กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD
ทีมแพทย์ HD
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
ทีมแพทย์ HD

คุณแม่ตั้งครรภ์มีอาการแสบร้อนกลางอก กินยาอะไรถึงจะไม่เป็นอันตราย

เผยแพร่ครั้งแรก 17 ก.พ. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 20 ก.พ. 2019 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
คุณแม่ตั้งครรภ์มีอาการแสบร้อนกลางอก กินยาอะไรถึงจะไม่เป็นอันตราย

คุณแม่ตั้งครรภ์มักมีอาการแสบร้อนกลางอก ซึ่งอาจเรียกว่าอาการอาหารไม่ย่อย หรืออาการกรดไหลย้อน ซึ่งเป็นอาการปกติที่พบในคนท้อง สามารถเกิดขึ้นได้ตลอดระยะเวลาการตั้งครรภ์

โดยมักมีอาการมากขึ้นเมื่อครรภ์เข้าสู่ไตรมาสท้ายๆ เนื่องจากฮอร์โมนระหว่างตั้งครรภ์ส่งผลให้ระบบย่อยอาหารทำงานช้าลง รวมถึงขนาดของมดลูกที่ขยายใหญ่ขึ้นกดเบียดกระเพาะอาหารทำให้กรดและอาหารในกระเพาะไหลย้อนขึ้นมาที่หลอดอาหารได้ แต่อาการจะดีขึ้นเมื่อคลอดทารกออกมาแล้ว

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ฝากครรภ์ คลอดบุตรวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 79 บาท ลดสูงสุด 65%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

อาการเหล่านี้โดยปกติแล้วไม่เป็นอันตรายใดๆ แต่อาจทำให้คุณแม่รู้สึกอึดอัดไม่สบายตัว โชคดีที่สามารถรักษาให้หายได้ด้วยการกินยาลดกรด แต่ควรปรึกษาแพทย์ หรือเภสัชกรก่อนใช้ยา ควบคู่ไปกับระมัดระวังเรื่องอาหารการกิน รวมถึงเน้นการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมวิถีการดำเนินชีวิต ลดอาหารมัน แอลกอฮอลล์ การนอนทันทีหลังทานอาหาร

ยาที่แนะนำที่สุดสำหรับโรคกรดไหลย้อนในระหว่างตั้งครรภ์คือ “ยาลดกรด” ยาลดกรดบางชนิดมีส่วนประกอบของอะลูมิเนียม เช่น อะลูมิเนียมไฮดรอกไซด์ อะลูมิเนียมคาร์บอเนต ยาเหล่านี้ถือว่าปลอดภัยเมื่อใช้เป็นครั้งคราวในปริมาณที่แพทย์แนะนำ แต่อาจไม่ใช่ตัวเลือกที่ดีที่สุดสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ เนื่องจากอะลูมิเนียมสามารถทำให้เกิดอาการท้องผูก และเป็นพิษต่อหัวใจลูกในครรภ์
ได้หากใช้ในปริมาณมาก

คุณแม่ตั้งครรภ์ยังควรหลีกเลี่ยงการใช้ยาลดกรดที่มีส่วนประกอบของโซเดียมไบคาร์บอเนต (เบกกิ้งโซดา) และโซเดียมซิเตรต ซึ่งมักอยู่ในรูปแบบยาเม็ด เนื่องจากยานี้มีปริมาณโซเดียมสูง ส่งผลให้เกิดการกักเก็บน้ำ โดยเฉพาะคุณแม่ที่มีอาการบวมน้ำจนสวมแหวนไม่ได้ หรือข้อเท้าบวม

ยาลดกรดสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์มีอยู่ 2 ชนิด ได้แก่

  • ยาลดกรดทำจากแคลเซียมคาร์บอเนต (บางครั้งอาจมีการระบุสั้นๆ บนฉลากยาว่า “แคลเซียม”) มักมาในรูปแบบเคี้ยว ใช้ได้สะดวก รวดเร็ว พกพาง่าย บางยี่ห้อมีการทำรสให้อร่อยอีกด้วย
  • ยาลดกรดที่มีแมกนีเซียมไฮดรอกไซด์หรือแมกนีเซียมออกไซด์เป็นส่วนประกอบ มักอยู่ในรูปแบบยาเม็ดหรือยาน้ำ

