กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

เหตุผลที่ควรลาป่วย

ทำไมคนเราถึงควรลาป่วย แล้วนอกจากลาป่วย มีทางเลือกอื่นอะไรอีกบ้าง
เผยแพร่ครั้งแรก 23 ก.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 4 ม.ค. 2021 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
เหตุผลที่ควรลาป่วย

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • การลาป่วย เป็นสิทธิ์ที่พนักงานทุกคนในองค์กรใช้ได้ ภายใต้เงื่อนไข และระยะเวลาการลาที่แตกต่างกันไปแล้วแต่บริษัท เพียงแต่ไม่ค่อยมีใครกล้าใช้นัก เพราะกลัวถูกเพ่งเล็ง หรือถูกตำหนิ 
  • การลาป่วยสามารถใช้ได้เมื่อคุณมีอาการเจ็บป่วยทางกาย และทางจิตใจด้วย เช่น อาการวิตกกังวล เครียด ซึมเศร้า 
  • การลาป่วยจะช่วยลดโอกาสการแพร่เชื้อในกรณีที่คุณป่วยเป็นโรคติดต่อไปสู่พนักงาน หรือผู้ที่คุณต้องติดต่องานด้วย
  • นอกจากการลาป่วย คุณอาจลองคิดถึงทางเลือกอื่นหากไม่สะดวกจะเข้าบริษัททุกวันได้ เช่น การทำงานอยู่บ้าน การเข้าบริษัทวันเว้นวัน หรือตามการตกลงระหว่างคุณกับหัวหน้างาน
  • เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจสุขภาพทั่วไป

ถึงแม้การลาป่วยจะเป็นสิทธิ์ที่พนักงานทุกคนสามารถใช้ได้ ตามแต่เงื่อนไข และจำนวนวันที่สามารถลาได้ในแต่ละบริษัท แต่หลายคนก็ยังอึดอัดใจที่จะใช้ เนื่องจากอาจถูกมองว่า ขี้เกียจ ไม่ขยัน และไม่ได้ต้องการให้องค์กรที่ทำงานอยู่ก้าวหน้ามากที่สุด 

แต่ความจริงแล้วการลาป่วยนั้นก็เป็นสิ่งจำเป็น และเราทุกคนก็มีเหตุผลที่สามารถลาป่วยได้ เพียงแต่มักจะไม่กล้าตัดสินใช้สิทธิ์นี้กันเท่านั้น เพราะกลัวจะถูกเพ่งเล็ง และกลัวถูกไล่ออก หรืออาจถูกเพื่อนร่วมงานมองในทางที่ไม่ดี

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

เหตุผลที่คุณสามารถใช้ในการลาป่วยได้ และไม่ควรรู้สึกผิดที่ต้องใช้มัน ได้แก่

1. กำลังป่วย

สภาพร่างกายที่ไม่พร้อมจากอาการป่วยย่อมทำให้คุณไม่สามารถทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ นอกจากนี้หากคุณป่วยเป็นโรคติดต่อ ก็มีความเสี่ยงที่คุณจะนำเชื้อไปติดกับเพื่อนร่วมงาน หรือลูกค้าได้ 

นอกจากนี้การฝืนร่างกายไปทำงาน ยังจะทำให้อาการป่วยของคุณทรุดหนักลง และต้องใช้ระยะเวลานานกว่าเดิมกว่าสภาพร่างกายจะกลับมาแข็งแรง พร้อมสำหรับการทำงานด้วย คุณจึงควรหยุดพักผ่อนเพื่อให้อาการป่วยหายดี หรือเพื่อไปพบแพทย์เพื่อหาทางรักษาอาการป่วยอย่างเหมาะสม

2. กำลังเครียด

เพราะอาการป่วยไม่ได้มีแค่ร่างกายเท่านั้น แต่อาการป่วยทางจิตใจ ไม่ว่าจะเป็นความเครียด ความวิตกกังวล ความเศร้า หรือความผิดหวังจากการทำงาน หรือเกิดเหตุสูญเสียคนสำคัญอย่างกะทันหัน ก็ล้วนมีส่วนทำให้คุณไม่สามารถทำงานได้อย่างเต็มที่ด้วย

ดังนั้นหากคุณลาป่วยเพื่อให้จิตใจได้พักผ่อน และอยู่ห่างจากหน้าจอ หรือแชทของทางออฟฟิศสักพัก ก็เป็นไอเดียที่ไม่เลวนัก และยังทำให้คุณได้คิดทบทวนหาวิธีรับมือกับภาวะทางจิตใจเหล่านี้ได้อย่างเหมาะสมด้วย 

