กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

การติดยาเสพติด เกิดจากอะไร แก้ไขอย่างไรได้บ้าง

สำรวจสาเหตุทำให้เกิดปัญหายาเสพติด อะไรทำให้ผู้เสพหันไปเสพยา แล้วมีผลกระทบอย่างไร
เผยแพร่ครั้งแรก 10 ต.ค. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 5 นาที
การติดยาเสพติด เกิดจากอะไร แก้ไขอย่างไรได้บ้าง

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • การติดยาเสพติดเป็นปัญหาระดับประเทศที่เกิดจากผู้เสพยาไม่สามารถหยุดเสพสารเคมี หรือวัตถุประเภทที่เป็นยาเสพติดได้ โดยวิธีเสพมีหลายวิธี เช่น การรับประทาน การอม การดื่มร่วมกับน้ำ การสูดเข้าจมูก การฉีดเข้าเส้นเลือด
  • สาเหตุที่ทำให้เกิดปัญหาติดยาเสพติด มักเกิดจากสภาพจิตใจผู้เสพที่ย่ำแย่ ครอบครัวที่ไม่อบอุ่น การถูกชักชวนจากกลุ่มเพื่อน หรือการไม่ได้รับการยอมรับจากสังคม
  • การติดยาเสพติดสามารถส่งผลให้ผู้เสพเกิดโรคภัยต่างๆ ได้ง่ายขึ้น รวมถึงมีภาพลักษณ์กับพฤติกรรมแย่ลง เช่น เป็นโรคสมองเสื่อม เป็นโรคหัวใจ ติดเชื้อไวรัสเอชไอวี รูปร่างซูบผอม ริมฝีปากดำคล้ำ พูดจาไม่รู้เรื่อง ควบคุมอารมณ์ไม่ได้
  • การติดยาเสพติดเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดปัญหาก่ออาชญากรรมในครอบครัว และในชุมชนด้วย
  • เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจสารเสพติด

ยาเสพติดเป็นปัญหาระดับประเทศที่ยังไม่สามารถขจัดให้หมดไปได้ และยังเป็นสารที่ยังแพร่หลายในหมู่ผู้เสพ หรือผู้ที่อยากรู้อยากลองในรสชาติ หรือฤทธิ์ของสารอันตรายเหล่านี้ว่า ทำให้เกิดความรู้สึกอย่างไร

วันนี้เรามาดูข้อมูลกันว่า การเสพยาเสพติดแท้จริงเกิดจากอะไร มีปัจจัยอะไรที่นำไปสู่การเสพ และติดยาเสพติดได้บ้าง

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจสารพิษ สารเสพติดวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 194 บาท ลดสูงสุด 68% บาท

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

ความหมายของการติดยาเสพติด

การติดยาเสพติด คือ ภาวะที่ผู้เสพยาไม่สามารถหยุดเสพสารเคมี หรือวัตถุประเภทที่เป็นยาเสพติดได้ อีกทั้งต้องการเสพสารเหล่านั้นในปริมาณมากขึ้นกว่าเดิม ถึงแม้สารเหล่านั้นจะส่งผลกระทบ หรือเป็นโทษรุนแรงต่อร่างกายก็ตาม

ยาเสพติดที่มีชื่อเสียง และเป็นที่แพร่หลายในประเทศไทยได้แก่ ยาบ้า เฮโรอีน โคเคน กัญชา โดยวิธีการเสพสารเสพติดนั้นสามารถเสพได้หลายวิธี เช่น

  • การรับประทาน หรือเคี้ยว
  • การดื่มร่วมกับเครื่องดื่ม เช่น สุรา น้ำหวาน
  • การอมไว้ใต้ลิ้น
  • การสูดยาเข้าจมูกกรณีที่สารอยู่ในรูปแบบผงยา
  • การผสมยากับน้ำแล้วฉีดเข้าเส้นเลือด
  • การสูบยาเหมือนกับสูบบุหรี่
  • การสูบดมยาเหมือนสารระเหย

สาเหตุที่นำไปสู่การติดยาเสพติด

ผู้ที่ติดยาเสพติด หรือเริ่มเสพยาเสพติดมักมีปัจจัยที่ทำให้เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับสารอันตรายเหล่านี้ ดังต่อไปนี้

