พญ. พิมพกา ชวนะเวสน์ แพทย์เฉพาะทางด้านสูติศาสตร์ นรีเวชวิทยา และเวชศาสตร์การเจริญพันธุ์
เขียนโดย
พญ. พิมพกา ชวนะเวสน์ แพทย์เฉพาะทางด้านสูติศาสตร์ นรีเวชวิทยา และเวชศาสตร์การเจริญพันธุ์

เลือดล้างหน้าเด็ก คืออะไร มีจริงหรือไม่?

เลือดล้างหน้าเด็กที่คุณอาจได้ยินบ่อยๆ จนเข้าใจไปว่าทุกคนที่ตั้งครรภ์ต้องเคยประสบ แต่ความจริงแล้วในทางการแพทย์กลับไม่มีคำจำกัดความของภาวะนี้!
เผยแพร่ครั้งแรก 17 ม.ค. 2020 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
เลือดล้างหน้าเด็ก คืออะไร มีจริงหรือไม่?

เลือดล้างหน้าเด็ก เป็นภาวะที่พูดถึงกันบ่อย

บ้างก็ว่าเป็นอาการแสดงของการตั้งครรภ์ระยะแรก หรือเมื่อทราบว่าตั้งครรภ์อ่อนๆ และมีเลือดออก บางคนคิดว่าเป็นเรื่องปกติ คือเป็นเลือดล้างหน้าเด็ก

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ฝากครรภ์ คลอดบุตรวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 79 บาท ลดสูงสุด 65%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

แต่ในความจริงแล้ว ทางการแพทย์ไม่ได้มีคำจำกัดความของภาวะนี้ เลือดที่ออกทางช่องคลอดในช่วงเริ่มต้นของการตั้งครรภ์ที่อาจเป็นได้ในบางคน คือเลือดที่ออกจากการฝังตัวของตัวอ่อน (Implantation bleeding)

เลือดที่ออกจากการฝังตัวของตัวอ่อน คืออะไร มีกลิ่นไหม มากี่วัน?

เลือดที่ออกจากการฝังตัวของตัวอ่อน คือ เลือดที่ออกตอนที่ตัวอ่อนฝังตัวเข้าไปในโพรงมดลูก

ซึ่งเหตุการณ์นี้จะเกิดขึ้นหลังการปฏิสนธิของไข่และอสุจิ 7-9 วัน

จะเห็นว่า ภาวะนี้เกิดขึ้นก่อนที่ประจำเดือนจะขาดประมาณ 1 สัปดาห์ อาจเป็นช่วงก่อนทราบว่าตั้งครรภ์ด้วยซ้ำ

ภาวะดังกล่าวซึ่งหลายคนเรียกกันว่า “เลือดล้างหน้าเด็ก” พบแค่ในผู้หญิงบางคน และไม่ได้เป็นภาวะที่พบได้บ่อย เลือดที่ออกจากภาวะนี้เป็นเลือดลักษณะปกติ ออกมาในปริมาณเล็กน้อยและในระยะเวลาสั้นๆ แค่ 1-2 วันเท่านั้น

เลือดล้างหน้าเด็ก (เลือดที่ออกจากการฝังตัวของตัวอ่อน) จำเป็นต้องมีหรือไม่?

อย่างที่กล่าวไปแล้วข้างต้น การตั้งครรภ์ปกติ ส่วนใหญ่แล้วไม่มีเลือดออก แต่ถ้ามีเลือดออกในปริมาณเล็กน้อย ในช่วงวันดังกล่าว และหายไปเอง อาจเป็นได้ว่าเป็นเลือดออกจากการฝังตัวของตัวอ่อน

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ฝากครรภ์ คลอดบุตรวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 79 บาท ลดสูงสุด 65%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

เวลามีเลือดล้างหน้าเด็ก (เลือดที่ออกจากการฝังตัวของตัวอ่อน) จะมีอาการปวดท้องร่วมไหม?

หากเป็นเลือดที่ออกจากการฝังตัวของตัวอ่อน จะไม่มีอาการผิดปกติอื่นร่วมด้วย คือ ไม่มีอาการปวดท้องน้อย ตกขาวผิดปกติ หรือมีไข้

กรณีไหนบ้าง ที่ควรไปพบแพทย์?

