่อาศัยอยู่ในบริเวณที่ค่อนไปทางขั้วโลกที่ได้รับแสงแดดน้อย มีความเสี่ยงในการเกิดโรคเบาหวานชนิดที่ 1, multiple sclerosis และโรคข้ออักเสบชนิดรูห์มาติก ถึงแม้จะยังไม่ทราบสาเหตุ แต่แพทย์บางส่วนก็แนะนำให้มีการรับประทานวิตามินดีเสริมในผู้ป่วยกลุ่มนี้

อาจต้องรับประทานวิตามินดีในปริมาณสูงเพื่อทำให้ระดับวิตามินกลับมาปกติ

นักวิทยาศาสตร์ยังไม่มีข้อสรุปเกี่ยวกับระดับวิตามินดีที่เหมาะสม แต่หากมีน้อยกว่า 20 ng/mL จะถือว่าขาด และหากอยู่ระหว่าง 20-29 ng/mL อยู่ในระดับไม่เพียงพอ ผู้เชี่ยวชาญบางคนเชื่อว่าระดับวิตามินดีที่เหมาะสมควรอยู่ระหว่าง 50-60 ng/mL

หากคุณเพิ่งได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคเซลิแอค และมีการตรวจเพิ่มเติมพบว่ามีการขาดวิตามินดี แพทย์อาจแนะนำให้คุณรับประทานวิตามินดีทดแทนในปริมาณมาก เพื่อให้ระดับของวิตามินขึ้นอย่างรวดเร็ว แต่คุณไม่ควรรับประทานยาปริมาณมาก โดยไม่มีการติดตามอย่างใกล้ชิดโดยแพทย์เพราะอาจเกิดการรับประทานวิตามินเกินขนาดได้

วิทยาลัยวิทยาศาสตร์แห่งชาติ (The National Academy of Sciences) ได้กำหนดปริมาณวิตามินดีเสริมที่รับประทานได้มากสุดที่ 2000 IU ต่อวัน แต่อาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ตามงานวิจัย ในปัจจุบันสหรัฐอเมริกาแนะนำปริมาณวิตามินดีที่ควรได้รับในแต่ละวันที่ 400 IU

ทั้งนี้ คุณสามารถรับการตรวจระดับวิตามินได้โดยไม่ผ่านแพทย์ แต่ผ่านทางกลุ่ม Vitamin D council ซึ่งเป็นกลุ่มที่ไม่แสวงหากำไร เน้นเพื่อพัฒนางานวิจัยและเพิ่มการตื่นตัวของประโยชน์จากวิตามินดี แต่ถึงแม้คุณจะเข้ารับการตรวจผ่านองค์กรนี้ คุณก็ยังต้องมีการตรวจติดตามกับแพทย์ก่อนการเริ่มรับประทานวิตามินดีทดแทนในปริมาณมากอยู่ดี

หากโดนแสงแดดมากเพียงพอ จะทำให้มีวิตามินดีที่เพียงพอได้

คุณสามารถเพิ่มระดับวิตามินดีได้ผ่านการรับประทานอาหาร เช่น ปลาที่มีไขมันมาก และผลิตภัณฑ์ที่ทำจากนมที่มีการเสริมวิตามินดี หรือโดยการใช้วิธีให้ตนเองโดนแดด

หากคุณโดนแดดประมาณ 20-30 นาที (หรือนานกว่าหากคุณมีผิวเข้ม) อย่างสม่ำเสมอโดยที่ไม่ได้สวมอะไรปิดบังผิวหนังในช่วงฤดูใบไม้ผลิ ฤดูร้อน และฤดูใบไม้ร่วง จะทำให้คุณสามารถสร้างวิตามินดีได้ในปริมาณที่เพียงพอ อย่างไรก็ตามควรระวังไม่ให้ตากแดดนานเกินไปจนเกิดการเผาผิวหนัง เนื่องจากจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งผิวหนังโดยไม่ได้รับวิตามินดีเพิ่มเติมแต่อย่างใด


5 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Vitamin D Deficiency: Symptoms& Treatment. Cleveland Clinic. (https://my.clevelandclinic.org/health/articles/15050-vitamin-d--vitamin-d-deficiency)
Vitamin D: What’s the “right” level?. Harvard Health. (https://www.health.harvard.edu/blog/vitamin-d-whats-right-level-2016121910893)
Vitamin D Deficiency. MedlinePlus. (https://medlineplus.gov/vitaminddeficiency.html)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)