กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD
ทีมแพทย์ HD
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
ทีมแพทย์ HD

จริงหรือที่เด็กทารกในครรภ์ก็รับรู้ความรู้สึกต่างๆ จากภายนอกได้

เผยแพร่ครั้งแรก 5 ก.พ. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 27 ก.พ. 2019 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
จริงหรือที่เด็กทารกในครรภ์ก็รับรู้ความรู้สึกต่างๆ จากภายนอกได้


ปัจจุบันทางการแพทย์ได้ทดสอบและได้ยอมรับแล้วว่า เด็กทารกในครรภ์นั้นมีความสามารถในการรับรู้สิ่งรอบๆ ตัวของเขาได้ตั้งแต่อยู่ในครรภ์ของแม่ เนื่องจากสมองของทารกเริ่มก่อตัวตั้งแต่ 2 สัปดาห์ในครรภ์ และมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องจนถึงหลังคลอด โดยระดับการรับรู้นั้นจะค่อยๆ พัฒนาตามอายุครรภ์ด้วย โดยการรับรู้หลักที่เด็กทารกสามารถรับรู้ได้คือแสงสว่าง เสียง กลิ่นและการรับรส การเคลื่อนไหวและการสัมผัสต่างๆ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

การรับรู้แสงสว่าง

เมื่อเด็กทารกที่อยู่ในครรภ์มีอายุ 29 สัปดาห์ ทารกจะสามารถลืมตาและมองเห็นผนังมดลูกที่โอบอุ้มตัวเองไว้ ต่อมาเมื่ออายุครรภ์มากขึ้นเรื่อยๆ ผนังมดลูกจะบางลงเรื่อยๆ แสงสว่างจากภายนอกจะสามารถผ่านเข้าสู่ภายในมดลูกได้ ทำให้เด็กทารกรู้จักความแตกต่างระหว่างกลางวันและกลางคืน คุณแม่สามารถส่องไฟฉายจากซ้ายไปขวา หรือเปิดปิดเป็นจังหวะเพื่อเล่นกับลูกได้ แสงที่ส่องสว่างเข้ามาจะกระตุ้นการรับรู้และพัฒนาการของเด็ก ซึ่งข้อมูลนี้เกิดจากการทดสอบทางการแพทย์ ด้วยการลองฉายแสงส่องลงไปบริเวณมดลูก จากนั้นก็ใช้อัลตราซาวน์ทดสอบดูปฏิกิริยาของเด็กทารกในครรภ์ ปรากฏว่าเมื่อฉายแสงลงไปเด็กทารกจะยกมือขึ้นปิดหน้าผากในลักษณะบังแสง และระดับการเต้นของหัวใจเด็กทารกก็จะเพิ่มสูงขึ้นกว่าปกติ

การรับรู้ด้านเสียง

เด็กทารกที่อยู่ในครรภ์มีอายุ 16 สัปดาห์ ทารกเริ่มจะได้ยินเสียงต่างๆ ทั้งเสียงหัวใจเต้นของแม่ เสียงการไหลเวียนของกระแสเลือด หรือแม้กระทั่งเสียงดังจากภายนอกมดลูก เช่น เสียงพูดคุยของพ่อแม่ เสียงจากดนตรี หรือเสียงดังๆ จากหนังที่แม่ดูด้วย เคยมีตัวอย่างที่คุณแม่ที่ตั้งครรภ์อยู่และไปดูหนังที่ต้องมีฉากที่มีเสียงดัง หรือเสียงกรีดร้องลั่น เด็กทารกในครรภ์จะดิ้น เพราะเด็กทารกในครรภ์ได้ตอบสนองถึงเสียงที่ได้ยินนั้นเอง รวมไปถึงเสียงพูดของพ่อแม่ด้วย มีการทดสอบและยืนยันผลแล้วจากนักวิทยศาสตร์ว่า หากพ่อแม่ได้พูดคุยกับลูกตั้งแต่อยู่ในครรภ์อย่างสม่ำเสมอ เมื่อคลอดลูกออกมาแล้ว เด็กทารกจะสามารถจดจำเสียงพ่อและแม่ได้ทันทีและสามารถตอบรับด้วยการพยายามหันไปทางต้นเสียงของพ่อแม่ ซึ่งเด็กทารกจะมีปฏิกิริยาและแยกแยะเสียงของพ่อแม่จากเสียงของคนอื่นได้ทันทีหลังจากคลอดออกมาและจะสามารถจดจำพ่อแม่ได้ภายใน 4 วันหลังจากคลอดออกมาแล้วแม้ว่าสายตาจะมองเห็นในระยะเพียงแค่ 1 ฟุตเท่านั้น