เมื่อทราบว่าตั้งครรภ์แล้ว โดยทั่วไปการตั้งครรภ์ปกติไม่ควรมีเลือดออกทางช่องคลอด

หากมีเลือดออกทางช่องคลอดในช่วงไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์ (ตั้งแต่ทราบว่าตั้งครรภ์ จนอายุครรภ์ 14 สัปดาห์หรือ ประมาณ 3 เดือน) มักจะเป็นเลือดที่เกิดจากภาวะแทรกซ้อนของการตั้งครรภ์ไตรมาสแรก

ควรไปพบแพทย์ โดยเฉพาะถ้าเลือดออกมาก ลักษณะเหมือนประจำเดือน มีชื้นเนื้อหลุด หรือมีอาการปวดท้องร่วมด้วย

ภาวะแทรกซ้อนของการตั้งครรภ์ไตรมาสแรก เกิดจากอะไรได้บ้าง?

ภาวะแทรกซ้อนของการตั้งครรภ์ไตรมาสแรกเกิดได้จากหลายสาเหตุ ที่สำคัญได้แก่

1. แท้ง

ภาวะแท้งมีหลายแบบ ตั้งแต่แบบที่ไม่อันตราย สามารถตั้งครรภ์ต่อจนคลอดได้ เรียกว่า แท้งคุกคาม จนถึงการแท้งที่เป็นอันตรายต่อทั้งมารดาและทารกในครรภ์ เช่น แท้งไม่ครบ ที่อาจทำให้เลือดออกมากจนเกิดภาวะช็อก

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ฝากครรภ์ คลอดบุตรวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 79 บาท ลดสูงสุด 65%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

2. ตั้งครรภ์นอกมดลูก

คือการตั้งครรภ์ที่มีตำแหน่งการฝังตัวของทารกผิดปกติ แทนที่จะฝังตัวในโพรงมดลูก กลับไปฝังตัวที่ตำแหน่งอื่น เช่นท่อนำไข่

การตั้งครรภ์นอกมดลูกนี้เป็นการตั้งครรภ์ที่ไม่สามารถดำเนินต่อได้ และอาจเป็นอันตราย ทำให้เกิดเลือดออกในช่องท้อง เสียเลือดมาก และเกิดภาวะช็อกในผู้ป่วยบางราย

ยังมีการตั้งครรภ์ผิดปกติอื่นๆ เช่น การตั้งครรภ์ไข่ปลาอุก ท้องลม ภาวะเหล่านี้ก็ทำให้มีเลือดออกทางช่องคลอดได้เช่นกัน การจะทราบว่า เลือดที่ออกในช่วงตั้งครรภ์ไตรมาสแรกนั้นเกิดจากอะไร ต้องอาศัยการซักประวัติ ตรวจร่างกาย ตรวจภายใน และอาจต้องมีการตรวจอัลตราซาวด์ร่วมด้วย

ดังนั้น ถ้าตั้งครรภ์อยู่แล้วมีเลือดออก ควรไปพบแพทย์ทันทีเพื่อความปลอดภัยของทั้งคุณแม่และลูกในท้อง


3 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
ประภาพร สู่ประเสริฐ, ฉลอง ชีวเกรียงไกร, เฟื่องลดา ทองประเสริฐ, ทวิวัน พันธศรี. สูตินรีเวชเชียงใหม่. เชียงใหม่: ภาควิชาสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2558.
กิตติรัตน์ เตชะไตรศักดิ์, ประสงค์ ตันมหาสมุทร, มงคล เบญจาภิบาล, อรรถพล ใจชื่น, ธันยารัตน์ วงศ์วนานุรักษ์. ตำรานรีเวชวิทยา ฉบับเรียบเรียงครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: ภาควิชาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล, 2560.
Berek JS, Berek DL, Hengst TC, Barile G, Novak E. In: Berek & Novak’s gynecology 15th ed. Philadelphia: Wolters Kluwer Health/Lippincott Williams & Wilkins, 2012.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป