กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD
ทีมแพทย์ HD
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
ทีมแพทย์ HD

ฟันฝัง คืออะไร อาการเป็นอย่างไร ผ่าฟันฝังคืออะไร ราคาเท่าไร?

ฟันฝัง หนึ่งในปัญหาทางช่องปากที่ไม่ควรมองข้าม เพราะหากปล่อยทิ้งไว้อาจทำให้ปวดฟันรุนแรง และส่งผลต่อฟันข้างเคียงด้วย ทางแก้ไขที่มีประสิทธิภาพคือการผ่าฟันฝัง
เผยแพร่ครั้งแรก 17 ก.ย. 2019 อัปเดตล่าสุด 7 ธ.ค. 2022 ตรวจสอบความถูกต้อง 22 ต.ค. 2019 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
ฟันฝัง คืออะไร อาการเป็นอย่างไร ผ่าฟันฝังคืออะไร ราคาเท่าไร?

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • ฟันฝัง คือฟันที่ขึ้นอย่างปกติ โดยจมอยู่ในกระดูกขากรรไกรบนหรือล่างคล้ายกับฟันคุด ต่างกันที่ฟันฝังจะไม่ชนกับฟันข้างเคียงเหมือนฟันคุด สามารถเกิดได้ทั้งฟันหน้า ฟันเขี้ยว และฟันซี่อื่นๆ
  • ฟันฝังทำให้ปวดฟัน อาจร้าวไปถึงเบ้าตา หู ขมับ ใบหน้า หากปล่อยทิ้งไว้จะส่งผลกระทบหลายประการ เช่น ฟันข้างเคียงเปลี่ยนตำแหน่ง และรากฟันละลาย ถุงหุ้มฟันอาจมีการขยายตัวจนทำให้เกิดเป็นถุงน้ำหรือซีสต์ (Cyst)
  • การรักษาฟันฝังหลักๆ คือผ่าออกแล้วดึงฟันซี่อื่นมาทดแทน หรือจัดฟันเพื่อดึงฟันฝังขึ้นมาใช้ ซึ่งทันตแพทย์จะพิจารณาถึงความเหมาะสมของผู้ป่วยแต่ละรายไป
  • หลังผ่าฟันฝัง ผู้ป่วยส่วนใหญ่มีอาการปวดบวมและมีไข้ต่ำๆ 2-3 วัน สามารถลดบวมได้โดยประคบน้ำแข็งด้านนอกของตำแหน่งที่ปวด หากมีไข้สูงและเลือดไหลไม่หยุดควรไปพบทันตแพทย์
  • ดูแพ็กเกจถอนฟันหรือผ่าฟันคุด

ฟันผุ ฟันคุด เหงือกร่น” คือปัญหาทางช่องปากที่หลายๆ คนคงเคยได้ยินกันบ่อยครั้ง ส่วน “ฟันฝัง” หลายคนอาจยังไม่คุ้นเคยเท่าไรนัก 

อย่างไรก็ตาม ฟันฝังนับเป็นอีกหนึ่งปัญหาที่สร้างความเจ็บปวดให้ผู้เป็นได้ไม่น้อยเลย ฟันฝังคืออะไร มีอาการเป็นอย่างไร แตกต่างจากฟันคุดหรือไม่ ผ่าฟันฝังคืออะไร ราคาเท่าไร เราจะมาไขข้อข้องใจให้ทราบกัน

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจสุขภาพฟันวันนี้ ที่คลินิกใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 0 บาท ลดสูงสุด 100%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

ฟันฝังคืออะไร?

ฟันฝัง คือฟันที่ขึ้นอย่างผิดปกติ โดยจมอยู่ในกระดูกขากรรไกรบนหรือล่าง ไม่สามารถงอกขึ้นมาได้ ลักษณะคล้ายกับฟันคุด แตกต่างกันที่ฟันฝังจะไม่มีส่วนใดส่วนหนึ่งชนกับฟันข้างเคียงเหมือนฟันคุด และส่วนใหญ่ฟันคุดมักเกิดบริเวณฟันกราม ส่วนฟันฝังเกิดได้ทั้งฟันหน้า ฟันเขี้ยว และฟันซี่อื่นๆ 

อาการและผลกระทบของฟันฝังคืออะไร?

หากมีฟันฝังในช่องปาก ผู้ป่วยจะเริ่มมีอาการปวดฟัน บางรายอาจปวดร้าวขึ้นไปถึงบริเวณเบ้าตา หู ขมับ ใบหน้า หรือทำให้ปวดศีรษะได้ และหากปล่อยทิ้งไว้ไม่รักษาจะส่งผลกระทบหลายประการ ดังนี้

  • ทำให้ฟันข้างเคียงเปลี่ยนตำแหน่ง เคลื่อนที่ เก หรือบิดตัวออก 
  • ทำให้รากฟันข้างเคียงละลาย ซึ่งหากละลายถึงโพรงประสาท จะทำให้ปวดฟันอย่างมาก
  • ถุงหุ้มฟันอาจมีการขยายตัว จนทำให้เกิดเป็นถุงน้ำหรือซีสต์ (Cyst) ซีสต์นี้สามารถขยายตัวและเบียดทำลายกระดูกรอบๆ จนหายไปเรื่อยๆ ซึ่งเป็นอันตรายต่อกระดูกขากรรไกร

ผ่าฟันฝัง ทางรักษาที่มีประสิทธิภาพ

วิธีการรักษาฟันฝังหลายรูปแบบ หลักๆ คือผ่าฟันฝังออกแล้วดึงฟันซี่อื่นมาทดแทน หรือจัดฟันเพื่อดึงฟันฝังขึ้นมาใช้ ซึ่งทันตแพทย์จะพิจารณาถึงความเหมาะสมของผู้ป่วยแต่ละรายไป

วิธีที่ทันตแพทย์ส่วนใหญ่ใช้รักษาคือการผ่าฟันฝังออก โดยมีรายละเอียดดังนี้

  • ทันตแพทย์จะเอกซเรย์ช่องปาก เพื่อตรวจสอบตำแหน่งฟันฝัง
  • ทันแพทย์จะฉีดยาชาเฉพาะที่ บริเวณตำแหน่งที่ต้องการผ่าฟันฝัง
  • จากนั้นทันตแพทย์จะเริ่มทำการผ่าตัดในตำแหน่งที่มีฟันฝัง ระยะเวลาการผ่าตัดประมาณ 30 นาทีขึ้นไป ขึ้นอยู่กับความยาก-ง่ายของการผ่า ตำแหน่งของฟันฝัง โดยตลอดเวลาของการผ่าตัด ผู้ป่วยจะรู้สึกถึงแรงดันและการเคลื่อนไหวของอุปกรณ์ภายในช่องปาก แต่จะไม่รู้สึกเจ็บ
  • ในกรณีที่ต้องมีการเย็บแผล ส่วนใหญ่ทันตแพทย์จะใช้ไหมละลาย ซึ่งจะสลายได้เองตามธรรมชาติและช่วยให้ปากแผลสมานภายในระยะเวลา 3-5 วัน

สรุปแล้วฟันฝังใช้เวลาผ่ารักษารวมเวลาฟื้นตัวของบาดแผล 3-5 วัน ถือว่าเป็นวิธีที่ดีหากเทียบกับผลกระทบที่จะตามมาในอนาคตหากปล่อยฟันฝังทิ้งไว้ หากพบว่าตัวเองมีฟันฝังหรือฟันคุดก็ตาม ควรหาสถานที่ให้บริการผ่าฟันฝังหรือฟันคุดออกโดยเร็ว

อาการข้างเคียงหลังจากผ่าฟันฝัง

หลังผ่าฟันฝัง ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักมีอาการปวดบวมและมีไข้ต่ำๆ ประมาณ 2-3 วันแรก โดยสามารถลดอาการบวมได้โดยใช้เจลเย็นหรือประคบน้ำแข็งบริเวณด้านนอกของตำแหน่งที่ปวด หากผู้ป่วยมีไข้สูงมากและเลือดไหลไม่หยุด ถือเป็นอาการที่ผิดปกติ ควรรีบไปพบทันตแพทย์

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

นอกจากนี้ ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการเจ็บแปลบๆ หรือชาที่ใบหน้า ริมฝีปาก หรือลิ้น ซึ่งอาจเกิดจากบริเวณปลายประสาทถูกกระทบกระเทือน แต่เป็นอาการที่เกิดได้น้อยมาก

