เมื่อคุณแม่ล้มป่วยแล้วยังควรให้ลูกกินนมแม่ต่อไหม?

ไขข้อสงสัยสำหรับคุณแม่ เมื่อมีอาการป่วยควรทำอย่างไรหากต้องให้นมลูก
เผยแพร่ครั้งแรก 5 ก.พ. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 5 เม.ย. 2019 เวลาอ่านประมาณ 1 นาที
เมื่อคุณแม่ล้มป่วยแล้วยังควรให้ลูกกินนมแม่ต่อไหม?

คุณแม่หลายคนที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่นั้น บางครั้งอาจจะเจ็บป่วย ซึ่งคุณพ่อคุณแม่หลายคนก็อาจจะรู้สึกไม่สบายใจ กลัวว่าลูกจะติดเชื้อไปด้วยถ้าให้ลูกกินนมแม่ ทำให้เวลาที่แม่ล้มป่วยจึงหยุดให้นมแม่กับลูก แต่ความจริงแล้วการให้นมแม่กับลูกนั้น คุณแม่สามารถให้ลูกกินนมได้ตลอด แต่จะเหตุผลเดียวเท่านั้นที่คุณแม่ห้ามให้ลูกกินนมแม่

เมื่อแม่ป่วยแล้วลูกมากินนมแม่ ลูกจะป่วยตามแม่ไปด้วยไหม?

คุณแม่หลายคนกังวล กลัวว่าตอนที่เราป่วยนั้น เมื่อลูกเข้าใกล้เราจะทำให้เชื้อโรคไปหาลูกด้วย แต่ความจริงคือ เชื้อโรคที่ทำให้เราป่วยนั้น มันมีอยู่ภายในตัวของเราตั้งแต่ก่อนจะแสดงอาการแล้ว แต่ที่ลูกไม่ติดเชื้อจากเรานั้นเพราะนมแม่ที่ลูกกินจากอกของเรานั้นจะมีภูมิต้านทานโรคส่งต่อไปให้ด้วย ลูกจึงไม่แสดงอาการเจ็บป่วย

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

โปรดจำไว้ว่าเชื้อโรคต่างๆ ภายในร่างกายของแม่ จะไม่สามารถปนเปื้อนลงในไปน้ำนมที่ร่างกายคุณแม่ผลิตขึ้นได้ การติดเชื้อของลูกจะเกิดขึ้นจากภายนอก เช่น คุณแม่อาจจะไม่ได้ทำความสะอาดเต้านมก่อนให้นมลูก เป็นต้น

แม่ที่ป่วยเป็นโรคเรื้อรังสามารถให้นมแม่ได้ไหม?

ได้แค่ จะมีเพียงผู้ป่วยโรคเอดส์เท่านั้นที่ไม่สามารถให้นมแม่แก่ลูกได้ เพราะเชื้อไวรัสเอดส์จะส่งต่อผ่านน้ำนมได้

ถ้าแม่กินยารักษาอาการป่วย จะส่งผลต่อน้ำนมหรือเปล่า?

โดยมากอาการเจ็บป่วยทั่วไปที่คุณแม่เป็นนั้น เมื่อคุณแม่ทานยารักษา น้ำนมของแม่แม้จะปนเปื้อนบ้าง แต่จะไม่มีผลต่อทารก เพราะภูมิต้านทานที่มีในน้ำนมแม่จะยังช่วยป้องกันลูกได้

แต่อย่างไรก็ตาม คุณแม่ก็ยังควรระมัดระวังเรื่องการทานยา ดังนั้นหากคุณแม่เริ่มป่วย ก็ยังสามารถให้ลูกกินนมแม่ได้เหมือนเดิม เพียงแต่ตอนที่ไปหาคุณหมอ ก็อย่าลืมบอกด้วยว่ากำลังให้นมแม่อยู่ เพราะจะมียาบางประเภทเท่านั้นที่ส่งผลโดยตรง คุณหมอจะได้เลือกใช้ยารักษาตัวอื่น


2 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
ศ.พญ.กุลกัญญา โชคไพบลย์กิจ, สาขาวิชาโรคติดเชื้อ ภาควิชากุมาร เวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล, การให้นมแม่ เมื่อแม่ป่วย (https://thaibf.com/wp-content/...)
Carol LW and Ted R, Counseling the Breastfeeding Mother (https://emedicine.medscape.com/article/979458-overview), 5 February 2015

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
ภาวะถุงน้ำคร่ำอักเสบ (Chorioamnionitis)
ภาวะถุงน้ำคร่ำอักเสบ (Chorioamnionitis)

ภาวะติดเชื้อในมดลูกจัดเป็นภาวะที่รุนแรง

อ่านเพิ่ม