ชื่อท้องถิ่น : ขมิ้น (ทั่วไป) , ขมิ้นแกง , ขมิ้นหยวก , ขมิ้นหัว (เชียงใหม่) ขี้มิ้น , หมิ้น (ภาคใต้) , ตายอ (กะเหรี่ยง – กำแพงเพรช) , ละยอ (กะเหรี่ยง – แม่ฮ่องสอน)
ลักษณะของพืช
พืชล้มลุกที่มีเหง้าอยู่ใต้ดิน เนื้อในของเหง้าขมิ้นสีเหลืองเข้มจน สีแสดจัด มีกลิ่นหอมเฉพาะตัวใบรูปเรียวยาว ปลายแหลม คล้ายใบพุทธรักษา มีก้านช่อแทงจากเหง้าโดยตรง ดอกมีสีขาวอมเหลือง มีกลีบประดับสีเขียวอมชมพู
ผลิตภัณฑ์สำหรับเข่าและกระดูก สูตรเฉพาะ รวมสารสกัดที่ผ่านงานวิจัย คอลลาเจน UC-II ขมิ้นชัน งาดำ และวิตามิน
ซื้อผ่าน HD ประหยัดกว่า / ราคาพิเศษสำหรับ นศ. / ผ่อน 0% / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
ส่วนที่ใช้เป็นยา : เหง้าสดและแห้ง
ช่วงเวลาที่เก็บเป็นยา : เก็บในช่วงอายุ 9 – 10 เดือน
รสและสรรพคุณยาไทย : รสฝาด กลิ่นหอม แก้โรคผิวหนัง ผื่นคัน ขับลม แก้ท้องร่วง
วิธีใช้
เหง้าขมิ้นใช้เป็นยารักษาอาการดังนี้
- อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ แน่นจุกเสียด และอาหารไม่ย่อย โดยล้างขมิ้นให้สะอาด (ไม่ต้องปอกเปลือก) หั่นเป็นชิ้นบางๆ ตากแดดจัดสัก 1 – 2 วัน บดให้ละเอียดผสมกับน้ำผึ้งปั้นเป็นเมล็ดขนาดปลายนิ้วก้อย เก็บในขวดสะอาด กินครั้งละ 2 – 3 เม็ด วันละ 3 – 4 ครั้ง หลังอาหารและก่อนนอน บางคนกินขมิ้นแล้วท้องเสีย ให้หยุดยาทันที
- ฝี แผลพุพองและแก้อาการแพ้อักเสบ แมลงสัตว์กัดต่อย โดยเอาเหง้ายาวประมาณ 2 นิ้ว ฝนกับน้ำต้มสุกทาบริเวณที่เป็น วันละ 3 ครั้ง หรือใช้ผงขมิ้นโรยทาบริเวณที่มีอาการผื่นคันจากแมลงสัตว์กัดต่อยได้