  • สภาพจิตใจ ผู้ที่มีภาวะเครียด ซึมเศร้า รู้สึกหาทางออกไม่ได้ หลายครั้งคนเหล่านี้มักหันไปพึ่งยาเสพติดเพื่อให้ตนเองหลุดพ้นจากความรู้สึกแย่ๆ ในโลกความเป็นจริง แล้วไปเสพติดความรู้สึกเพ้อฝัน หรือความรู้สึกมีความสุขที่เกิดจากฤทธิ์ยาแทน
  • เพื่อบรรเทาความกดดันจากสังคม นอกจากการเสพเพื่อบรรเทาความรู้สึกไม่มีความสุข ผู้ติดยาเสพติดบางรายยังติดยาจากการเสพเพื่อลดความรู้สึกกดดัน หรือเพื่อสร้างความสุขให้ตนเองชั่วคราวในช่วงไม่มีงานทำ เครียดจากงาน หรือหลังเลิกงานด้วย

    ผู้เสพยาบางรายยังเสพยาเพื่อให้ตนเองมีความกล้าในการคิด ทำ หรือพูดในสิ่งที่ไม่เคยกล้ามาก่อน เพื่อให้ตนเองโดดเด่นมากขึ้นในสังคม หรือในที่ทำงานด้วย

  • สภาพครอบครัวไม่อบอุ่น โดยเฉพาะในกลุ่มเด็กวัยรุ่นที่ไม่มีที่ระบายปัญหาในครอบครัว เช่น พ่อแม่มีปากเสียง หรือใช้ความรุนแรงต่อกัน มักหันมาพึ่งยาเสพติดเพื่อหลีกหนีภาพพ่อแม่ของตนเอง หรือทำร้ายร่างกายกัน

    เมื่อปัญหาไม่สามารถสะสางได้ เด็กก็จะเริ่มเปลี่ยนจากการเสพยาเพื่อหนีปัญหา มาเป็นการติดยาเสพติดอย่างถอนตัวไม่ได้

    นอกจากนี้เด็กที่ไม่ได้รับความรักจากพ่อแม่ยังต้องการเสพยาเพื่อให้ตนเองรู้สึกได้รับความรัก และความอบอุ่นอีกด้วย โดยความรู้สึกเหล่านั้นล้วนเกิดมาจากฤทธิ์ยาทั้งสิ้น

  • การรักษาโรค หลายครั้งที่การติดยาเสพติดเกิดมาจากการรับประทานยารักษาโรคต่างๆ แต่ผู้ป่วยเกิดอาการเสพติดยาดังกล่าวจนไม่สามารถหยุดการใช้ยานั้นได้ ซึ่งสาเหตุนี้เกิดขึ้นได้ทั้งจากยาที่แพทย์สั่ง รวมถึงยาที่ผู้เสพซื้อมารักษาตนเองโดยไม่ปรึกษาแพทย์ หรือเภสัชมาก่อน
  • สภาพแวดล้อมรอบตัว หากผู้เสพอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่คนในครอบครัว หรือคนรอบตัวเสพยาเสพติด ก็มีความเสี่ยงที่เขาจะกลายเป็นผู้เสพติดยาไปด้วย เพราะอาจได้รับการชักชวน หรือเกิดจากการอยากรู้อยากลองของเจ้าตัวเอง เพาะเห็นคนใกล้ชิดใช้ยา

  • เพื่อให้ได้รับการยอมรับ หลายครั้งที่ผู้เสพยาวัยรุ่นจำเป็นต้องลองเสพยาจนติดยาเพราะกลัวจะไม่ได้รับการยอมรับจากกลุ่มเพื่อนๆ ที่เสพยากันหมดทุกคน

    ผู้ติดยาเสพติดวัยรุ่นหลายคนยอมจ่ายเงินจำนวนมากเพื่อให้ได้เสพยาร่วมกันกับกลุ่มเพื่อน หรือยอมเป็นคนขายส่งต่อยาเสพติดเพื่อให้เพื่อนๆ ยอมรับตนเองเข้ากลุ่ม

