วริษา ศรีเปลี่ยนจันทร์
เขียนโดย
วริษา ศรีเปลี่ยนจันทร์
นพ.วรพันธ์ พุทธศักดา
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
นพ.วรพันธ์ พุทธศักดา

เลือดคั่งในสมองเป็นอย่างไร อาการที่สังเกตได้ และวิธีรักษา

รวมข้อมูลเลือดคั่งในสมอง อาการเป็นอย่างไร วิธีรักษา โรคที่เสี่ยงทำให้เกิด
เผยแพร่ครั้งแรก 30 พ.ย. 2020 อัปเดตล่าสุด 17 ธ.ค. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 17 ธ.ค. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
เลือดคั่งในสมองเป็นอย่างไร อาการที่สังเกตได้ และวิธีรักษา

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • ภาวะเลือดคั่งในสมอง หรือที่เรียกอย่างถูกต้อง คือ "ภาวะเลือดออกในสมอง" หมายถึง ภาวะที่หลอดเลือดในสมองเกิดฉีกขาดจนทำให้มีเลือดออกในสมอง และสร้างความเสียงหายต่อสมองรวมถึงระบบประสาท
  • ภาวะเลือดคั่งในสมองเป็นภาวะที่ต้องรีบนำตัวผู้ป่วยส่งโรงพยาบาลทันที มิฉะนั้นอาจเป็นอันตรายต่อชีวิตได้ โดยอาการของภาวะนี้ ได้แก่ สับสนเฉียบพลัน การมองเห็นพร่าเบลอ คลื่นไส้อาเจียน ปากเบี้ยว แขน ขาเป็นอัมพาต เสียการทรงตัว 
  • ภาวะเลือดคั่งในสมองมักเกิดจากโรคเกี่ยวกับหลอดเลือด และสมอง เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดสมองโป่ง โรคฮีโมฟีเลีย อาการบาดเจ็บที่ศีรษะด้วย
  • ผู้ป่วยที่เคยมีภาวะเลือดคั่งในสมองมักต้องได้รับการฟื้นฟูร่างกายส่วนที่ได้รับความเสียหายจากภาวะดังกล่าว เช่น กายภาพบำบัด ฝึกพูด
  • เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจสมอง

เมื่อพูดถึงภาวะเลือดคั่งในสมอง หลายคนต้องนึกถึงอาการฉุกเฉินร้ายแรงที่ต้องเข้ารับการรักษาโดยด่วนและมักลงเอยด้วยการผ่าตัดสมอง

แต่เมื่อถามถึงที่มาที่ไปของภาวะนี้ ยังมีหลายคนที่ไม่ทราบว่า มันเกิดจากอะไร แล้วรักษาให้หายได้หรือไม่

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
กายภาพบำบัดและนวดเพื่อการรักษาวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 198 บาท ลดสูงสุด 92%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

ความหมายของภาวะเลือดคั่งในสมอง

ภาวะเลือดออกในสมอง หรือที่นิยมเรียกกันว่า “ภาวะเลือดคั่งในสมอง”(Intracerebral Hemorrhage) คือ ภาวะที่เกิดขึ้นอย่างเฉียบพลัน โดยเกิดจากหลอดเลือดในสมองฉีกขาด ทำให้มีเลือดออกในสมองจนสร้างความเสียหายต่อสมองและระบบประสาท

เมื่อเกิดภาวะเลือดคั่งในสมอง ผู้ป่วยจะมีอาการแสดงออกมาดังต่อไปนี้

  • อ่อนเพลียอย่างกะทันหัน
  • มีอาการสับสนเฉียบพลัน ไม่สามารถสื่อสารกับผู้อื่นได้ ทั้งการพูด อ่าน ฟัง หรือเขียน
  • ปวดศีรษะและวิงเวียนศีรษะอย่างรุนแรง
  • การมองเห็นพร่าเบลอ
  • คลื่นไส้อาเจียน
  • ปากเบี้ยว
  • พูดลำบาก
  • กลืนอาหารลำบาก
  • แขน ขาเป็นอัมพาต
  • เสียการทรงตัว ไม่สามารถยืน หรือเดินได้