ยาลดกรด 2 ชนิดนี้จะปรับให้กรดในกระเพาะมีฤทธิ์เป็นกลาง เมื่อกลืนยาชนิดนี้แล้วควรดื่มน้ำตามให้น้อยที่สุด เพราะน้ำจะกระตุ้นให้กระเพาะอาหารสร้างกรดเพิ่มอีก  ทั้งนี้ยาลดกรดแบบเคี้ยวและแบบยาน้ำจะทำงานได้เร็วกว่ายาเม็ดแบบกลืนมาก เพราะตัวยาละลายแล้ว พร้อมออกฤทธิ์ลดกรด

อย่างไรก็ตาม ยาลดกรดที่มีแคลเซียมอาจทำให้เกิดอาการท้องผูก ส่วนยาลดกรดที่มีแมกนีเซียมก็อาจทำให้เกิดอาการท้องเสีย ดังนั้นเพือหลีกเลี่ยงผลข้างเคียงดังกล่าวอาจเลือกรับประทานยาที่มีส่วนผสมของตัวยาทั้งสองชนิดอยู่ด้วยกัน

หากพบว่าตัวเองมีอาการกรดไหลย้อนมากกว่าปกติ คุณแม่ควรพบแพทย์เพื่อขอรับยาหรือคำแนะนำเกี่ยวกับการใช้ยาเพื่อการรักษาอย่างได้ผล บางคนอาจได้รับ “ยาลดการหลั่งกรด (Acid reducer)” เพื่อยับยั้งไม่ให้กระเพาะอาหารหลั่งกรดออกมา แต่ยาลดการหลั่งกรดจะไม่ทำปฏิกิริยากับกรดที่กระเพาะหลั่งออกมาก่อนแล้ว ดังนั้นจึงควรกินยาชนิดนี้ก่อนรับประทานอาหาร

ยาลดภาวะการหลั่งกรดบางชนิดมีจำหน่ายตามร้านขายยาทั่วไป และบางชนิดจำเป็นต้องมีใบสั่งยาจากแพทย์ถึงจะซื้อได้ ในปัจจุบันยาเหล่านี้ถือว่าปลอดภัยสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ แม้อายุครรภ์ยังไม่ถึง 3 เดือนก็สามารถใช้ได้ อย่างไรก็ตาม คุณแม่ตั้งครรภ์จำเป็นต้องปรึกษาแพทย์ก่อนใช้ยาใดๆ เพื่อพิจารณาถึงความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นอย่างถี่ถ้วน


4 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
ZhenLiu et al., The effects of lead and aluminum exposure on congenital heart disease and the mechanism of oxidative stress (https://www.sciencedirect.com/science/article/pii/S0890623818300716?via%3Dihub), 19 February 2019
Understanding How Antacids Work (https://reverehealth.com/live-...), 20 February 2019
Nugent CC1 and Terrell JM2, H2 Blockers. (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/30252250), 19 February 2019

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
ทารกมีอัตราการเต้นของหัวใจช้า อันตรายหรือไม่
ทารกมีอัตราการเต้นของหัวใจช้า อันตรายหรือไม่

เรื่องง่ายๆ ที่คุณแม่ทุกคนต้องใส่ใจเพราะอัตราการเต้นของหัวใจสัมพันธ์กับความปลอดภัยของลูกน้อย

อ่านเพิ่ม
อะไรคือสัญญาณการฉีกขาดในภาวะตั้งครรภ์นอกมดลูก?
อะไรคือสัญญาณการฉีกขาดในภาวะตั้งครรภ์นอกมดลูก?

เรียนรู้สัญญาณการตั้งครรภ์นอกมดลูกก่อนที่มันจะฉีกขาด

อ่านเพิ่ม
ทำความเข้าใจกับภาวะตั้งครรภ์ที่ไข่ที่ปฏิสนธิไม่ฝังตัว (Chemical Pregnancy) ใช่หรือไม่ใช่?
ทำความเข้าใจกับภาวะตั้งครรภ์ที่ไข่ที่ปฏิสนธิไม่ฝังตัว (Chemical Pregnancy) ใช่หรือไม่ใช่?

การตั้งครรภ์ที่เร็วเกินไปที่จะยืนยันด้วยวิธีการทางชีวเคมี

อ่านเพิ่ม