การเปลี่ยนแปลงสู่วัยหนุ่มสาว – คำตอบสำหรับเด็กหนุ่มขี้สงสัย

เมื่อเราโตขึ้น ร่างกายของเราจะเปลี่ยนแปลงตามไปด้วย เราเรียกภาวะการเจริญเติบโตนี้ว่า “ภาวะการเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์”
เผยแพร่ครั้งแรก 6 มี.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
การเปลี่ยนแปลงสู่วัยหนุ่มสาว – คำตอบสำหรับเด็กหนุ่มขี้สงสัย

ในขณะที่เป็นวัยรุ่น ร่างกายของเราทุกคนมีการเปลี่ยนแปลง ส่วนต่างๆ ของร่างกายเจริญเติบโตขึ้น เราเรียกภาวะเช่นนี้ว่า “ภาวะการก้าวเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์” มาดูข้อมูลเหล่านี้เพื่อเราจะได้รู้จักตัวเองมากขึ้น

เมื่อเราโตขึ้น ร่างกายของเราจะเปลี่ยนแปลงตามไปด้วย เราเรียกภาวะการเจริญเติบโตนี้ว่า “ภาวะการเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์”

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

 ภาวะการเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์เป็นอย่างไร?

ภาวะการเข้าสู่วัยเจริญพีนธุ์คือภาวะที่ร่างกายเปลี่ยนแปลงจากวัยเด็กสู่วัยผู้ใหญ่ จากเด็กผู้ชายกลายเป็นชายหนุ่ม และจากเด็กผู้หญิงกลายเป็นหญิงสาว โดยภาวะดังกล่าวจะเกิดขึ้นอย่างช้าๆ เมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงต่างๆ กับร่างกาย เรามักมีความกังวล ดังนั้น การรู้และเข้าในในสิ่งที่กำลังสงสัยจะช่วยคลายความกังวลได้ เมื่อมีคำถามเกิดขึ้น เราควรปรึกษาพ่อ แม่ ผู้ปกครอง แพทย์ หรือผู้ใหญ่ที่เราไว้ใจ เพื่อขอคำแนะนำต่างๆ

 เกิดอะไรขึ้นกับร่างกายของเราบ้าง?

ในช่วงเข้าสู่วัยหนุ่มสาว ร่างกายของเราทุกคนจะเปลี่ยนแปลงไปตามธรรมชาติ อย่างแรกเลยคือ ผิวหน้าของเราจะมันขึ้นและเริ่มมีสิวตามใบหน้า ต่อมาเสียงของเราก็จะทุ้มลง มีขนขึ้นตามส่วนต่างๆ มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นใบหน้า ใต้วงแขน หน้าอก หรือบริเวณอวัยวะเพศ นอกจากนี้ ขนบริเวณแขนและขาก็จะยาวขึ้นด้วย เมื่อเรามีเหงื่อออกชุ่ม เราจะเริ่มมีกลิ่นตัว โดยเฉพาะบริเวณใต้วงแขน นอกจากนี้ยังพบว่า อวัยวะเพศและอัณฑะจะมีขนาดโตขึ้นด้วย บางครั้งเราอาจรู้สึกว่าอวัยวะเพศโตขึ้นและแข็งตัว เรียกอาการเช่นนี้ว่า “การแข็งตัวขององคชาติ”

 ทำไมช้างน้อยของผมแข็งตัว?