ทางออกนอกจากการลาป่วย

หากคุณไม่สะดวกใจที่จะลาป่วย คุณอาจลองปรึกษากับหัวหน้างาน หรือทางเจ้านายที่คุณทำงานให้ว่า สามารถทำงานที่บ้านแทนการมาเข้าออฟฟิศได้หรือไม่ หรืออาจขอลดวันในการเข้าออฟฟิศเพื่อไปหาที่นั่งทำงานที่อื่นที่คุณสะดวกกว่า 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

เพราะอาการป่วย และโรคบางอย่างที่ต้องไปพบแพทย์ตามนัดบ่อยๆ หรือการออกไปพบปะผู้คน และเผชิญสภาพแวดล้อมนอกบ้านเป็นความเสี่ยงทำให้อาการของโรคทรุดหนักลง จึงทำให้พนักงานหลายคนไม่สะดวกที่จะเข้าออฟฟิศทุกวันได้

อีกทั้งในปัจจุบันด้วยเทคโนโลยีการสื่อสารที่ทันสมัย การมาเข้าออฟฟิศเพื่อทำงานทุกวันจึงไม่ได้มีความจำเป็นในหลายๆ ตำแหน่ง และหลายๆ อาชีพ คุณอาจต่อรองขอมาเข้าออฟฟิศในวันที่ต้องประชุม หรือพูดคุยประสานงานกับพนักงานคนอื่น 

หรืออีกแนวทางหนึ่งก็คือ คุณขอลาหยุดโดยไม่รับเงินเดือน ซึ่งหมายถึงการหยุดทำงานชั่วคราวโดยไม่มีการจ่ายค่าจ้าง ข้อดีก็คือ คุณไม่จำเป็นต้องอึดอัดใจเกี่ยวกับการลาป่วยอีก และสามารถทำกิจกรรมอื่นๆ ได้นอกจากการพักผ่อน หรือไปพบแพทย์เพื่อให้ร่างกาย และจิตใจหายดีด้วย

คุณอาจไปพักผ่อนสูดอากาศที่ต่างจังหวัด หรือหางานอดิเรกทำสักพัก เพื่อให้จิตใจผ่อนคลาย และให้ร่างกายได้พักผ่อนอย่างเต็มที่ก่อนจะกลับมาทำงานอย่างเต็มประสิทธิภาพอีกครั้ง

การเตรียมพร้อมก่อนลาป่วย

เพื่อไม่ให้การลาป่วยส่งผลกระทบต่อการทำงานร่วมกับผู้อื่น คุณควรแจ้งหัวหน้างาน และเพื่อนร่วมงานที่เกี่ยวข้องไว้ว่า คุณลาป่วย และให้ช่องทางติดต่อ หากมีเหตุฉุกเฉิน หรือจำเป็นต้องปรึกษางานด้วยจริงๆ 

การลาป่วยเป็นสิทธิ์ที่พนักงานทุกคนสามารถใช้ได้ หากคุณคิดว่า สภาพร่างกาย และจิตใจของตนเองไม่ไหวจริงๆ ก็ควรใช้สิทธิ์ลาหยุดเพื่อให้ตนเองได้พักผ่อน และได้กลับมาทำงานอย่างเต็มที่ได้อีกครั้ง 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

อีกทั้งทุกๆ องค์กรควรอำนวยความสะดวก และสร้างความสบายใจให้กับพนักงานว่า สิทธิ์การลาป่วยเป็นสิทธิ์ที่ทุกคนสามารถใช้ได้ ด้วยเหตุผลที่สมควร และเหมาะสม 

นอกจากนี้ผู้ที่เป็นผู้บริหาร หรือหัวหน้างานก็ควรปฏิบัติตนให้พนักงานคนอื่นรู้สึกว่า การลาป่วยไม่ใช่ความเสี่ยงทำให้ถูกไล่ออก หรือโดนต่อว่าได้ แต่เป็นการลาหยุดเพราะเหตุผลด้านสุขภาพ 

เพราะในหลายๆ องค์กร ผู้ที่ลาป่วยมักถูกปฏิบัติเหมือนกับผู้ที่กระทำผิด จะต้องถูกเพ่งเล็ง และเสี่ยงได้รับคำตำหนิด้วย จึงทำให้พนักงานหลายคนไม่สบายใจ และหลีกเลี่ยงที่จะลาป่วย ทั้งๆ ที่มีปัญหาด้านสุขภาพ

เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจสุขภาพทั่วไป จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


5 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
When Should You Stay Home With a Cold?. Everyday Health. (https://www.everydayhealth.com/hs/cold-flu-guide/when-to-stay-home-with-a-cold/)
Cold Symptoms: When Should You Stay Home? - Cold and Flu. Everyday Health. (https://www.everydayhealth.com/colds/stay-home.aspx)
Why You Should Never Hesitate to Take a Mental Health Day. Healthline. (https://www.healthline.com/health/mental-health/how-to-take-a-mental-health-day)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป