ทพญ. สิริพัชร ชำนาญเวช ทันตแพทย์ทั่วไป และศัลยศาสตร์ช่องปาก
เขียนโดย
ทพญ. สิริพัชร ชำนาญเวช ทันตแพทย์ทั่วไป และศัลยศาสตร์ช่องปาก

ฟันเหยิน จัดฟันได้ไหม ทำแบบไหนถึงให้ผลดี?

ฟันเหยินไม่ได้เป็นปัญหากับความงามหรือความมั่นใจเท่านั้น ฟันเหยินรุนแรงยังอาจส่งผลต่อสุขภาพในระยะยาวได้ วิธีแก้ปัญหาฟันเหยินหลักๆ คือ จัดฟัน ต้องจัดแบบไหน...อ่านเลย!
เผยแพร่ครั้งแรก 17 ม.ค. 2020 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
ฟันเหยิน จัดฟันได้ไหม ทำแบบไหนถึงให้ผลดี?

ฟันเหยิน คือการเรียงตัวที่ผิดปกติของฟัน มีลักษณะของฟันหน้าบนยื่นหรือบานกว่าปกติ บางรายเป็นน้อย บางรายเป็นมาก แก้ไขได้โดยการจัดฟัน

ผู้ที่ฟันเหยินอาจพิจารณาจัดฟันเพียงเพื่อความสวยงาม หรือในบางรายจำเป็นต้องจัดเนื่องจากฟันเหยินมาก ส่งผลให้การสบฟันผิดปกติ ไม่สามารถกัดอาหารให้ขาดด้วยฟันหน้าได้ หรือไม่สามารถปิดริมฝีปากให้สนิท นำไปสู่อาการปากแห้ง ฟันผุ เหงือกอักเสบ และโรคเหงือกในอนาคต

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจสุขภาพฟันวันนี้ ที่คลินิกใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 0 บาท ลดสูงสุด 100%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

นอกจากนี้การมีฟันเหยินยังอาจทำให้เกิดปัญหาพูดไม่ชัด กลืนลำบาก เคี้ยวเจ็บ เคี้ยวไม่สะดวก ปวดเจ็บข้อต่อขากรรไกร ปวดศีรษะ ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ เสี่ยงต่อฟันหน้าหักเมื่อล้มกระแทก รวมทั้งการสูญเสียความมั่นใจ

ฟันเหยินเกิดจากสาเหตุอะไร?

สาเหตุของฟันเหยินส่วนใหญ่มาจากกรรมพันธุ์ ลักษณะการเจริญเติบโตของขากรรไกรบนมากกว่าปกติ การเจริญเติบโตของขากรรไกรล่างน้อยกว่าปกติ

รวมไปถึงพฤติกรรมผิดๆ ที่เคยทำเป็นระยะเวลานาน เช่น

  • ดูดนิ้ว ดูดจุกหลอก ดูดนมขวด ที่ยังไม่เลิกใช้เมื่อเด็กอายุมากกว่า 3 ปี
  • หายใจทางปาก
  • กลืนผิดวิธี เช่น ใช้ลิ้นแลบดันระหว่างฟันหน้าบนและล่างขณะกลืน

การสูญเสียฟันน้ำนมบางซี่ไปก่อนเวลาอันควรจากโรคฟันผุ ก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ฟันแท้เรียงตัวผิดปกติได้

ในทางกลับกัน ในคนไข้ที่ขากรรไกรเล็ก แต่มีฟันซี่ใหญ่ ก็ทำให้เกิดการเหยินของฟันหน้าได้ นอกจากนี้ยังอาจเกิดจากปัญหาเกี่ยวกับข้อต่อขากรรไกร การมีเนื้องอกหรือถุงน้ำในขากรรไกรดันฟันให้เคลื่อนผิดตำแหน่ง ก็เป็นสาเหตุที่ทำให้ฟันเหยินเช่นกัน

ซึ่งหากมีเนื้องอกหรือถุงน้ำ มักมีอาการปวด บวม หรือเจ็บ ร่วมด้วย

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจสุขภาพฟันวันนี้ ที่คลินิกใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 0 บาท ลดสูงสุด 100%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

หากฟันเหยิน จะทำอย่างไรให้ดูดี ยิ้มสวย?

ฟันเหยินสามารถรักษาได้โดยการจัดฟัน เพื่อให้การเรียงตัวสวยงาม ยิ้มสวย ดูดี

ในการรักษาอาจต้องมีการถอนฟันแท้บางซี่ ซึ่งมักจะเป็นฟันกรามน้อยที่อยู่หลังจากฟันเขี้ยว เพื่อให้มีพื้นที่เพียงพอในการเรียงฟันถอยให้เหยินน้อยลงจนหายเหยินได้

การจัดฟัน ในบางรายจำเป็นและสามารถเริ่มทำได้ตั้งแต่ช่วงฟันชุดผสม (คือ ยังมีทั้งฟันน้ำนมและฟันแท้ อายุประมาณ 8-11 ปี)

เนื่องจากยังอยู่ในช่วงที่มีการเจริญเติบโต สามารถใช้เครื่องมือจัดฟันแบบถอดได้ชนิดต่างๆ ช่วยกำหนด จำกัด หรือกระตุ้นการเจริญเติบโตของขากรรไกรบนหรือล่างให้เป็นไปอย่างเหมาะสม

เพื่อป้องกันการเจริญผิดปกติของขากรรไกร ลดโอกาสที่จะต้องผ่าตัดขากรรไกรในอนาคต

ทั้งนี้ ทันตแพทย์เฉพาะทางจัดฟันจะเป็นผู้พิจารณาว่าควรเริ่มทำได้เลย หรือรอให้ถึงวัยที่ฟันน้ำนมหลุดเองหมดก่อน

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจสุขภาพฟันวันนี้ ที่คลินิกใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 0 บาท ลดสูงสุด 100%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

ผู้ปกครองสามารถพาบุตรหลานไปปรึกษาทันตแพทย์เฉพาะทางจัดฟันได้เลยตั้งแต่เริ่มเห็นความผิดปกติ

การแก้ฟันเหยินสามารถทำได้ทั้งจัดฟันแบบติดเหล็ก และจัดฟันแบบใส

ในคนไข้บางรายที่มีขากรรไกรบนยื่นอูมมาก หรือมีขากรรไกรล่างหดสั้นมากผิดปกติ ทันตแพทย์จะใช้การตรวจในช่องปากและการตรวจทางภาพถ่ายรังสี (X-ray) อาจพิจารณาจัดฟันร่วมกับการผ่าตัดขากรรไกร เพื่อให้ได้รูปโครงหน้าที่สวยงาม และโครงสร้างของกระดูกรองรับฟันที่เหมาะสมกับการจัดเรียงตัวของฟัน

ฟันเหยิน มาก ฟันเหยินนิดหน่อย ซี่เดียว จัดฟันได้ไหม?

ไม่ว่าจะฟันเหยินมาก น้อย หรือซี่เดียว ก็สามารถจัดฟันได้

หากเหยินมากอาจต้องมีการผ่าตัดขากรรไกรร่วมด้วยตามที่กล่าวไปแล้วข้างต้น

ผู้มีปัญหาฟันเหยินสามารถปรึกษาวางแผนกับทันตแพทย์จัดฟันเกี่ยวกับรูปแบบในการรักษา ระยะเวลา และค่าใช้จ่าย เพื่อประกอบการตัดสินใจก่อนเริ่มรับการรักษา

ถ้าไม่อยากจัดฟัน จะแก้ปัญหาฟันเหยินด้วยวิธีอื่นได้อย่างไร?

การแก้ปัญหาฟันเหยินโดยไม่จัดฟันนั้น แทบจะเป็นไปไม่ได้เลย

ยกเว้นกรณีที่เหยินเพียงเล็กน้อยมากๆ หรือเหยินเล็กน้อยเพียงบางซี่เท่านั้น อาจใช้วีเนียร์ในการปรับรูปร่างฟันได้ (กรอแต่งและใช้วัสดุเซรามิกแปะหน้าฟัน)

ทั้งนี้อาจช่วยได้ไม่มากนัก ต้องอยู่ในความเหมาะสมและดุลยพินิจของทันตแพทย์ แนะนำให้ปรึกษาทันตแพทย์เฉพาะทางจัดฟันเพื่อวางแผนการรักษาที่เหมาะสม


3 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
WebMD Medical Reference, Dental Health With Crooked Teeth and Misaligned Bites (https://www.webmd.com/oral-health/guide/crooked-teeth-misaligned-bites), 17 March 2019.
Adrienne Santos, What Causes Buck Teeth (Overbite) and How Do I Treat Them Safely? (https://www.healthline.com/health/buck-teeth#what-not-to-do), 21 March 2019.
Absolute Dental, Your Overbite Guide: Causes and Treatment Methods (https://www.absolutedental.com/blog/overbite-causes-and-treatments/), 24 May 2017.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
รวมรูปแบบและราคาการจัดฟันโดยประมาณ
รวมรูปแบบและราคาการจัดฟันโดยประมาณ

จัดฟันมีกี่แบบ แตกต่างกันอย่างไร ราคาประมาณเท่าไหร่บ้าง

อ่านเพิ่ม
จัดฟันแบบใส ราคาเท่าไหร่ แพงไหม? ผ่อนชำระได้หรือเปล่า?
จัดฟันแบบใส ราคาเท่าไหร่ แพงไหม? ผ่อนชำระได้หรือเปล่า?

จัดฟันแบบใส เพิ่มความมั่นใจ ดูแลรักษาง่าย และหมดปัญหาเครื่องมือบาดปากอีกต่อไป

อ่านเพิ่ม
รวมพิกัดคลีนิคจัดฟัน 13 ย่านดังรอบกรุงเทพ
รวมพิกัดคลีนิคจัดฟัน 13 ย่านดังรอบกรุงเทพ

อยากจัดฟัน แต่ไม่รู้จะเริ่มต้นอย่างไร และไม่รู้ว่าจะไปจัดฟันที่ไหนดี HonestDocs มีคำตอบให้

อ่านเพิ่ม