ข้อเท็จจริง 8 ข้อเกี่ยวกับมะเร็งผิวหนังที่ไม่ค่อยมีใครรู้

ข้อเท็จจริงเหล่านี้จะบอกว่าทำไมคุณควรต้องปกป้องตัวเองจากแสงแดด
เผยแพร่ครั้งแรก 30 ธ.ค. 2016 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
ข้อเท็จจริง 8 ข้อเกี่ยวกับมะเร็งผิวหนังที่ไม่ค่อยมีใครรู้

มะเร็งผิวหนังเกิดมากขึ้นเรื่อย ๆ และคนหนุ่มสาวก็เป็นโรคนี้กันมากกว่าเมื่อก่อน สิ่งที่หลาย ๆ คนไม่รู้ก็คือ มะเร็งผิวหนังสามารถป้องกันได้ไม่ยาก เพราะจริง ๆ แล้วมะเร็งผิวหนังเป็นมะเร็งที่ป้องกันได้ง่ายที่สุด เพียงแค่ศึกษาว่าจะปฏิบัติตัวอย่างไรเมื่อต้องเจอกับดวงอาทิตย์ แค่นี้ก็จะสามารถป้องกันโรคนี้ได้แล้ว

ข้อเท็จจริง 8 ข้อนี้จะเป็นแรงผลักดันให้ทาครีมกันแดด และทำให้รู้ว่าจะต้องทำอย่างไรเมื่อต้องอยู่ในแสงแดด

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

1. โรคมะเร็งผิวหนังที่ไม่ได้เกิดจากเซลล์สร้างเม็ดสีเป็นมะเร็ง (Non-Melanoma Skin Cancer) ประมาณ 90% มีสาเหตุมาจากการพบเจอแสงอัลตราไวโอเล็ต (Ultra-violet)

รังสียูวี (UV) จากดวงอาทิตย์ เป็นสาเหตุของโรคมะเร็งผิวหนังที่ไม่ได้เกิดจากเซลล์สร้างเม็ดสี(Melanin)เป็นมะเร็ง การที่ต้องพบเจอกับรังสีเหล่านี้โดยไม่ได้ป้องกัน อาจจะเกิดจากการอยู่ในที่แจ้ง การนอนอาบแดด หรือแม้กระทั่งแสงที่ทะลุผ่านกระจกรถหรือกระจกที่บ้าน

2. ทุก ๆ 1 ชั่วโมงจะมีคนเสียชีวิตจาก มะเร็งของเซลล์สร้างเม็ดสี หรือมะเร็งไฝ (Melanoma) 1 คน

ความเข้าใจผิดที่ยังมีอยู่มาก คือ มะเร็งผิวหนังไม่สามารถคร่าชีวิตได้ แต่ภายในปี 2016 นี้ ในสหรัฐอเมริกา จะมีผู้เสียชีวิตจากมะเร็งชนิดนี้อย่างเดียวประมาณ 8,000 คน และมีการประมาณการว่าจะมีคนเสียชีวิตจากมะเร็งผิวหนังชนิดที่ไม่ได้เกิดจากเซลล์สร้างเม็ดสีเป็นมะเร็งราว 2,800 คน แต่เรื่องเศร้าก็คือมะเร็งเหล่านี้สามารถป้องกันได้เพียงแค่ทำตามขั้นตอนการป้องกันที่ง่ายดาย

3. มะเร็งผิวหนังมีสัดส่วนประมาณ 50% ของมะเร็งทั้งหมด

มะเร็งผิวหนัง เป็นมะเร็งที่มีการถูกวินิจฉัยมากที่สุด ทั้งในผู้หญิงและผู้ชาย การเจอกับรังสียูวี ทั้งจากธรรมชาติและทางอื่น ๆ ที่เป็นสาเหตุของมะเร็งผิวหนัง เนื่องจากมะเร็งผิวหนังเป็นมะเร็งที่พบได้มาก ดังนั้นเราควรจะตรวจผิวหนังของเราเองที่บ้านและไปเข้ารับการตรวจผิวหนังทีโรงพยาบาลปีละครั้ง

4. ในปีนี้จะมีการวินิจฉัยโรคมะเร็งผิวหนังมากกว่า 1 ล้านราย

The American Cancer Society ได้ประมาณการว่าจะมีการวินิจฉัยโรคมะเร็งผิวหนังประมาณ 1,500,000 ราย และมีการคาดการณ์ว่าจะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ สาเหตุมาจากการพบเจอรังสียูวี ทั้งจากดวงอาทิตย์โดยตรง หรือแสงสังเคราะห์ เช่น เตียงอบผิวแทน

5. มะเร็งผิวหนังมีอันตรายถึงตายมากที่สุดในชาวอเมริกันผิวดำ ชาวเอเชีย และชาวอเมริกาใต้

ชาวอเมริกันผิวดำ ชาวเอเชีย และชาวอเมริกาใต้ มีความเสี่ยงต่ำที่จะเกิดโรคมะเร็งของเซลล์สร้างเม็ดสี แต่มะเร็งชนิดนี้จะอันตรายกับคนกลุ่มนี้มากกว่ากลุ่มอื่น ๆ อย่างไรก็ตาม พึงตระหนักไว้ว่าโรคนี้สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน ไม่ว่าจะมีเชื้อชาติไหนก็ตาม

6. คนผิวขาว 1 ใน 3 จะเป็นโรคมะเร็งผิวหนัง

ในตลอดช่วงชีวิตของชาวอเมริกัน 1 ใน 5 จะเป็นโรคมะเร็งผิวหนัง แต่ความเสี่ยงของคนผิวขาวมีสูงกว่า หรือ 1 ใน 3

7. การมีผิวไหม้รุนแรงในช่วงเด็กทำให้ความเสี่ยงในการเป็นโรคมะเร็งผิวหนังมีมากขึ้น

การป้องกันเด็ก ๆ จากการพบเจอกับรังสี UV มีความสำคัญต่อสุขภาพผิวตอนโต เพียงแค่ผิวไหม้พองจากดวงอาทิตย์จุดเดียวในช่วงเด็ก ก็เพิ่มความเสี่ยงของการเป็นมะเร็งของเซลล์สร้างเม็ดสีในตอนโต

8. ความถี่ในการวินิจฉัยโรคมะเร็งผิวหนังในผู้ชายมีมากกว่าผู้หญิง

ผู้ชายมีแนวโน้มที่จะเป็นมะเร็งผิวหนังมากกว่าผู้หญิงถึง 2 เท่า ในความเป็นจริงแล้ว มะเร็งผิวหนังเป็นมะเร็งที่พบได้มากกว่ามะเร็งต่อมลูกหมาก มะเร็งปอด และมะเร็งลำไส้ใหญ่ ในผู้ชายที่อายุมากกว่า 50 ปี ทำให้มะเร็งผิวหนังเป็นมะเร็งที่พบได้มากที่สุดในผู้ชายที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป


3 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Skin Cancer: Causes and Risk Factors. Verywell Health. (https://www.verywellhealth.com/skin-cancer-causes-risk-factors-514375)
What Is Skin Cancer?. Centers for Disease Control and Prevention (CDC). (https://www.cdc.gov/cancer/skin/basic_info/what-is-skin-cancer.htm)
Skin Cancer Pictures and Facts: What You Need to Know. Healthline. (https://www.healthline.com/health/types-of-skin-cancer)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป