นพ. สุวพัชญ์ พิศาลมงคล แพทย์ทั่วไป
เขียนโดย
นพ. สุวพัชญ์ พิศาลมงคล แพทย์ทั่วไป

ทำอย่างไรเมื่อเลือดออกหู!

เลือดออกหูเกิดได้จากหลายสาเหตุ ที่พบบ่อยที่สุดคือเกิดหลังจากแคะหู ดูวิธีสังเกตว่าแบบไหนไม่น่าห่วง แบบไหนอันตรายต้องรีบพบแพทย์
เผยแพร่ครั้งแรก 11 ส.ค. 2019 อัปเดตล่าสุด 29 มี.ค. 2021 เวลาอ่านประมาณ 5 นาที
ทำอย่างไรเมื่อเลือดออกหู!

“เลือดไหลออกจากหู” หากเกิดขึ้นกับใครคนคนนั้นคงตกใจและกังวลไม่น้อย ส่วนใหญ่มักจะเกิดขึ้นหลังจากใช้ไม้พันสำลีแคะหู หรือใช้ไม้แคะหู ทำให้เกิดบาดแผล แต่หากมีเลือดออกมาจากหูที่ไม่ได้มีสาเหตุมาจากแผลขนาดเล็กที่บริเวณรูหูหรือใบหู ควรรีบไปพบแพทย์เฉพาะทางหู คอ จมูก (Otolaryngologist) ทันที เนื่องจากอาการดังกล่าวมักจะบ่งบอกถึงความผิดปกติภายในหู ซึ่งส่วนใหญ่ควรจะได้รับการรักษาโดยเร็ว

สาเหตุของอาการเลือดออกหู

มีหลายสาเหตุที่ทำให้เลือดออกมาจากหู ดังนี้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจ รักษา หู คอ จมูก วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 854 บาท ลดสูงสุด 54%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

  1. มีบาดแผลบริเวณใบหูหรือรูหู สาเหตุนี้มักจะเกิดจากการใช้ไม้พันสำลี หรือไม้แคะหู พยายามที่จะทำความสะอาดในรูหู อาการที่พบคือมีเลือดติดออกมากับอุปกรณ์ที่ใช้เข้าไปภายในรูหูเพียงเล็กน้อย ไม่มีเลือดที่สังเกตได้ว่าไหลออกมาจากหูชัดเจน มีอาการเจ็บแสบเฉพาะบริเวณในรูหู การได้ยินปกติ ไม่มีอาการหูอื้อ ไม่เวียนศีรษะ

    หากเกิดบาดแผลขนาดเล็กในรูหู ไม่ควรพยายามที่จะนำสิ่งแปลกปลอมเข้าไปในรูหูเพิ่มเติม เช่น ใช้ไม้พันสำลีพยายามเช็ดเลือดออก หรือหยอดน้ำเข้าไปล้าง เนื่องจากการกระทำดังกล่าวอาจเป็นสาเหตุให้บาดแผลมีขนาดใหญ่ขึ้น และอาจทำให้เกิดการอักเสบติดเชื้อได้

    หากมีความผิดปกติอื่นร่วมด้วย เช่น มีเลือดหรือของเหลวไหลออกจากหู การได้ยินผิดปกติ หูอื้อ ปวดหูมาก ฯลฯ ควรไปพบแพทย์ที่โรงพยาบาลทันที

  2. การได้รับการกระทบกระเทือนบริเวณใบหู หรือการถูกตบบริเวณใบหู หากพบว่ามีเลือดไหลออกจากหู แสดงว่าเนื้อเยื่อภายในหูได้รับความเสียหาย ซึ่งส่วนใหญ่จะเกิดจากเยื่อแก้วหูฉีกขาด ควรรีบไปพบแพทย์ทันที

  3. การได้รับบาดเจ็บบริเวณศีรษะ หากภายหลังที่มีการกระทบกระเทือนบริเวณศีรษะแล้วมีเลือดไหลออกจากหู อาจเกิดจากการที่มีกะโหลกศีรษะร้าวหรือแตกได้ เป็นภาวะฉุกเฉินควรรีบไปพบแพทย์ในทันที

  4. การอักเสบติดเชื้อบริเวณหูชั้นนอกหรือหูชั้นกลาง อาการที่พบ ได้แก่ ปวดหู ปวดศีรษะ มีไข้ มีของเหลวหรือเลือดไหลออกมาจากหู หูบวม มีการได้ยินที่ผิดปกติ เป็นต้น การวินิจฉัยแพทย์ต้องอาศัยเครื่องมือที่ใช้ส่องหู (Otoscope) ส่องเข้าไปดูบริเวณที่อักเสบติดเชื้อ และพิจารณาให้ยาปฏิชีวนะตามระดับความรุนแรง และบริเวณของหูที่มีการติดเชื้อ ซึ่งยาปฏิชีวนะมีทั้งในรูปแบบยาหยอดหู ยารับประทาน และยาสอดหู (Ear wick)

  5. การได้รับบาดเจ็บจากแรงกดดันอากาศ (Barotrauma) เกิดจากการเปลี่ยนแปลงความดันอากาศอย่างรวดเร็ว เช่น เวลาเครื่องบินขึ้นหรือลง การดำน้ำลึก เป็นต้น อาการที่พบได้แก่ หูอื้อ ปวดหู การได้ยินเปลี่ยนไป และในบางรายที่มีความรุนแรงมากอาจพบเลือดไหลออกมาจากหู หรือมีอาการเวียนศีรษะรุนแรงได้ เนื่องจากเนื้อเยื่อภายในหูได้รับความเสียหาย โดยอาการต่างๆ จะเกิดขึ้นทันทีในขณะที่มีการเปลี่ยนแปลงความดันอากาศ

  6. มีสิ่งแปลกปลอมอยู่ในรูหู เช่น แมลงเข้าหู จะมีอาการเจ็บหู และอาจมีเลือดออกได้ ในกรณีนี้ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อที่จะได้นำสิ่งแปลกปลอมออกจากหู

  7. มะเร็งบริเวณหู เป็นสาเหตุที่พบได้น้อยที่สุด หากมีเลือดไหลออกมาด้วยสาเหตุนี้มักจะมีอาการอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น สูญเสียการได้ยิน ปวดหู มีของเหลวไหลออกจากหู เป็นต้น

แคะหู แล้วเลือดออกหู เป็นอะไรไหม อันตรายหรือไม่?

ดังที่ได้กล่าวไปแล้วว่าการใช้ไม้พันสำลี หรือไม้แคะหูเข้าไปทำความสะอาดในหูแล้วมีเลือดติดมาด้วย ถ้าเป็นแผลในรูหูขนาดเล็ก ไม่ถือว่าเป็นอันตราย และสามารถหายได้เอง ซึ่งไม่ควรใช้ไม้พันสำลีพยายามเช็ดเลือดออก หรือหยอดน้ำเข้าไปล้าง แต่ถ้ามีเลือดไหลออกมาชัดเจน หรือมีของเหลวต่างๆ ไหลออกมาตามหลังการแคะหู ร่วมกับมีอาการผิดปกติ เช่น หูอื้อ หรือมีการได้ยินผิดปกติไปจากเดิม ควรรีบไปพบแพทย์เนื่องจากเป็นสัญญาณบ่งบอกว่ามีแผลขนาดใหญ่ หรือเยื่อแก้วหูได้รับบาดเจ็บ โดยทั่วไปแล้วแพทย์จะไม่แนะนำให้ใช้ไม้พันสำลีหรือสิ่งแปลกปลอมอื่นใดเข้าไปทำความสะอาดในหูเนื่องจากจะเป็นอันตรายต่อเนื่อเยื่อภายในหูได้ ควรใช้สำลีเช็ดทำความสะอาดบริเวณภายนอกเท่านั้น การที่มีขี้หูนั้นเป็นกลไกปกติของร่างกาย หากมีปัญหาขี้หูอุดตัน (Impacted cerumen) จนส่งผลกระทบต่อการได้ยิน ไม่ควรพยายามแคะออกด้วยตนเอง ควรไปพบแพทย์เพื่อที่จะดูดออก หรือใช้อุปกรณ์ในการนำขี้หูออกมา

เลือดออกหู เป็นสัญญาณของโรคร้ายแรงอะไรหรือไม่?

