ในช่วงไม่กี่สิบปีมานี้ เกิดการตื่นตัวมากขึ้นเรื่องความเข้าใจเกี่ยวกับบาดแผลทางใจและผลกระทบต่อสุขภาพ
ในขณะนี้ เราเข้าใจแล้วว่าบาดแผลทางใจนั้นเกิดขึ้นได้ทั่วไป และผลกระทบของมันก็คงอยู่ยาวนาน ผู้ที่ให้การดูแลสุขภาพและความเป็นอยู่ทางสังคมกำลังเริ่มปรับเปลี่ยนการทำงานของตนเองเพื่อไม่ให้เกิดความเจ็บปวดซ้ำอีก และเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการรักษาแทน การเคลื่อนไหวดังกล่าวคือการดูแลบาดแผลทางใจ (trauma informed care)
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
หากคุณเป็นหนึ่งในหลายคนที่เคยเกิดบาดแผลทางใจมาก่อน และรู้สึกว่ายังมีผลกระทบต่อชีวิตประจำวัน การไปพบผู้ให้บริการและสถาบันที่ให้การดูแลดังกล่าวอาจช่วยในกระบวนการรักษาของคุณได้ การเข้าใจหลักการของการดูแลดังกล่าวจะทำให้คุณได้รับคำแนะนำเพื่อการดูแลที่ดีที่สุดได้
ประวัติของการดูแลบาดแผลทางใจ
หากคุณเคยเกี่ยวข้องกับบาดแผลทางใจมาก่อน จะพบว่าเป็นเรื่องยากที่จะนึกถึงการดูแลสุขภาพทางจิตโดยไม่มีมุมมองนี้ หากมองย้อนกลับไปในอดีต คุณอาจเคยพบตัวอย่างที่รู้จักกันดีอย่างโรคเครียดหลังเหตุการณ์ร้ายแรง (PTSD) ในทหารหรือสมาชิกในครอบครัว
กว่าโรคเครียดหลังเหตุการณ์ร้ายแรง (post-traumatic stress disorder-PTSD) จะได้รับการบรรจุเข้าในเกณฑ์การวินิจฉัยกลุ่มโรคทางจิตเวชฉบับที่สาม (Diagnostic and Statistical Manual of Mental Disorders-DSM-III) ก็เป็นช่วงปี 1980 แล้ว
นั่นเป็นการวินิจฉัยทางจิตที่เกี่ยวข้องกับบาดแผลทางใจอย่างเป็นทางการเป็นครั้งแรก และถือเป็นจุดเริ่มต้นของการเคลื่อนไหวที่กว้างขวางกว่านั้น ในปี 1994 องค์กรการให้บริการทางสุขภาพและการติดสารเสพติด (Substance Abuse and Mental Health Services Administration-SAHMHSA) จัดการประชุม Dare to vision ขึ้น ซึ่งเป็นการอภิปรายโดยเน้นประเด็นเรื่องของบาดแผลทางใจ
ในการประชุมครั้งนี้ ผู้ที่ได้รับบาดแผลทางใจได้มาแลกเปลี่ยนว่าการปฏิบัติตามมาตรฐานของโรงพยาบาลทำให้เกิดความเจ็บปวดซ้ำและกระตุ้นความทรงจำของการถูกทำร้ายก่อนหน้านี้ หลังจากนั้นงานวิจัยเรื่องนี้ก็เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เช่น recovery model การเคลื่อนไหวดังกล่าวเป็นไปอย่างรวดเร็วเนื่องจากการสนับสนุนและการลงข้อมูลอย่างเป็นระบบของผู้ที่เคยได้รับบาดแผลทางใจมาก่อน
อะไรเป็นนิยามที่สื่อความได้ดีของบาดแผลทางใจ?