นอกจากอาการแสดงที่กล่าวไปข้างต้น ผู้ป่วยยังอาจเกิดอาการแทรกซ้อนที่รุนแรงได้อีก เช่น มองไม่เห็นเลย สมองบวม อารมณ์แปรปรวน หรือซึมเศร้า มีไข้สูง ความทรงจำเลอะเลือน ปอดบวม เป็นอัมพาต

หากคุณพบว่า คนใกล้ตัวมีอาการคล้ายกับเป็นภาวะเลือดคั่งในสมองควรรีบนำส่งโรงพยาบาลโดยด่วน เพราะยิ่งมีเลือดออกในสมองมากเท่าไหร่ ก็มีความเสี่ยงที่เลือดจะไปขับแรงดันในโพรงกะโหลกให้สูงขึ้น ทำให้เลือดไปเลี้ยงสมองไม่เพียงพอ และอาจทำให้เสียชีวิตได้

สาเหตุของภาวะเลือดคั่งในสมอง

ความเสื่อมของหลอดเลือดตามวัยมักเป็นสาเหตุหลักของภาวะเลือดคั่งในสมอง จึงมักพบโรคนี้มากในผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 40-60 ปีขึ้นไป แต่ก็ยังมีสาเหตุอื่นที่สามารถทำให้เกิดภาวะนี้ได้อีก เช่น

  • อาการบาดเจ็บที่ศีรษะ หรือประสบอุบัติเหตุที่ศีรษะอย่างรุนแรง
  • โรคความดันโลหิตสูง (Hypertension)
  • โรคหลอดเลือดสมองโป่ง (Ruptured cerebral aneurysm)
  • โรคเนื้องอกสมอง (Brain tumor)
  • โรคหลอดเลือดสมองผิดปกติ หรือโรคเอวีเอ็ม (Arteriovenous Malformation: AVM)
  • มีการใช้ยาเจือจางเลือด (Blood thinners) หรือยาต้านการแข็งตัวของเลือด
  • ใช้ยาเสพติด เช่น สารโคเคน หรือยาบ้า (Methamphetamine)
  • โรคที่มีอาการแสดงเป็นอาการเลือดออก เช่น โรคฮีโมฟีเลีย (Hemophilia)
  • พฤติกรรมดื่มสุรา สูบบุหรี่ ซึ่งมีส่วนทำให้ความดันโลหิตสูง ร่างกายได้รับสารพิษที่เข้าไปทำลายระบบต่างๆ ของร่างกาย

การรักษาภาวะเลือดคั่งในสมอง

เมื่อเกิดภาวะเลือดคั่งในสมอง ผู้ป่วยจะต้องรีบเข้ารับการรักษาโดยด่วนภายใน 3 ชั่วโมงหลังจากเกิดอาการ โดยวิธีรักษาสำคัญของภาวะนี้คือ การผ่าตัด เพื่อนำก้อนเลือดที่ออกในสมองออก และเพื่อรักษาหลอดเลือดสมองส่วนที่ฉีกขาด

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
กายภาพบำบัดและนวดเพื่อการรักษาวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 198 บาท ลดสูงสุด 92%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

นอกจากนี้แพทย์อาจจ่ายยาควบคุมความดันโลหิต เพื่อลดความดันเลือดในกะโหลกศีรษะ รวมถึงลดอาการสมองบวม และอาจจ่ายยากันชัก หากผู้ป่วยมีอาการชักเกร็งเกิดขึ้น

ภายหลังการรักษาแบบฉุกเฉินแล้ว แพทย์จะเริ่มกระบวนการฟื้นฟูสภาพร่างกายผู้ป่วยที่ได้รับความเสียหายจากสมอง เช่น การทำกายภาพบำบัด หากผู้ป่วยเป็นอัมพาต หรือเคลื่อนไหวร่างกายซีกใดซีกหนึ่งไม่ได้ การฝึกพูด หากผู้ป่วยพูดไม่ชัด

ค่าใช้จ่ายในการรักษาภาวะเลือดคั่งในสมองอาจสูง และต้องจ่ายเป็นระยะยาว นอกจากกระบวนการผ่าตัดเพื่อให้ผู้ป่วยพ้นจากภาวะฉุกเฉินแล้ว ยังต้องมีการทำกายภาพบำบัด และฟื้นฟูร่างกายในส่วนอื่นๆ เพื่อให้ผู้ป่วยกลับมาใช้ชีวิตประจำวันได้อีก

วิธีป้องกันภาวะเลือดคั่งในสมอง

ภาวะเลือดคั่งในสมองมักเกิดจากโรคประจำตัวเกี่ยวกับหลอดเลือด และสมอง รวมถึงพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่ไม่เหมาะสม

ดังนั้นเพื่อป้องกันและลดความเสี่ยงการเกิดโรคนี้ คุณจึงปฏิบัติตามคำแนะนำต่อไปนี้

  • งดดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
  • งดสูบบุหรี่
  • งดเสพยาเสพติด
  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์
  • หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีไขมันสูงเป็นประจำ
  • หมั่นออกกำลังกาย
  • พักผ่อนให้เพียงพออยู่เสมอ
  • หากมีโรคประจำตัว เช่น โรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดสมอง ให้หมั่นไปตรวจสุขภาพ และอาการของโรคกับแพทย์เป็นประจำ รวมถึงรักษาอาการของโรคนี้ให้อยู่ในเกณฑ์ปลอดภัย เช่น ตรวจหัวใจ 
  • ระมัดระวังการเดิน การเคลื่อนไหว เพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุ หรือหากต้องนั่งมอเตอร์ไซด์ควรสวมหมวกกันน็อคทุกครั้ง

ภาวะเลือดคั่งในสมองเป็นภาวะอันตรายร้ายแรงที่ส่งผลต่อชีวิตประจำวันของผู้ป่วย และอาจเสียชีวิตได้หากรับการรักษาไม่ทันเวลา ผู้ที่มีความเสี่ยงเป็นภาวะนี้จึงต้องรักษาสุขภาพให้ดี

หากมีโรคประจำตัวก็ควรหมั่นไปตรวจอาการกับแพทย์ เพื่อป้องกันไม่ให้โรคลุกลามกลายเป็นภาวะเลือดคั่งในสมองได้

เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจสมอง จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


4 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Seunggu Han, Intracerebral Hemorrhage (https://www.healthline.com/health/lobar-intracerebral-hemorrhage), 26 November 2020.
Assoc Prof Frank Gaillard and Dr Jeremy Jones, Intracerebral hemorrhage (https://radiopaedia.org/articles/intracerebral-haemorrhage), 16 November 2020.
อ.นพ.วราวุธ กิตติวัฒนากูล, Intracerebral Hemorrhage (https://neurosci.kku.ac.th/wp-content/uploads/2009/09/5-3-8.pdf), 26 พฤศจิกายน 2563.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
สาเหตุของการปวดหลัง
สาเหตุของการปวดหลัง

อาจไม่ใช่เรื่องเล่นๆ ที่เป็นแล้วหาย แต่เป็นสัญญาณเตือนของร่างกายที่ต้องเฝ้าระวัง

อ่านเพิ่ม
ปวดรองช้ำ
ปวดรองช้ำ

โรครองช้ำ หรือโรคเอ็นฝ่าเท้าอักเสบ มีอาการอย่างไร เกิดได้จากสาเหตุใดบ้าง วิธีการรักษา พร้อมวิธีการนวดเพื่อบรรเทาอาการของโรครองช้ำด้วยตัวเอง

อ่านเพิ่ม
วิธีการรักษา เมื่อกล้ามเนื้อฉีก
วิธีการรักษา เมื่อกล้ามเนื้อฉีก

อุบัติเหตุเกิดขึ้นได้โดยไม่มีใครคาดคิด ทำอย่างไรห้ามกล้ามเนื้อของคุณฉีกขาด

อ่านเพิ่ม