กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

รวมข้อควรรู้ก่อนทำจมูก วัสดุ การดูแลตนเองทั้งก่อนและหลังทำ

รวมครบ จบใน 1 บทความ วัสดุสำหรับทำจมูกมีอะไรบ้าง ข้อดีข้อเสียเป็นอย่างไร รวมวิธีดูแลตนเองทั้งก่อนทำและหลังทำจมูก
เผยแพร่ครั้งแรก 2 ส.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 2 ธ.ค. 2022 เวลาอ่านประมาณ 5 นาที
รวมข้อควรรู้ก่อนทำจมูก วัสดุ การดูแลตนเองทั้งก่อนและหลังทำ

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • ศัลยกรรมจมูก เป็นการศัลยกรรมที่กำลังเป็นที่นิยมสูงในประเทศไทย และมีอยู่หลายเทคนิค วัสดุเพื่อตอบสนองผู้เข้ารับบริการที่ต้องการทรงจมูกที่ต่างกันไป
  • การผ่าตัดศัลยกรรมจมูกแบบมาตรฐาน และนิยมทำกัน จะเป็นศัลยกรรมจมูกโดยใช้ซิลิโคน ซึ่งปัจจุบันได้มีการพัฒนาซิลิโคนแบบพิเศษ สำหรับผู้ที่มีเนื้อจมูกน้อย ซึ่งทำให้มีข้อจำกัดในการทำศัลยกรรมจมูกมากกว่าคนทั่วไป
  • การใช้กระดูกอ่อนซี่โครงทำศัลยกรรมจมูก เป็นอีกทางเลือกสำหรับผู้ที่ปลายจมูกสั้น เนื้อจมูกน้อย แต่ต้องการให้ปลายจมูกพุ่ง ทรงดูยาว หรือการศัลยกรรมจมูกด้วยเนื้อเยื่อเทียม ก็ช่วยลดอาการแพ้ กันจมูกทะลุได้ และทำให้เซลล์ของใบหน้าเข้าไปเจริญเติบโตในเนื้อเยื่อนี้ได้ด้วย
  • ผู้เข้ารับบริการจะต้องปรึกษา และให้แพทย์เป็นผู้ให้คำแนะนำ รวมถึงตรวจลักษณะทรงจมูกเดิมของตนเองก่อน เพื่อที่แพทย์จะได้วิเคราะห์ว่า สามารถทำศัลยกรรมจมูกได้ด้วยเทคนิคไหน ทรงจมูกแบบไหนที่ตอบโจทย์กับใบหน้าผู้เข้ารับบริการที่สุด
  • เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจเสริมจมูก

การทำจมูก เป็นการศัลยกรรมที่ช่วยให้ใบหน้าดูสมบูรณ์โดดเด่น และมีมิติขึ้น ซึ่งปัจจุบัน การศัลยกรรมจมูกเป็นประเภทของการศัลยกรรมที่ได้รับความนิยมอันดับต้นๆ ในประเทศไทย

โดยทรงจมูกซึ่งผู้เข้ารับบริการมักต้องการก็คือ ทรงหยดน้ำ และทรงดั้งโด่งให้ปลายพุ่ง แต่ทั้งนี้ การทำจมูกยังมีข้อมูลหลายส่วนที่ผู้เข้ารับบริการจะต้องศึกษาเสียก่อน ทั้งปัจจัยเกี่ยวกับลักษณะจมูกเดิม การดูแลตนเองอย่างถูกต้อง เพื่อให้ผลลัพธ์ของทรงจมูกที่ได้ออกมา เป็นดั่งที่ใจต้องการ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

วัสดุสำหรับทำจมูก

การทำจมูกควรทำเมื่อผู้ใช้บริการมีอายุมากกว่า 16 ปี ขึ้นไป เพื่อให้โครงสร้างของใบหน้ามีการเจริญเติบโตเต็มที่ และไม่มีการเปลี่ยนแปลงแล้ว โดยการทำจมูกนั้นจะมีการใช้วัสดุ 3 แบบ ดังนี้          

1. การทำจมูกด้วยซิลิโคนมาตรฐาน

ซิลิโคนในการทำจมูกจะแบ่งออกได้ 2 แบบด้วยกัน และการเลือกวัสดุซิลิโคนว่า ควรใช้แบบใดจะขึ้นอยู่กับการพิจารณาของศัลยแพทย์ เพราะต้องคำนึงถึงปัจจัยเกี่ยวกับลักษณะจมูกในแต่ละคนด้วย เช่น เนื้อจมูก ความยาวของจมูก ปลายจมูก ทรงจมูกที่ต้องการ 

