ทำไมประสาทรับรสของเราถึงเปลี่ยนไป?

เผยแพร่ครั้งแรก 26 มิ.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
ทำไมประสาทรับรสของเราถึงเปลี่ยนไป?

เมื่อเวลาคุณทานอาหาร มีประสาทสัมผัสสองชนิดเข้ามาเกี่ยวข้อง ต่อมรับรสจะทำให้คุณรู้รสชาติของอาหาร ซึ่งมีรสชาติหลักๆ คือ รสหวาน รสเค็ม รสเปรี้ยว และรสขม ในเวลาเดียวกัน ประสาทสัมผัสด้านการได้กลิ่นก็จะทำให้คุณเพลิดเพลินกับกลิ่นของอาหาร หากประสาทสัมผัสใดประสาทสัมผัสหนึ่งทำงานผิดปกติ มันก็จะทำให้การรับรสเปลี่ยนไป ซึ่งมีหลายปัจจัยที่ทำให้เกิดปัญหาดังกล่าว เราลองมาดูกันดีกว่าว่ามันสามารถเกิดจากอะไรได้บ้าง

1.อายุ

เมื่อคุณอายุมากขึ้น คุณสามารถสังเกตได้ว่าการรับรสของตัวเองเปลี่ยนไป ต่อมรับรสของผู้หญิงและผู้ชายบางคนเริ่มเสื่อมสภาพเมื่ออายุอยู่ในช่วง 40 ปี และ 50 ปี ตามลำดับ อย่างไรก็ดี ต่อมรับรสของคุณอาจหดลง และมีความไวต่อสิ่งกระตุ้นลดลง ซึ่งต่อมที่รับรสเค็มและรสหวานมีแนวโน้มที่จะเสื่อมก่อนเป็นอันดับแรกๆ นอกจากนี้ประสาทสัมผัสด้านการดมกลิ่นก็จะทำงานแย่ลงเช่นกัน ซึ่งมันจะทำงานได้ดีที่สุดเมื่อคุณมีอายุ 30-60 ปี  อย่างไรก็ตาม คุณไม่สามารถแก้ปัญหาประสาทรับรสเสื่อมสภาพที่เกิดจากอายุ แต่คุณก็อย่าเพิ่งคาดเดาว่าปัญหาเกิดจากอายุเสมอไป ทางที่ดีคุณควรไปพบแพทย์เพื่อหาสาเหตุที่แน่ชัด

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

2.ยา

ยาที่แพทย์สั่งจ่ายให้คุณก็สามารถส่งผลต่อต่อมรับรส หรือมันสามารถผสมกับสารเคมีในน้ำลาย ทำให้ประสาทสัมผัสด้านการรับรสหรือการดมกลิ่นเปลี่ยนไปหลังจากที่คุณทานยา จึงไม่แปลกที่คุณจะรู้สึกว่าอาหารที่ชอบทานกลับไม่อร่อยอย่างเคย

3.ACE INHIBITORS

ในบางครั้งยาชนิดนี้ และยาที่เกี่ยวกับความดันโลหิตก็สามารถทำให้ร่างกายไวต่อรสชาติน้อยลง หรือทำให้คุณรู้สึกได้ถึงรสเหล็ก รสขม หรือรสหวานในปาก ทั้งนี้ยารักษาโรคซึมเศร้า ยาต้านฮีสตามีน หรือยาชนิดอื่นๆ สามารถทำให้ปากแห้ง หรือทำให้ต่อมรับรสตรวจจับรสชาติของอาหารไม่ได้

4.เบตา-บล็อคเกอร์

ยารักษาโรคหัวใจประเภทนี้สามารถไปขัดขวางการทำงานของประสาทสัมผัสด้านการลิ้มรสและประสาทสัมผัสด้านการดมกลิ่น หากยาคือปัญหา แพทย์ก็อาจเปลี่ยนยาให้คุณ