โชคไม่ดีที่ความหมายของคำนี้กว้างมาก และอาจครอบคลุมถึงคนทุกคนได้ด้วยซ้ำ ซึ่งทาง SAMHSA ก็ได้ให้นิยามของคำนี้ไว้ในปี 2014 ว่า
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง
บาดแผลทางใจเกิดขึ้นจากเหตุการณ์หรืออาจเป็นเหตุการณ์ต่อเนื่องหลาย ๆ เหตุการณ์ หรือสถานการณ์ที่คนคนหนึ่งต้องประสบ โดยเป็นอันตรายต่อทางร่างกายหรือจิตใจ หรืออาจอันตรายถึงแก่ชีวิต และมีผลกระทบต่อการทำงานของคนคนนั้น หรือสุขภาพจิต สุขภาพกาย สังคม อารมณ์ หรือจิตวิญญาณ
ผลระยะยาวของบาดแผลทางใจคืออะไร ?
บาดแผลทางใจสามารถส่งผลกระทบต่อแทบจะทุกสิ่งของคนคนหนึ่ง ทั้งสุขภาพกาย การพัฒนาของสมอง ความสัมพันธ์ และความสามารถในการจัดการกับสถานการณ์ โดยงานวิจัยในหัวข้อนี้กำลังเพิ่มขึ้น ในขณะนี้เรากำลังเริ่มเข้าใจแล้วว่า ช่วงของพัฒนาการสมองในขณะที่ได้รับบาดแผลนั้นมีผลกระทบได้ ตัวอย่างเช่น หากคุณได้รับบาดแผลดังกล่าวเมื่ออายุเจ็ดปี ผลกระทบที่เกิดขึ้นก็จะไม่เหมือนกับกรณีที่คุณได้รับบาดแผลตอนอายุสิบเจ็ดปี
เมื่อเราเรียนรู้เกี่ยวกับผลกระทบในเชิงลึกของบาดแผลทางใจ ก็พบว่ายังมีข่าวดีอยู่บ้าง นักวิจัยแสดงให้เห็นว่าผลกระทบของบาดแผลทางใจไม่ได้เป็นสิ่งถาวร สมองของคุณสามารถพัฒนาและรักษาตัวหลังการบาดเจ็บได้
การดูแลการบาดเจ็บทางใจจะทำได้อย่างไร ?
SAMHSA โต้ว่า ความเข้าใจโดยทั่วไปเรื่องบาดแผลทางใจของผู้เชี่ยวชาญบางคนนั้นไม่เพียงพอที่จะทำให้การฟื้นตัวของผู้ได้รับบาดแผลดังกล่าวดีขึ้น การดูแลบาดแผลทางใจต้องถูกแทรกไว้ในวัฒนธรรมของบริษัท และทุกระดับในบริษัทนั้นต้องรู้ โดยทาง SAMHA วางรากฐานเรื่องนี้เอาไว้สี่ข้อ คือ
- สมาชิกของระบบการดูแลบาดแผลทางใจรู้ว่าสิ่งนี้สามารถลุกลามได้ แต่ก็มีศักยภาพในการฟื้นตัว
- แต่ละคนต้องได้รับการสอนให้ตระหนักถึงอาการและอาการแสดงของบาดแผลทางใจ
- นโยบาย กระบวนการ และการฝึกฝนต้องสร้างขึ้นโดยที่คำนึงถึงเรื่องนี้ด้วย
- ระบบการดูแลบาดแผลทางใจต้องต้านทานกับสิ่งที่ทำให้เกิดบาดแผลทางใจซ้ำได้
แทนที่จะสร้างนโยบายขึ้นมา แต่ทาง SAMHSA ได้ผลักดันหลักการหกประการในการดูแลแทน ดังนี้
- ความปลอดภัย
- ความไว้เนื้อเชื่อใจและความโปร่งใส
- การสนับสนุนอย่างเท่าเทียม
- ความร่วมมือและความผูกพัน
- การทำให้ถูกต้อง ความคิดเห็น และทางเลือก
- วัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ และประเด็นทางเพศ