  • เพื่อให้เกิดอารมณ์ทางเพศ ปัญหาสมรรถภาพทางเพศในหลายๆ คนสามารถนำไปสู่พฤติกรรมติดยาเสพติดได้ เพราะยาเสพติดหลายชนิดมีฤทธิ์ช่วยให้เกิดอารมณ์ทางเพศได้ดี อีกทั้งช่วยให้เกิดความสุขทางเพศขณะมีเพศสัมพันธ์มากขึ้นด้วย 
  • การใช้สารเสพติดบ่อยๆ โดยไม่รู้ตัว ปัจจัยนี้อาจเกิดได้กับสารเสพติดประเภทสารระเหยเป็นส่วนมาก เพราะเป็นสารที่อยู่ในผลิตภัณฑ์เครื่องใช้รอบตัว และบางครั้งผู้ใช้สารเหล่านี้ก็เผลอสูดดมสารเข้าไปบ่อยๆ จนเสพติดกลิ่นของสารดังกล่าว

ผลกระทบจากการติดยาเสพติด

พฤติกรรมติดยาเสพติดนั้นส่งผลกระทบมากมายหลายด้าน เช่น

1. ต่อร่างกายผู้เสพ

สภาพร่างกายผู้เสพยาเสพติดจะเกิดความทรุดโทรมอ่อนแอ และง่ายต่อการเจ็บป่วย รวมถึงเป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนได้มากมายด้วย เช่น

  • ร่างกายอ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย
  • โรคสมองเสื่อม
  • โรคซึมเศร้า
  • โรควิตกกังวล
  • การทำงานของกล้ามเนื้อล้มเหลว
  • โรคหลอดลมอักเสบ
  • โรคหัวใจ
  • โรคมะเร็งปอด
  • โรคปอดอักเสบ
  • โรคไตอักเสบ
  • ติดเชื้อไวรัสเอชไอวี

ไม่เพียงแต่ร่างกายผู้เสพเท่านั้น แต่ภาพลักษณ์ภายนอก และพฤติกรรมของของผู้เสพยายังเปลี่ยนแปลงไปด้วย ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อความมั่นใจได้ เช่น

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจสารพิษ สารเสพติดวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 194 บาท ลดสูงสุด 68% บาท

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

  • พูดจาไม่รู้เรื่อง เรียงลำดับประโยคไม่ได้
  • อารมณ์ฉุนเฉียวง่าย มักคลุ้มคลั่งควบคุมอารมณ์ตนเองไม่ได้ หรือบางครั้งก็ซึมเศร้าลงอย่างกะทันหัน
  • เก็บเนื้อเก็บตัว ไม่เข้าสังคม
  • ขอบตาตำคล้ำ
  • สายตาเลื่อนลอย ไม่สามารถจ้องมองไปที่สิ่งใดสิ่งหนึ่งได้
  • ริมฝีปากดำ หรือเขี้ยวคล้ำ แห้งแตกเป็นสะเก็ด
  • ผิวหนังหยาบแห้ง มีรอยเข็มฉีดยา ทำให้ต้องสวมใส่เสื้อผ้าแขนยาวเท่านั้น
  • นิ้วมือดูสกปรก มีรอยสีเหลือง หรือสีดำตามซอกเล็บ
  • รูปร่างผอมซูบลง
  • มีกลิ่นตัว และกลิ่นปากแรง

นอกจากนี้ร่างกายผู้เสพจะเกิดอาการแสดงออกมาเมื่อขาดการเสพยา ซึ่งเสี่ยงต่อการเสียชีวิตได้ และยังทำให้ผู้อื่นมองว่า เป็นพฤติกรรมอันตรายอีกด้วย เช่น คลุ้มคลั่ง กระสับกระส่าย เหงื่อออกมาก มีไข้ คลื่นไส้อาเจียน หายใจถี่ กล้ามเนื้อกระตุก

2. ต่อครอบครัว

ผู้ติดยาเสพติดที่มีครอบครัวแล้ว ไม่ว่าจะเป็นผู้ใหญ่ หรือเด็ก ล้วนเสี่ยงทำให้อาจเกิดความรุนแรงในครอบครัวได้ เพราะผู้เสพมักต้องการเงินไปซื้อยาเสพติดเพิ่ม จนต้องข่มขู่ หรือรีดไถเงินจากคนใกล้ตัวเพื่อนำไปซื้อยา

ผู้เสพบางรายอาจคลุ้มคลั่งจากฤทธิ์ยาจนเผลอทำร้ายร่างกายคนในครอบครัวด้วย และรายได้ของครอบครัวยังอาจเสียไปกับการรักษาโรค หรือการบำบัดยาเสพติดจากตัวผู้เสพเอง