5.การเจ็บป่วย

การรับรสของคุณสามารถได้รับผลกระทบถ้ามีสิ่งเหล่านี้

  • การติดเชื้อเกิดขึ้นในจมูก คอ หรือไซนัส
  • มีการบาดเจ็บที่ศีรษะ ซึ่งอาจส่งผลต่อเส้นประสาทที่เกี่ยวข้องกับการรับรสและการดมกลิ่น
  • มีติ่งเนื้อหรือเนื้องอกที่ขัดขวางทางเดินหายใจ
  • การมีฝี หรือปัญหาที่เกี่ยวกับฟัน ซึ่งสามารถปล่อยสิ่งที่มีกลิ่นไม่พึงประสงค์ออกมาในปาก

การมีประสาทด้านการรับรสหรือได้กลิ่นเปลี่ยนไปสำหรับบางคน ก็สามารถเป็นสัญญาณเบื้องต้นของโรคอัลไซเมอร์หรือโรคพาร์กินสัน

6.วิธีรักษาโรคมะเร็ง

หากคุณกำลังอยู่ในช่วงรักษาโรคมะเร็ง ประสาทสัมผัสด้านการรับรสจะเสียไปเพราะ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

  • การทำเคมีบำบัด: ส่งผลต่อการรับรสของผู้ป่วยประมาณครึ่งหนึ่ง
  • ยาชนิดอื่นๆ: ยาปฏิชีวนะ ยามอร์ฟีน หรือยาโอปิออยด์ สามารถทำให้การรับรสเปลี่ยนไป
  • การฉายแสง: สามารถทำร้ายต่อมรับรส และต่อมชนิดอื่นๆ ที่สร้างน้ำลาย นอกจากนี้มันยังส่งผลต่อประสาทสัมผัสด้านการดมกลิ่นอีกด้วย คุณอาจสังเกตว่าอาหารบางชนิดมีรสชาติเปลี่ยนไปจากเดิม ไม่มีรสชาติ รสชาติเหมือนกันหมด หรือรู้สึกได้ถึงรสชาติของเหล็กภายในปาก โดยเฉพาะหลังจากที่คุณทานเนื้อหรือโปรตีนชนิดอื่นๆ

หากคุณมีอาการดังกล่าว คุณก็ควรไปพบแพทย์ ซึ่งเขาจะช่วยหาทางบรรเทาผลข้างเคียง หลังจากการทำทรีทเมนต์สิ้นสุดลง การรับรสก็จะค่อยๆ กลับมา โดยมากแล้วใช้เวลาประมาณ 1 เดือน

7.สูบบุหรี่

การสูบบุหรี่ทำให้เกิดมลพิษ ซึ่งมันจะทำให้คุณไม่สามารถระบุกลิ่น และทำให้ความสามารถในการรับรสเสียไป หากคุณเลิกบุหรี่ได้ ประสาทสัมผัสด้านการรับรสและด้านการดมกลิ่นก็จะดีขึ้น

จากที่กล่าวไปจะเห็นได้ว่า มีหลายสาเหตุที่ทำให้ประสาทรับรสชาติของเราเปลี่ยนไป โดยเกิดจากปัจจัยที่หลีกเลี่ยงได้และหลีกเลี่ยงไม่ได้ ซึ่งการไปพบแพทย์ก็จะช่วยให้คุณรู้สาเหตุที่แน่ชัดและหาวิธีรักษาได้อย่างเหมาะสมค่ะ

ที่มา: https://www.webmd.com/oral-health/.....


2 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Aging changes in the senses. MedlinePlus. (https://medlineplus.gov/ency/article/004013.htm)
How our senses change with age. Harvard Health. (https://www.health.harvard.edu/aging/how-our-senses-change-with-age)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
สัญญาณเตือนแรกเกี่ยวกับโรคมะเร็งที่คุณควรรู้
สัญญาณเตือนแรกเกี่ยวกับโรคมะเร็งที่คุณควรรู้

คู่มือทำความเข้าใจโรคมะเร็งหลายชนิดและอาการของโรคมะเร็ง

อ่านเพิ่ม