นอกจากนั้นหากในช่วงที่ตั้งครรภ์ หากคุณแม่ได้เปิดเพลงที่มีบรรยากาศแบบอบอุ่น รู้สึกอารมณ์เย็น อย่างเพลงคลาสิกพร้อมกับการพูดคุยกับลูกอย่างสม่ำเสมอ เมื่อเด็กคลอดออกมาและร้องไห้โย้เย การเปิดเพลงเดิมที่เคยเปิดให้ลูกฟังกลับมีผลให้เด็กมีอารมณ์สงบลงได้อย่างน่าประหลาดใจ ทั้งนี้เป็นเพราะเด็กทารกสามารถจดจำเสียงเพลงที่เคยได้ยินสมัยที่อยู่ในครรภ์ ซึ่งภาวะนั้นเด็กจะรู้สึกปลอดภัยและสงบนั่นเอง

การรับรู้กลิ่นและการรับรส

เด็กทารกที่อยู่ในครรภ์มีอายุ 15 สัปดาห์ ทารกจะเริ่มสร้างอวัยวะที่ใช้ในการรับรส และเมื่อครรภ์มีอายุ 24 สัปดาห์จะเริ่มสร้างเซลล์ที่ใช้ในการรับกลิ่น จากการศึกษาทางการแพทย์พบว่าทารกแรกเกิดมักจะชอบกลิ่นอาหาร เช่น กลิ่นกระเทียม ผักชี แครอท มากกว่ากลิ่นของอาหารอื่นๆ เนื่องจากเป็นกลิ่นของอาหารที่คุณแม่รับประทานระหว่างตั้งครรภ์ ทำให้ทารกเกิดความคุ้นชินกลิ่นของอาหารตั้งแต่อยู่ในครรภ์

การรับรู้ด้านการสัมผัสและการเคลื่อนไหว

ในสัปดาห์ที่ 6 ทารกในครรภ์จะเริ่มมีสัญชาติญาณ และการเคลื่อนไหวเพื่อการโต้ตอบ เนื่องจากว่าเด็กที่ทารกเมื่อตอนอยู่ในครรภ์นั้นจะลอยไปลอยมา ยิ่งคุณแม่เคลื่อนไหว ร่างกายของเด็กทารกในครรภ์ก็จะขยับเคลื่อนไหวไปด้วย การเคลื่อนไหวในลักษณะที่ลอยไปลอยมา เด็กทารกจะสัมผัสกับผิวด้านในของมดลูกตลอดเวลา ซึ่งมีผลต่อการพัฒนาระบบประสาทรับความรู้สึกของทารกรวมทั้งพัฒนาการเติบโตของกล้ามเนื้อ นอกจากนั้นเด็กทารกยังรู้จักการปรับตัวและรู้จักการรักษาความสมดุลย์ของร่างกายด้วย

จะเห็นได้ว่าเด็กทารกในครรภ์มีความสามารถในการรับรู้และจดจำความรู้สึกต่างๆ จากสภาพแวดล้อมได้ พ่อแม่จึงควรระมัดระวังให้มากกับสิ่งแวดล้อมที่อยู่รอบๆ ตัวในช่วงระหว่างตั้งครรภ์ เพราะสิ่งเหล่านี้สามารถส่งผลกระทบต่อเด็กทารกในครรภ์ได้ หากเรารู้จักนำสิ่งเหล่านี้ไปปรับใช้เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ของเด็กทารกในครรภ์ก็จะทำให้เกิดผลดีกับตัวของลูกเองด้วยเช่นกันค่ะ


2 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Pichata Oangkanawin, Promotion and development of the fetal brain (https://tci-thaijo.org/index.php/VESTSU/article/download/.../61039/), 26 Feb 2019
Ferris Jabr, Study of Fetal Perception Takes Off (https://www.scientificamerican.com/article/study-of-fetal-perception-takes-off/), 26 Feb 2019

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
ทารกมีอัตราการเต้นของหัวใจช้า อันตรายหรือไม่
ทารกมีอัตราการเต้นของหัวใจช้า อันตรายหรือไม่

เรื่องง่ายๆ ที่คุณแม่ทุกคนต้องใส่ใจเพราะอัตราการเต้นของหัวใจสัมพันธ์กับความปลอดภัยของลูกน้อย

อ่านเพิ่ม
อะไรคือสัญญาณการฉีกขาดในภาวะตั้งครรภ์นอกมดลูก?
อะไรคือสัญญาณการฉีกขาดในภาวะตั้งครรภ์นอกมดลูก?

เรียนรู้สัญญาณการตั้งครรภ์นอกมดลูกก่อนที่มันจะฉีกขาด

อ่านเพิ่ม
ทำความเข้าใจกับภาวะตั้งครรภ์ที่ไข่ที่ปฏิสนธิไม่ฝังตัว (Chemical Pregnancy) ใช่หรือไม่ใช่?
ทำความเข้าใจกับภาวะตั้งครรภ์ที่ไข่ที่ปฏิสนธิไม่ฝังตัว (Chemical Pregnancy) ใช่หรือไม่ใช่?

การตั้งครรภ์ที่เร็วเกินไปที่จะยืนยันด้วยวิธีการทางชีวเคมี

อ่านเพิ่ม