บางครั้งคุณอาจรู้สึกว่าอยู่ๆ อวัยวะเพศก็แข็งตัวขึ้นมาหรือบางครั้งแข็งตัวเมื่อคุณจับหรือมีบางอย่างสัมผัสนวดถู จากนั้นจะเกิดการหลั่งน้ำอสุจิที่เป็นของเหลวข้นไหลออกมาจากองคชาติ และหากเกิดการหลั่งน้ำอสุจิในเวลากลางคืนขณะที่หลับอยู่ อาการเช่นนี้เรียกว่า ฝันเปียก ซึ่งการแข็งตัวขององคชาติ การหลั่งน้ำอสุจิ และการฝันเปียกนั้นถือเป็นเรื่องธรรมชาติ

 การเปลี่ยนแปลงทางด้านอารมณ์ความรู้สึก

ภาวะการเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์อาจส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางด้านอารมณ์ เช่น มีอารมณ์โมโห โกรธ หรือเกี้ยวกราด และอาจมีการเปลี่ยนแปลงทางด้านอารมณ์อื่นๆ ด้วยดังนี้

  • มีอารมณ์แปรปรวน เดี๋ยวอารมณ์ดี เดี๋ยวอารมณ์ร้าย
  • รู้สึกชื่นชมความน่ารักของคนที่ตนชอบ และหลงไหลคลั่งไคล้คนเหล่านั้น
  • ชอบจับช้างน้อยหรือบริเวณสงวน

โดยอาการหรือความรู้สึกเหล่านี้เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ

 ของสงวนคืออะไร?

ความเป็นส่วนตัวหมายถึงการที่คุณอยู่ที่ไหนสักแห่งที่มีความเป็นส่วนตัว เช่น ห้องนอนหรือห้องน้ำ ซึ่งบนร่างกายของคุณเองก็มีพื้นที่ส่วนตัวหรือพื้นที่สงวนเช่นกัน ดังนั้นคุณจึงมีส่วนที่เป็นของสงวนที่อยู่ภายใต้ชุดชั้นในที่สวมใส่อยู่นั่นเอง การเปลี่ยนแปลงต่างๆ ที่เกิดกับร่างกายสู่การเป็นวัยเจริญพันธุ์เกิดกับบริเวณของสงวนซึ่งต้องได้รับการดูแลเป็นพิเศษ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

 จะทำอย่างไรกับของสงวนได้บ้าง?

เป็นเรื่องปกติที่เราจะมีการแตะหรือสัมผัสของสงวนของเราเองเมื่อคุณอยู่คนเดียวในห้องน้ำหรือห้องนอนที่ปิดประตูมิดชิด และการหลั่งน้ำอสุจิหรือการฝันเปียกสามารถเกิดขึ้นได้เช่นกันในพื้นที่ส่วนตัว เราต้องไม่จับหรือสัมผัสอวัยวะเพศในที่สาธารณะหรือสถานที่ที่มีคนอื่นอยู่ด้วย เช่น ห้องเรียน ร้านอาหาร หรือในสนามเด็กเล่น

พ่อ แม่ หรือแพทย์ อาจตรวจเช็คร่างกายของเราบริเวณของสงวนเพื่อให้แน่ใจว่าเรารักษาความสะอาดและเรามีสุขภาพปกติดี ซึ่งคนอื่นๆ ไม่สามารถจับหรือสัมผัสของสงวนของเราได้และเราต้องไม่ไปจับหรือสัมผัสของสงวนของผู้อื่นเช่นกัน หากมีใครสักคนพยายามจับของสงวนจนทำให้เรารู้อึดอัด เราจะต้อง “ปฏิเสธ” และบอกให้พ่อแม่ทราบทันที

เมื่อเราโตเป็นหนุ่มสาวเต็มตัวและพร้อมที่จะมีแฟนแล้ว เราควรปรึกษาพ่อแม่หรือแพทย์เพื่อขอคำแนะนำเกี่ยวกับการมีเพศสัมพันธ์และการมีความสัมพันธ์กับคนรักอย่างปลอดภัย

 ที่มาของข้อมูล http://kidshealth.org/en/teens/autism-puberty-boys.html


10 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Selective mutism. NHS (National Health Service). (https://www.nhs.uk/conditions/selective-mutism/)
Autism: Characteristics, diagnosis, and understanding. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/323758)
Signs and Symptoms of Autism Spectrum Disorders. Centers for Disease Control and Prevention (CDC). (https://www.cdc.gov/ncbddd/autism/signs.html)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)