  • ซิลิโคนแบบธรรมดา เหมาะกับผู้ที่มีเนื้อจมูกหนา เพราะซิลิโคนแบบนี้จะค่อนข้างแข็ง ในอนาคตจมูกจะได้ไม่บิดเอียงจนผิดรูป
  • ซิลิโคนแบบพิเศษ เหมาะกับผู้ที่มีเนื้อจมูกน้อย เพราะจะทำให้จมูกดูเป็นธรรมชาติ ดั้งไม่ดูแข็งเป็นสันชัดเจนมาก

ถึงแม้ว่าซิลิโคนแต่ละแบบจะถูกจัดมาเพื่อความเหมาะสมของผู้เข้ารับบริการแต่ละรายแล้ว แต่หากผู้เข้ารับบริการมีปลายจมูกสั้น หรือเนื้อจมูกน้อยและยังต้องการจะทำจมูกทรงหยดน้ำ โอกาสที่ปลายจมูกทะลุก็จะมีสูงและเกิดอันตรายได้ 

ดังนั้นศัลยแพทย์จะใช้วิธีเติมปลายจมูกด้วยกระดูกอ่อนเข้าไป โดยกระดูกอ่อนนี้จะได้มาจากกระดูกหลังใบหู ผนังกั้นจมูก หรือกระดูกอ่อนจากซี่โครงของผู้เข้ารับบริการเอง 

ซึ่งข้อดีของการเติมปลายจมูกแบบนี้คือ ปลายจมูกจะไม่เป็นปลายแหงนจนเห็นรูจมูกชัด ดูเป็นธรรมชาติมากขึ้น และลดความเสี่ยงที่ซิลิโคนด้านในจะดันปลายจมูกจนบางแล้วทะลุออกมา

2. การทำจมูกด้วยกระดูกอ่อนซี่โครง

การทำจมูกด้วยวัสดุกระดูกอ่อนซี่โครง จะเป็นการนำกระดูกของตัวผู้เข้ารับบริการเองมาเสริมเป็นดั้งจมูก ซึ่งข้อดีคือ ตัววัสดุจะสามารถเข้ากับร่างกายผู้เข้ารับบริการได้ 100% เพราะเป็นเนื้อเยื่อจากร่างกายของผู้เข้ารับบริการเอง 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
เสริมจมูก แก้จมูกวันนี้ ที่คลินิกใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 2,910 บาท ลดสูงสุด 78%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

นอกจากนี้ จมูกที่ทำจากกระดูกอ่อนซี่โครงยังทำให้ทรงจมูกสวยได้ดีกว่า มีอาการบวม ยุบเร็ว และเหมาะกับผู้ที่มีปลายจมูกสั้น แต่ต้องการทำจมูกทรงที่ดูยาวและปลายพุ่ง 

อย่างไรก็ตาม การทำจมูกชนิดนี้ก็มีข้อเสียคือ เป็นการทำศัลยกรรมที่ยุ่งยาก ต้องใช้ศัลยแพทย์ที่มีความรู้ความชำนาญสูง มีการผ่าตัดใหญ่ และต้องนอนพักโรงพยาบาล 1 คืน

3. การทำจมูกด้วยเนื้อเยื่อเทียม

เนื้อเยื่อเทียม เป็นวัสดุที่สังเคราะห์ขึ้นมาจากคอลลาเจน มีลักษณะเป็นโครงข่ายซ้อนไขว้กันเป็นแผ่นนิ่มๆ คล้ายฟองน้ำเช่นเดียวกับโครงสร้างผิวของเรา และมีความใกล้เคียงกับเนื้อเยื่อจริงของมนุษย์มากที่สุด 

การทำจมูกด้วยเนื้อเยื่อเทียมกำลังค่อยๆ เป็นที่แพร่หลาย และได้รับความนิยมในวงการศัลยกรรม เนื่องจากเป็นนวัตกรรมการทำศัลยกรรมแบบใหม่ และมีข้อดีหลายประการ เช่น 

  • เป็นวัสดุสำหรับผู้เข้ารับบริการที่ต้องการแก้ทรงจมูกได้ เช่น ผู้เข้ารับบริการที่มีปัญหาเนื้อจมูกบางลงแล้วซิลิโคนที่เคยทำมาใกล้จะทะลุ ผู้เข้ารับบริการที่ต้องให้ปลายจมูกยาวขึ้น 
  • เป็นวัสดุที่เอื้ออำนวยให้เซลล์ผิวหนัง เส้นเลือด และคอลลาเจนของใบหน้าสามารถเจริญเติบโตบนเนื้อเยื่อเทียมนี้ได้อย่างเต็มที่ 
  • ป้องกันการทะลุของปลายซิลิโคนได้ดี ซึ่งถือเป็นจุดเด่นของการทำจมูกด้วยเนื้อเยื่อเทียมเลยก็ว่าได้ 
  • มีโครงสร้างไม่ต่างจากเนื้อเยื่อผิวหนังของเรา จึงลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ อาการแพ้ และไม่ทำให้ผิวจมูกบางลงด้วย

แต่ในข้อดีของเนื้อเยื่อเทียม ก็ยังมีข้อควรระวังเกี่ยวกับการใช้วัสดุประเภทนี้อยู่ นั่นคือ จะต้องมีการแต่งปลายและเสริมดั้งจมูกอย่างพอดี มิฉะนั้นจะทำให้ทรงจมูกดูแปลก ปลายดูพุ่งไม่เป็นธรรมชาติได้

วิธีการเลือกขนาดของจมูก

โดยปกติก่อนการทำศัลยกรรมจมูก ศัลยแพทย์จะมีการปรึกษากับผู้เข้ารับบริการถึงทรงจมูกที่อยากได้ รวมทั้งความยาวของปลายจมูกว่าต้องการให้พุ่งมากน้อยเท่าไร 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
เสริมจมูก แก้จมูกวันนี้ ที่คลินิกใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 2,910 บาท ลดสูงสุด 78%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

จากนั้น ศัลยแพทย์จะตรวจลักษณะจมูกเดิมของผู้รับบริการ เช่น ความยาว ความหนาของเนื้อจมูกว่า ควรมีการตกแต่งเพิ่มเพื่อความสวยงามอย่างไรบ้าง รวมทั้งให้คำแนะนำกับผู้เข้ารับบริการด้วยว่า ควรทำจมูกด้วยวัสดุแบบใด

ขั้นตอนการทำจมูกเป็นอย่างไร อันตรายหรือไม่

หากเป็นการทำจมูกโดยวัสดุซิลิโคนก็มักจะเป็นการผ่าตัดขนาดเล็ก โดยศัลยแพทย์จะให้ยานอนหลับ หรือให้ยาชาบริเวณจมูกก่อนทำ 

ผู้เข้ารับบริการอาจรู้สึกเจ็บบ้างขณะฉีดยาชา เพราะศัลยแพทย์จะต้องฉีดให้ยาอยู่ทั่วบริเวณที่ต้องผ่าตัดเพื่อใส่ซิลิโคน และผู้เข้ารับบริการอาจรู้สึกตึงจมูกขณะที่ศัลยแพทย์ใส่ซิลิโคนลงไปด้านในจมูก 

หลังเสร็จสิ้นการผ่าตัด ผู้เข้ารับบริการจะมีความรู้สึกระบมเจ็บอยู่บ้างเมื่อยาชาหมดฤทธิ์ รวมถึงใบหน้าอาจมีรอยช้ำเป็นจ้ำ และบวมขึ้นใกล้กับบริเวณที่ทำจมูก โดยระยะเวลาของอาการนี้จะขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล 

ผู้เข้ารับบริการบางรายจะรู้สึกเจ็บไปประมาณ  2-3 วัน ในขณะที่บางรายจะเจ็บเพียง 1 คืนหลังทำจมูกเท่านั้น ส่วนอาการช้ำและบวมโดยปกติจะยุบลงในวันที่ 4 หลังการผ่าตัด แต่ในผู้เข้ารับบริการบางรายก็จะไม่มีอาการบวมช้ำให้เห็นเลย

การทำศัลยกรรมจมูกนั้นมีความปลอดภัยสูง โดยส่วนมากผู้เข้ารับบริการมักจะไม่มีอาการแพ้เกิดขึ้น แต่ทั้งนี้ ก็ขึ้นอยู่กับวิธีการดูแลตนเอง และรักษาแผลหลังการผ่าตัดด้วย รวมทั้งมาตรฐานของซิลิโคนที่ศัลยแพทย์นำมาใช้ว่า มีความปลอดภัยสูงมากน้อยเพียงใด 

ซึ่งก่อนที่ผู้เข้ารับบริการจะทำจมูก ก็ควรศึกษาถึงประวัติของคลินิก หรือโรงพยาบาลที่ไปเข้ารับการศัลยกรรมว่ามีชื่อเสียง และได้มาตรฐานหรือไม่