ทุกสาเหตุที่ทำให้มีเลือดออกมาจากหู ที่ไม่ใช่จากการมีแผลขนาดเล็กบริเวณใบหูและรูหู ถือว่ามีความผิดปกติ ดังนั้นเมื่อสังเกตเห็นเลือดไหลออกมาจากหูควรรีบไปพบแพทย์ เพื่อหาสาเหตุและรับการรักษาโดยเร็วที่สุด

“เลือดไหลออกจากหู” หากเกิดขึ้นกับใครคนคนนั้นคงตกใจและกังวลไม่น้อย ส่วนใหญ่มักจะเกิดขึ้นหลังจากใช้ไม้พันสำลีแคะหู หรือใช้ไม้แคะหู ทำให้เกิดบาดแผล แต่หากมีเลือดออกมาจากหูที่ไม่ได้มีสาเหตุมาจากแผลขนาดเล็กที่บริเวณรูหูหรือใบหู ควรรีบไปพบแพทย์เฉพาะทางหู คอ จมูก (Otolaryngologist) ทันที เนื่องจากอาการดังกล่าวมักจะบ่งบอกถึงความผิดปกติภายในหู ซึ่งส่วนใหญ่ควรจะได้รับการรักษาโดยเร็ว

สาเหตุของอาการเลือดออกหู

มีหลายสาเหตุที่ทำให้เลือดออกมาจากหู ดังนี้

  1. มีบาดแผลบริเวณใบหูหรือรูหู สาเหตุนี้มักจะเกิดจากการใช้ไม้พันสำลี หรือไม้แคะหู พยายามที่จะทำความสะอาดในรูหู อาการที่พบคือมีเลือดติดออกมากับอุปกรณ์ที่ใช้เข้าไปภายในรูหูเพียงเล็กน้อย ไม่มีเลือดที่สังเกตได้ว่าไหลออกมาจากหูชัดเจน มีอาการเจ็บแสบเฉพาะบริเวณในรูหู การได้ยินปกติ ไม่มีอาการหูอื้อ ไม่เวียนศีรษะ

    หากเกิดบาดแผลขนาดเล็กในรูหู ไม่ควรพยายามที่จะนำสิ่งแปลกปลอมเข้าไปในรูหูเพิ่มเติม เช่น ใช้ไม้พันสำลีพยายามเช็ดเลือดออก หรือหยอดน้ำเข้าไปล้าง เนื่องจากการกระทำดังกล่าวอาจเป็นสาเหตุให้บาดแผลมีขนาดใหญ่ขึ้น และอาจทำให้เกิดการอักเสบติดเชื้อได้

    หากมีความผิดปกติอื่นร่วมด้วย เช่น มีเลือดหรือของเหลวไหลออกจากหู การได้ยินผิดปกติ หูอื้อ ปวดหูมาก ฯลฯ ควรไปพบแพทย์ที่โรงพยาบาลทันที

  2. การได้รับการกระทบกระเทือนบริเวณใบหู หรือการถูกตบบริเวณใบหู หากพบว่ามีเลือดไหลออกจากหู แสดงว่าเนื้อเยื่อภายในหูได้รับความเสียหาย ซึ่งส่วนใหญ่จะเกิดจากเยื่อแก้วหูฉีกขาด ควรรีบไปพบแพทย์ทันที

  3. การได้รับบาดเจ็บบริเวณศีรษะ หากภายหลังที่มีการกระทบกระเทือนบริเวณศีรษะแล้วมีเลือดไหลออกจากหู อาจเกิดจากการที่มีกะโหลกศีรษะร้าวหรือแตกได้ เป็นภาวะฉุกเฉินควรรีบไปพบแพทย์ในทันที

  4. การอักเสบติดเชื้อบริเวณหูชั้นนอกหรือหูชั้นกลาง อาการที่พบ ได้แก่ ปวดหู ปวดศีรษะ มีไข้ มีของเหลวหรือเลือดไหลออกมาจากหู หูบวม มีการได้ยินที่ผิดปกติ เป็นต้น การวินิจฉัยแพทย์ต้องอาศัยเครื่องมือที่ใช้ส่องหู (Otoscope) ส่องเข้าไปดูบริเวณที่อักเสบติดเชื้อ และพิจารณาให้ยาปฏิชีวนะตามระดับความรุนแรง และบริเวณของหูที่มีการติดเชื้อ ซึ่งยาปฏิชีวนะมีทั้งในรูปแบบยาหยอดหู ยารับประทาน และยาสอดหู (Ear wick)

