มะเร็งผิวหนังเป็นการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งที่ผิวหนังซึ่งไม่สามารถควบคุมได้ หากไม่ได้รับการรักษา บางชนิดอาจจะสามารถแพร่กระจายไปยังอวัยวะและเนิ้อเยื่อส่วนอื่น เช่นต่อมน้ำเหลืองและกระดูกได้
การทำงานของผิวหนัง
ผิวหนังนั้นเป็นปราการด่านแรกในการป้องกันร่างกายต่อสารต่างๆ เช่นการสูญเสียน้ำ แบคทีเรียและสารที่เป็นอันตรายต่างๆ ผิวหนังนั้นสามารถแบ่งออกเป็น 2 ชั้นหลักๆ ก็คือหนังแท้ที่อยู่ชั้นในและหนังกำพร้าที่อยู่ชั้นนอก ผิวหนังชั้นนอกสุดนั้นประกอบด้วยเซลล์ชนิด squamous ซึ่งมีการหลุดลอกและสร้างใหม่อยู่เสมอ ผิวหนังชั้นในนั้นจะเรียกว่าชั้น basal layer ซึ่งประกอบขึ้นมาจาก basal cell และ melanocyte ซึ่งเป็นเซลล์ที่ทำหน้าที่สร้างเมลานินหรือเม็ดสีที่ทำให้เกิดสีผิว เวลล์เหล่านี้จะผลิตเมลานินออกมาเพิ่มขึ้นเวลาที่สัมผัสกับแดดมากขึ้น ทำให้ผิวหนังมีสีคล้ำขึ้น นี่เป็นกระบวนการป้องกันตัวเองของร่างกายและเป็นสิ่งที่บ่งบอกว่าคุณกำลังถูกแสงแดดทำร้าย
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง
หนังกำพร้านั้นจะสัมผัสกับสิ่งแวดล้อมอยู่เสมอ ถึงแม้ว่าจะมีการผลัดเปลี่ยนเซลล์อยู่เสมอแต่ก็ยังอาจจะได้รับการบาดเจ็บจากแสงแดด การติดเชื้อ หรือรอยแผลได้ เซลล์ผิวหนังที่เหลือนั้นจะมีการเพิ่มจำนวนขึ้นเรื่อยๆ เพื่อทดแทนเซลล์ผิวหนังที่หลุดลอกและในบางครั้งก็อาจจะมีการเพิ่มจำนวนมากขึ้น ทำให้เกิดเนื้องอกที่ผิวหนังซึ่งอาจจะเป็นเนื้อดีหรือเนื้อร้ายก็ได้
ต่อไปนี้เป็นเนื้องอกผิวหนังที่พบบ่อย
1.Actinic keratosis
มีลักษณะเป็นปื้นสีแดงหรือชมพูที่บริเวณที่สัมผัสกับแสงแดด ภาวะนี้เกิดจากการสัมผัสกับรังสี UV ในแสงแดด และจัดเป็นภาวะก่อนมะเร็งที่พบบ่อยที่สุดและสามารถเปลี่ยนเป็นมะเร็งชนิด squamous cell carcinoma ได้หากไม่ได้รักษา
2.Basal cell carcinoma
Basal cell carcinoma นั้นเป็นมะเร็งผิวหนังที่พบบ่อยที่สุด ส่วนมากมักจะพบที่ศีรษะและลำคอ มะเร็งชนิดนี้เป็นมะเร็งที๋โตช้าและมักจะไม่แพร่ไปยังส่วนอื่นๆ ของร่างกาย มักจะทำให้ผิวหนังนั้นนูนขึ้นหรืออาจจะมีรอยบุ๋มตรงกลาง หรืออาจจะมีสีใสและเห็นเส้นเลือดที่อยู่ใกล้กับผิวหนังได้
3.Squamous cell carcinoma
Squamous cell carcinoma นั้นเกิดกับเซลล์ที่อยู่ชั้นนอกของหนังกำพร้า ส่วนมากมักจะรุนแรงกว่า basal cell carcinoma และสามารถแพร่ไปยังส่วนอื่นๆ ของร่างกายได้หากไม่ได้รับการรักษา มักจะมีลักษณะเป็นแผลแดง แตก และขรุขระที่ผิวหนังและมักจะพบที่บริเวณที่ได้รับแสงแดดเช่นมือ ศีรษะ คอ ริมฝีปากและหู แผลในลักษณะนี้อาจจะเป็นภาวะก่อนมะเร็งที่เรียกว่า Bowen’s disease ก็ได้
4.Melanoma
เป็นมะเร็งชนิดที่พบได้น้อยกว่าทั้ง 2 ชนิดด้านบนแต่อันตรายที่สุด โดยเป็นมะเร็งที่เกิดที่เซลล์ melanocyte ซึ่งทำหน้าที่สร้างเม็ดสี ถึงแม้ว่าไฝและขี้แมลงวันนั้นจะเป็นการรวมตัวของ melanocyte ที่ไม่เป็นอันตรายและพบได้บ่อย แต่อาจจะสงสัยว่าเป็นอาการของ melanoma หากไฝนั้นมีลักษณะต่อไปนี้
- มีลักษณะไม่สมมาตร
- ขอบเขตนั้นขรุขระ
- มีสีไม่สม่ำเสมอ
- เส้นผ่าศูนย์กลางใหญ่กว่า 6 มิลลิเมตร
- มีขนาดหรือรูปร่างที่เปลี่ยนแปลง
Melanoma 4 ชนิดหลัก
- Superficial spreading melanoma เป็นชนิดที่พบบ่อยที่สุด เนื้องอกนั้นมักจะแบบและมีรูปร่างไม่สม่ำเสมอ และมีสีดำและน้ำตาลหลายเฉดสี สามารถพบได้ในทุกช่วงอายุ
- Lentigo maligna melanoma : มักจะพบในผู้สูงอายุ มีลักษณะใหญ่ แบน และสีน้ำตาล Nodular melanoma อาจจะมีสีน้ำเงินเข้ม ดำหรือน้ำเงินออกแดงได้ หรืออาจจะไม่มีสีก็ได้ ในระยะแรกมักจะมีลักษณะเป็นปื้นนูน
- Accral lentiginous melanoma เป็นชนิดที่พบน้อยที่สุด มักเกิดที่ฝ่ามือ ฝ่าเท้าหรือใต้นิ้วมือและนิ้วเท้า
- Kaposi sarcoma มักจะไม่ถูกจัดเป็นมะเร็งผิวหนัง แต่มะเร็งชนิดนี้เป็นมะเร็งอีกชนิดหนึ่งที่ทำให้มีแผลที่ผิวหนังที่มีลักษณะเป็นสีน้ำตาลออกแดงถึงน้ำเงินและมักจะพบที่ขาและเท้า มะเร็งชนิดนี้ส่งผลต่อเซลล์ที่บุผนังหลอดเลือดใกล้กับผิวหนัง และเกิดจากเชื้อ herpes virus ซึ่งมักจะพบในผู้ป่วยที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่องเช่นเป็นโรคเอดส์
ปัจจัยเสี่ยง
ถึงแม้ว่าจะมีมะเร็งผิวหนังหลายชนิด แต่หลายชนิดนั้นก็มีปัจจัยเสี่ยงเดียวกันซึ่งประกอบด้วย
- การสัมผัสกับรังสี UV ในแสงแดดเป็นเวลานาน
- อายุมากกว่า 40 ปี
- มีประวัติครอบครัวเป็นมะเร็งผิวหนัง
- มีสีผิวอ่อน
- ได้รับการปลูกถ่ายอวัยวะ
- อย่างไรก็ตามผู้ที่มีอายุน้อยและมีสีผิวเข้มนั้นก็อาจจะเกิดมะเร็งผิวหนังได้เช่นกัน
สรุป
ยิ่งสามารถตรวจพบมะเร็งผิวหนังได้เร็วเท่าไหร่ก็ยิ่งดีต่อผลการรักษาระยะยาวเท่านั้น ควรตรวจดูผิวหนังเป็นประจำ หากสังเกตความผิดปกติควรไปพบแพทย์ผิวหนังเพื่อทำการตรวจ วิธีการป้องกันนั้นประกอบไปด้วยการทาครีมกันแดดหรือจำกัดเวลาที่อยู่ในแสงแดด เป็นวิธีการป้องกันที่ดีที่สุดในการป้องกันการเกิดมะเร็งผิวหนัง