ก่อนไปพบคุณหมอ ควรเตรียมตัวยังไงบ้าง?

เผยแพร่ครั้งแรก 15 พ.ย. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
ก่อนไปพบคุณหมอ ควรเตรียมตัวยังไงบ้าง?

เมื่อมีการเจ็บป่วยเกิดขึ้น สิ่งแรกที่เรามักนึกถึงก็คือ การไปโรงพยาบาลเพื่อให้คุณหมอช่วยรักษา ซึ่งอันดับแรก ก่อนที่คุณหมอจะตรวจวินิจฉัยโรคร่วมกับการตรวจร่างกายในเบื้องต้นได้นั้น ก็คือการซักถามประวัติของคนไข้ เพื่อให้การวินิจฉัยถูกต้องมากขึ้น วันนี้ เราเลยมีคำแนะนำเกี่ยวกับการตอบคำถามของคุณหมอให้ชัดเจนและถูกต้องมากขึ้น มาฝากกันค่ะ

1. อาการปวดศีรษะ

เป็นอาการที่ควรอธิบายให้ละเอียดกันซักนิดนึงนะคะ เพราะอาการปวดศีรษะแต่ละประเภทนั้นไม่เหมือนกัน โดยควรสังเกตว่า เราปวดแบบหน่วง ๆ หรือแบบตุบ ๆ ปวดเหมือนมีอะไรมากดทับ มีอาการปวดแถวกระบอกตาหรือบริเวณกรามหรือไม่ และต้องสังเกตด้วยว่าปวดช่วงไหน เช่น ช่วงเช้าหรือช่วงเย็น หรือปวดตลอดวัน นอกจากนี้ยังควรสังเกตว่ามีอาการมานานเท่าไหร่ เช่น ปวดมาประมาณ 2 วัน หรือมากกว่า 15 วัน เป็นต้น จะได้แจ้งรายละเอียดให้คุณหมอทราบอย่างครบถ้วน

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

2. อาการน้ำมูกไหล

หากพบว่าเราได้รับกลิ่นที่แปลกประหลาดติดต่อกันจนทำให้เกิดความรำคาญ หรือมีลักษณะที่หายใจไม่สะดวก เมื่อไปพบแพทย์แล้ว คุณหมอมักจะถามถึงสีของน้ำมูก ซึ่งเราต้องเป็นผู้สังเกตและแจ้งให้คุณหมอทราบ โดยควรสังเกตว่าน้ำมูกมีลักษณะเช่นไร เช่น มีลักษณะใส เยิ้ม ขุ่น ลักษณะสีของน้ำมูกว่ามีสีขาวขุ่น สีใส หรือสีเขียว รวมทั้งอาการได้รับกลิ่นแปลก ๆ เช่น กลิ่นเหม็นตลอด และได้รับกลิ่นจากจมูกข้างขวาหรือข้างซ้าย ได้รับกลิ่นตลอดวันหรือได้รับกลิ่นเป็นพัก ๆ ซึ่งอาการดังกล่าวจะโยงไปสู่การวินิจฉัยโรคในเบื้องต้นได้ เช่น อาการภูมิแพ้ โรคไซนัสอักเสบ หรือโรคไข้หวัด เป็นต้น

3. อาการขับถ่าย

บางคนเมื่อมีอาการปวดท้อง ท้องอืด จนตัดสินใจไปหาหมอ เราก็ควรเก็บรายละเอียดต่างๆ ไปบอกให้ครบนะคะ ไม่ว่าจะเป็นการสังเกตเกี่ยวกับเรื่องการขับถ่าย เช่น สีของอุจจาระ ปัสสาวะ ว่ามีสีเป็นลักษณะเช่นไร สีเข้มหรือสีอ่อน มีเลือดออกร่วมด้วยหรือไม่ และขับถ่ายสะดวกหรือไม่สะดวก วันหนึ่งขับถ่ายกี่ครั้ง หรือสัปดาห์หนึ่งขับถ่ายกี่ครั้ง สิ่งเหล่านี้จำเป็นอย่างมากที่จะต้องเฝ้าสังเกตอาการ เพราะอาจนำไปสู่การวินิจฉัยโรค เช่น โรคปัสสาวะอักเสบ หรืออาการติดเชื้อจากแบคทีเรีย เป็นต้น

4. อาการปวดท้อง

อาการปวดท้องเป็นอีกอาการที่คุณหมอมักจะถามร่วมกับการวินิจฉัยโรคอื่น  ดังนั้น หากเรามีอาการปวดท้อง ไม่ว่าจะปวดท้องในช่วงที่มีหรือไม่มีประจำเดือน ก็ต้องเฝ้าสังเกตอาการ เช่น อาการปวดเป็นอย่างไร ปวดหน่วง ปวดแบบจุก ปวดแบบเสียวในช่องท้อง มีอาการเป็นมากี่วัน เป็นช่วงไหนบ้าง เมื่อมีอาการปวดแล้วมีอาการอ่อนเพลีย หมดแรงหรือไม่

เพราะถ้าเราสามารถบอกคุณหมอได้อย่างละเอียดครบถ้วน ย่อมจะทำให้การวินิจฉัยถูกต้องมากยิ่งขึ้น และหายจากอาการที่เป็นอยู่ได้ง่ายๆ อย่างที่ตั้งใจ


3 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
What to ask your doctor. NHS (National Health Service). (https://www.nhs.uk/using-the-nhs/nhs-services/gps/what-to-ask-your-doctor/)
How to Prepare for a Doctor's Appointment. Verywell Health. (https://www.verywellhealth.com/how-to-prepare-for-a-doctor-appointment-2614996)
How to Prepare for a Doctor's Appointment. National Institute on Aging. (https://www.nia.nih.gov/health/how-prepare-doctors-appointment)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)