  5. การได้รับบาดเจ็บจากแรงกดดันอากาศ (Barotrauma) เกิดจากการเปลี่ยนแปลงความดันอากาศอย่างรวดเร็ว เช่น เวลาเครื่องบินขึ้นหรือลง การดำน้ำลึก เป็นต้น อาการที่พบได้แก่ หูอื้อ ปวดหู การได้ยินเปลี่ยนไป และในบางรายที่มีความรุนแรงมากอาจพบเลือดไหลออกมาจากหู หรือมีอาการเวียนศีรษะรุนแรงได้ เนื่องจากเนื้อเยื่อภายในหูได้รับความเสียหาย โดยอาการต่างๆ จะเกิดขึ้นทันทีในขณะที่มีการเปลี่ยนแปลงความดันอากาศ

  6. มีสิ่งแปลกปลอมอยู่ในรูหู เช่น แมลงเข้าหู จะมีอาการเจ็บหู และอาจมีเลือดออกได้ ในกรณีนี้ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อที่จะได้นำสิ่งแปลกปลอมออกจากหู

  7. มะเร็งบริเวณหู เป็นสาเหตุที่พบได้น้อยที่สุด หากมีเลือดไหลออกมาด้วยสาเหตุนี้มักจะมีอาการอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น สูญเสียการได้ยิน ปวดหู มีของเหลวไหลออกจากหู เป็นต้น

แคะหู แล้วเลือดออกหู เป็นอะไรไหม อันตรายหรือไม่?

ดังที่ได้กล่าวไปแล้วว่าการใช้ไม้พันสำลี หรือไม้แคะหูเข้าไปทำความสะอาดในหูแล้วมีเลือดติดมาด้วย ถ้าเป็นแผลในรูหูขนาดเล็ก ไม่ถือว่าเป็นอันตราย และสามารถหายได้เอง ซึ่งไม่ควรใช้ไม้พันสำลีพยายามเช็ดเลือดออก หรือหยอดน้ำเข้าไปล้าง แต่ถ้ามีเลือดไหลออกมาชัดเจน หรือมีของเหลวต่างๆ ไหลออกมาตามหลังการแคะหู ร่วมกับมีอาการผิดปกติ เช่น หูอื้อ หรือมีการได้ยินผิดปกติไปจากเดิม ควรรีบไปพบแพทย์เนื่องจากเป็นสัญญาณบ่งบอกว่ามีแผลขนาดใหญ่ หรือเยื่อแก้วหูได้รับบาดเจ็บ โดยทั่วไปแล้วแพทย์จะไม่แนะนำให้ใช้ไม้พันสำลีหรือสิ่งแปลกปลอมอื่นใดเข้าไปทำความสะอาดในหูเนื่องจากจะเป็นอันตรายต่อเนื่อเยื่อภายในหูได้ ควรใช้สำลีเช็ดทำความสะอาดบริเวณภายนอกเท่านั้น การที่มีขี้หูนั้นเป็นกลไกปกติของร่างกาย หากมีปัญหาขี้หูอุดตัน (Impacted cerumen) จนส่งผลกระทบต่อการได้ยิน ไม่ควรพยายามแคะออกด้วยตนเอง ควรไปพบแพทย์เพื่อที่จะดูดออก หรือใช้อุปกรณ์ในการนำขี้หูออกมา

เลือดออกหู เป็นสัญญาณของโรคร้ายแรงอะไรหรือไม่?

ทุกสาเหตุที่ทำให้มีเลือดออกมาจากหู ที่ไม่ใช่จากการมีแผลขนาดเล็กบริเวณใบหูและรูหู ถือว่ามีความผิดปกติ ดังนั้นเมื่อสังเกตเห็นเลือดไหลออกมาจากหูควรรีบไปพบแพทย์ เพื่อหาสาเหตุและรับการรักษาโดยเร็วที่สุด


4 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Kimberly Holland, What Causes Ear Bleeding? (https://www.healthline.com/health/ear-bleeding), 21 June 2017.
Sabrina Felson, Why Is My Ear Bleeding? (https://www.webmd.com/cold-and-flu/ear-infection/ear-bleeding-causes#1), 20 May 2019.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
อาหารและเมนูสำหรับกรดไหลย้อน (Heartburn)
อาหารและเมนูสำหรับกรดไหลย้อน (Heartburn)

แค่ปรับอาหารและพฤติกรรมการรับประทานให้เหมาัะสม ก็สามารถรักษาอาการกรดไหลย้อนได้

อ่านเพิ่ม