การเตรียมตัวก่อนทำจมูก

  • แจ้งศัลยแพทย์และพยาบาลว่า มีโรคประจำตัวหรือมีอาการแพ้ยาใดๆ หรือไม่ รวมถึงประวัติการใช้ยาในปัจจุบันด้วย
  • ควรใส่เสื้อที่ติดกระดุมด้านหน้า เพื่อลดความเสี่ยงในการเสียดสีของเนื้อจมูกกับตัวเสื้อ 
  • งดน้ำและอาหารอย่างน้อย 6 ชั่วโมง แต่ในกรณีนี้ขึ้นอยู่คำแนะนำของศัลยแพทย์ เพราะในการผ่าตัดทำจมูกบางกรณีก็ไม่จำเป็นต้องอดน้ำและอาหาร
  • งดแต่งหน้า และควรสระผมให้เรียบร้อยเสียก่อน
  • งดการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และงดสูบบหรี่
  • เตรียมหมอนหนุนประมาณ 2-3 ใบไว้เพื่อใช้หนุนเวลานอน เนื่องจากผู้เข้ารับบริการจำเป็นต้องนอนศีรษะสูงหลังการผ่าตัด
  • เตรียมชุดทำความสะอาดแผล และรูจมูกให้พร้อม เช่น สำลีแบบก้านและแบบแผ่น น้ำเกลือล้างแผล ผ้าขนหนู เจลแพ็คสำหรับประคบเย็น ยาแก้ปวด

การดูแลตนเองหลังทำจมูก

  • ช่วงเวลา 1-2 วันแรกให้ประคบด้วยความเย็นจากเจลแพ็ค หรือผ้าเย็นเพื่อลดอาการระบมเจ็บ
  • นอนศีรษะสูง หรืออาจต้องนั่งหลับแทนการนอนเพื่อรักษาโครงจมูกที่เพิ่งผ่าตัดมาให้เข้าที่เสียก่อน ซึ่งโดยปกติ ศัลยแพทย์มักจะให้ผู้เข้ารับบริการนอนศีรษะสูงเป็นเวลา 7 วัน
  • หลังจากผ่านไป 2 วันแล้ว ให้ประคบอุ่นเพื่อลดรอยช้ำ
  • ไม่รับประทานอาหารรสจัด งดการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และสูบบุหรี่
  • สามารถล้างหน้าได้แต่ต้องกระทำเบาๆ หรือใช้ผ้าขนหนูเช็ดแทน
  • แต้มยาบริเวณแผลที่ผ่าตัดตามที่ศัลยแพทย์สั่ง
  • หากมีอาการปวด ให้รับประทานยาแก้ปวดได้
  • งดการออกแรง หรือทำงานหนักชั่วคราว ระมัดระวังการลื่นหกล้ม หรือทำให้ใบหน้าถูกกระแทก
  • หลีกเลี่ยงการเล่นกีฬา การออกกำลังกายที่มีโอกาสเสี่ยงจะทำให้ล้ม เกิดการกระแทก หรือเกิดความดัน เช่น ชกมวย ดำน้ำ ซึ่งการดูแลตนเองข้อนี้ควรทำไปตลอด ไม่ใช่แค่เฉพาะช่วงหลังจากทำจมูกใหม่ๆ เท่านั้น
  • เข้ารับการตรวจตามนัดทุกครั้ง เพื่อตรวจเช็กแผล และทรงจมูกว่าเข้าที่หรือไม่ 

ราคาการทำจมูก

ราคาการทำจมูกจะขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้เข้ารับบริการว่าใช้วัสดุอะไร หากเป็นซิลิโคน หรือกระดูกอ่อน ราคาก็จะอยู่ที่ประมาณ 15,000-120,000 บาท โดยราคานี้อาจแตกต่างกันไปตามค่าบริการ ศัลยแพทย์ที่ทำการผ่าตัดให้ รวมทั้งตัวคลินิก และโรงพยาบาลที่ผู้เข้ารับบริการเข้าไปใช้บริการ

การทำจมูกเป็นการทำศัลยกรรมที่ไม่ได้มีความซับซ้อนมากมาย เพียงแต่ต้องมีการดูแลรักษาอย่างถูกต้อง และมีการศึกษาหาข้อมูลอย่างถี่ถ้วนก่อนเข้ารับการบริการ 

มิฉะนั้นทรงจมูกที่ผู้เข้ารับบริการต้องการอาจไม่เป็นอย่างที่ฝัน รวมถึงอาจมีอันตรายเกิดขึ้น เช่น ทรงจมูกบิดเบี้ยว ปลายจมูกทะลุ หรือหากผู้เข้ารับบริการไม่ได้ดูแลรักษาแผลหลังผ่าตัดดีพอ ก็อาจส่งผลเสียให้ต้องเข้ารับการแก้จมูกหลายครั้งได้เช่นกัน

เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจเสริมจมูก จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android

บทความที่เกี่ยวข้องกับการเสริมจมูก


9 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
ตัดปีกจมูกเจ็บไหม ปลอดภัยไหม พักฟื้นกี่วัน ตอบครบที่นี่, (https://hdmall.co.th/c/alarplasty).
อาการหลังเสริมจมูก และข้อห้ามที่ควรระวัง, (https://hdmall.co.th/c/side-effects-of-rhinoplasty).
ตอกฐานจมูก คืออะไร ข้อดีข้อเสียเป็นยังไง?, (https://hdmall.co.th/c/nose-osteotomy).

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป