เมื่อไหร่ที่คุณจะต้องรับประทานยาปฏิชีวนะเพื่อรักษาการติดเชื้อในโพรงจมูก

เผยแพร่ครั้งแรก 12 ก.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 1 นาที
เมื่อไหร่ที่คุณจะต้องรับประทานยาปฏิชีวนะเพื่อรักษาการติดเชื้อในโพรงจมูก

เมื่อเข้าสู่ช่วงฤดูหนาว เราก็มักจะพบโรคที่เกิดจากการติดเชื้อทางระบบหายใจเป็นจำนวนมาก เช่นไข้หวัด หลอดลมอักเสบ ปอดบวม หรือมีการติดเชื้อในโพรงจมูก อาการของการติดเชื้อในโพรงจมูกนั้นอาจจะเริ่มมาจากการมีอาการคล้ายไข้หวัด ก่อนที่จะมีอาการปวดบริเวณหัวตา และหายใจลำบากเนื่องจากมีน้ำมูกอุดตันอยู่ภายใน ยิ่งไปกว่านั้นก็คืออาจเห็นหนองสีเขียวออกมาจากหัวตาได้ คำถามก็คือเมื่อไหร่จึงจะต้องรับประทานยาปฏิชีวนะ

การติดเชื้อในโพรงจมูกส่วนมากนั้นไม่จำเป็นต้องรับประทานยาปฏิชีวนะ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

วารสาร New England Journal of Medicine เพิ่งตีพิมพ์เกี่ยวกับวิธีการรักษาการติดเชื้อในโพรงจมูกของผู้ใหญ่ เนื่องจากการติดเชื้อในโพรงจมูกส่วนใหญ่นั้นสามารถหายหรือมีอาการดีขึ้นได้โดยที่ไม่จำเป็นต้องรับประทานยาปฏิชีวนะภายใน 1-2 สัปดาห์ แต่อีกประมาณ 15% นั้นจะต้องรับการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะ ภาวะแทรกซ้อนของโรคนี้นั้นเกิดขึ้นได้น้อยแต่ค่อนข้างรุนแรง เช่นการติดเชื้อในสมอง หรือการเกิดฝีภายในสมอง

ในขณะเดียวกันปัจจุบันพบว่ามีการสั่งจ่ายยาปฏิชีวนะโดยไม่จำเป็นนั้นจะทำให้ผู้ป่วยได้รับผลข้างเคียงจากการรับประทานยา และยังทำให้อัตราการเกิดเชื้อดื้อยาเพิ่มขึ้น จึงจำเป็นที่จะต้องมีการทบทวนแนวทางในการรักษาภาวะนี้ใหม่

แล้วจะทราบได้อย่างไรว่าเมื่อไหร่จึงจะต้องรับประทานยาปฏิชีวนะ

ในปัจจุบัน หากผู้ป่วยมีน้ำมูกเหนียวข้นและเปลี่ยนสี และ/หรืออาการปวดบริเวณหน้า นานอย่างน้อย 10 วัน จะจัดว่าเข้าเกณฑ์ที่ควรได้รับยาปฏิชีวนะ หรือหากมีอาการดังกล่าวรุนแรงมากขึ้นแม้ว่าจะยังไม่ครบ 10 วันก็ตาม ก็ควรได้รับยาเช่นกัน

อย่างไรก็ตาม แพทย์อาจเลือกให้ใช้การติดตามอาการอย่างใกล้ชิด และอธิบายให้ผู้ป่วยเข้าใจว่าการติดเชื้อในโพรงจมูกนั้นสามารถหายเองได้ภายใน 1-2 สัปดาห์โดยที่ไม่ต้องรับประทานยาปฏิชีวนะ สำหรับอาการอื่นๆ ที่เกิดร่วมกับการติดเชื้อนั้นสามารถรักษาได้ตามอาการร่วมกับการรักษาแบบประคับประคอง เช่นการล้างจมูก, การพ่นยาสเตียรอยด์ ยาลดน้ำมูก และยาแก้ปวด


8 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
When do you really need antibiotics for that sinus infection?. Harvard Health. (https://www.health.harvard.edu/blog/when-do-you-really-need-antibiotics-for-that-sinus-infection-2016092610399)
Antibiotics for Sinusitis: Do They Help? Types, Side Effects, & More. WebMD. (https://www.webmd.com/allergies/antibiotics#1)
How to Get Rid of a Sinus Infection: Home Remedies and Medication. Healthline. (https://www.healthline.com/health/how-to-get-rid-of-sinus-infection)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)