การปฏิบัติตัวหลังจากผ่าฟันฝัง

  • หลังจากการผ่าตัดทันตแพทย์จะให้ผู้ป่วยกัดผ้ากอซไว้ประมาณ 1-2 ชั่วโมง วิธีนี้จะช่วยให้เลือดหยุดไหลและช่วยให้แผลสมานเร็วขึ้น แต่หากมีเลือดไหลออกมาอีกให้วางผ้าก๊อซแผ่นใหม่ลงบนแผลอีกครั้งแล้วกัดต่ออีก 1 ชั่วโมง โดยขณะที่กัดผ้าก๊อซไม่ควรบ้วนน้ำลายและเลือด เพราะอาจทำให้เลือดหยุดไหลช้าลง แนะนำให้กลืนน้ำลายและเลือดแทน 
  • หลังผ่าฟันฝังสามารถบ้วนปากหลังจากผ่าน 24 ชั่วโมงแรก และแปรงฟันได้ แต่ควรแปรงบริเวณแผลอย่างระมัดระวัง และไม่ควรกลั้วปากแรง
    กรณีที่มีการบ้วนปากในวันแรก อาจส่งผลให้ลิ่มเลือดที่ร่างกายสร้างขึ้นมาช่วยในการห้ามเลือดหลุดออกไป
  • การบ้วนปากควรใช้น้ำเกลือ (น้ำ 1 แก้ว ผสมเกลือ 1 ช้อนชา) หรือบ้วนปากด้วยน้ำยาบ้วนปาก ที่ทันตแพทย์จ่ายให้เท่านั้น
  • ต้องรับประทานยาปฏิชีวนะตามที่ทันตแพทย์จ่ายให้จนครบ ส่วนยาแก้ปวดให้รับประทานเฉพาะเวลาที่ปวด ส่วนปริมาณตามที่ระบุไว้ในฉลากยา
  • ห้ามแคะหรือดูดบริเวณแผลผ่าตัด
  • ห้ามดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ห้ามสูบบุหรี่ และควรรับประทานอาหารอ่อนเท่านั้น ห้ามรับประทานอาหารเผ็ดจัดหรือร้อนจัดจนกว่าแผลจะหายดี

ผ่าฟันฝังราคาเท่าไร?

ผู้ป่วยสามารถเข้ารับการผ่าฟันฝังได้ที่โรงพยาบาลรัฐ โรงพยาบาลเอกชน รวมทั้งคลินิกชั้นนำทั่วไป โดยค่าใช้จ่ายในการผ่าฟันฝังเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 1,500 บาทขึ้นไป สำหรับผู้ที่มีประกันสังคมสามารถใช้สิทธิ์เบิกค่าทำฟันได้ตามที่ระบุในกฎหมาย โดยให้ผู้ประกันตนมีสิทธิ์ได้รับค่าบริการทางการแพทย์เท่าที่จ่ายจริงตามความจำเป็น แต่ไม่เกิน 900 บาทต่อปี

ฟันฝัง แม้จะไม่ใช่โรคทางช่องปากที่ร้ายแรง แต่หากปล่อยทิ้งไว้อาจสร้างความเจ็บปวดให้ผู้ป่วยอย่างมาก ทั้งยังอาจส่งผลกระทบต่อฟันข้างเคียงอีกด้วย ดังนั้นถ้าใครที่มีปัญหาฟันฝังควรรีบไปพบทันตแพทย์เพื่อวางแผนรักษาอย่างเหมาะสม

บทความที่เกี่ยวข้อง

รีวิว ผ่าฟันฝัง ที่ ทันตกรรมตรงข้ามพาต้า เจ็บไหม? เช็กเลย | HDmall
รีวิว ถอนฟันคุด ที่ Deezy Dental Home สาขาเมืองเอกรังสิต | HDmall
รีวิวถอนฟันคุด ที่ Deezy Dental Home | HDmall

ดูแพ็กเกจถอนฟันหรือผ่าฟันคุด เปรียบเทียบราคา โปรโมชั่นล่าสุดจากโรงพยาบาลและคลินิกชั้นนำได้ที่นี่ หรือไม่พลาดทุกการอัปเดตแพ็กเกจเหล่านี้ เมื่อกดเป็นเพื่อนทางไลน์ @hdcoth และกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


6 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Kinaia BM, Agarwal K, Bushong B, Kapoor N, Hope K, Ambrosio F, et al. Surgical Management of Impacted Canines: A Literature Review and Case Presentations. J Dent Oral Biol. 2016; 1(3): 1012.
Charles A, Duraiswamy S, Krishnaraj R, Jacob S. Surgical and orthodontic management of impacted maxillary canines . SRM J Res Dent Sci 2012;3:198-203
Tangmankongworakoon T, Wongsirichat N. Buccal approach in surgical removal of lingually embedded teeth: A report of 2 cases. M Dent J 2016; 36: 343-348.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
5 อาหารที่น่าตกใจสำหรับการมีสุขภาพฟันที่ดี
5 อาหารที่น่าตกใจสำหรับการมีสุขภาพฟันที่ดี

อาหารที่สามารส่งเสริมสุขภาพของช่องปากได้อย่างน่ามหัศจรรย์

อ่านเพิ่ม