ผู้ที่อยู่ในครอบครัวที่มีชื่อเสียง หรือเป็นหน้าเป็นตาในสังคม หากติดยาเสพติดขึ้นมา ก็สามารถทำให้ครอบครัวเสื่อมเสียชื่อเสียง และนำมาซึ่งการทะเลาะเบาะแว้งในครอบครัว หรือสังคมได้

นอกจากนี้ยาเสพติดยังเป็นสาเหตุทำให้สมรรถภาพทางเพศเสื่อมได้ ซึ่งสามารถส่งผลกระทบต่อชีวิตคู่ของผู้ติดยาเสพติด เพราะทำให้ไม่สามารถตอบสนองอารมณ์ทางเพศต่อคู่รักได้ และนำไปสู่การทะเลาะกันระหว่างคู่สามีภรรยา

3. ต่อหน้าที่การงาน

พฤติกรรมการเสพยาเสพติดย่อมส่งผลทำให้ผู้เสพไม่ได้รับความไว้วางใจจากทางนายจ้าง รวมถึงทำให้ทางบริษัทเสื่อมเสียชื่อเสียงได้ หากตัวผู้เสพเกิดอาการคลุ้มคลั่งจากฤทธิ์ยาจนก่อเรื่องเดือดร้อนต่อผู้อื่น 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจสารพิษ สารเสพติดวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 194 บาท ลดสูงสุด 68% บาท

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

ดังนั้นผู้เสพยาไม่ว่าจะอยู่ในระยะเสพติดยาหรือไม่ ก็มีความเสี่ยงสูงที่จะถูกไล่ออกจากงาน

4. ต่อชุมชน

ชุมชน หรือสังคมที่มีผู้เสพยาเสพติดอาศัยอยู่ด้วยย่อมเสี่ยงเกิดอันตรายต่อผู้ร่วมอาศัยคนอื่นๆ ด้วย เพราะอาจเกิดการลักขโมย การฆ่าชิงทรัพย์ การจี้ ปล้น เพื่อนำเงิน และทรัพย์สอนไปซื้อยาเสพติดเพิ่ม

นอกจากนี้ผู้เสพยาเสพติดในชุมชนยังอาจคลุ้มคลั่งจากฤทธิ์ยาจนเผลอทำร้ายคนในชุมชนจนถึงแก่ชีวิตได้ และจะต้องโทษได้รับโทษทางกฎหมายซึ่งย่อมไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้น

แนวทางการแก้ไขการติดยาเสพติด

เมื่อพบว่า มีคนในครอบครัวมีพฤติกรรมติดยาเสพติด คุณสามารถแก้ไขได้ด้วยวิธีการต่อไปนี้

  • เข้าไปพูดคุยกับผู้เสพ โดยอย่าใช้อารมณ์ การพูดเสียงดัง หรือตะคอก รวมถึงอย่ากล่าวโทษผู้เสพ แต่ให้ใช้เหตุผล สอบถามสาเหตุที่ผู้เสพอยากเสพยา แล้วผู้เสพต้องการกำลังใจ การระบายอารมณ์หรือไม่ที่ทำให้ไม่นำไปสู่การเสพยา

  • พาผู้เสพไปพบแพทย์ หรือนักบำบัดเพื่อปรึกษาการบำบัดยาเสพติดต่อไป รวมถึงควรให้ผู้เสพเข้าพบจิตแพทย์ด้วย หากผู้เสพมีความกระทบกระเทือนด้านจิตใจมาก่อน
  • แยกตัวผู้เสพจากสิ่งแวดล้อมที่อาจเป็นตัวกระตุ้นทำให้ผู้เสพอยากเสพยามากขึ้น เช่น กลุ่มเพื่อน คนรู้จักที่น่าจะเป็นผู้ชักชวนให้เกิดการเสพยา
  • ทางญาติ รวมถึงคนใกล้ชิดผู้เสพควรศึกษาข้อมูลอาการติดยา รวมถึงอาการลงแดงเมื่ออยากยาเสพติด เพื่อจะได้รับมือกับอาการของผู้เสพได้ และจะได้เข้าใจว่า อาการที่เกิดขึ้นนั้นเกิดมาจากฤทธิ์ยา เพื่อทางคนใกล้ชิดจะได้อดทน เข้าใจ และสามารถเป็นกำลังใจสำคัญในการช่วยให้ผู้เสพสามารถเลิกยาสำเร็จได้

วิธีการบำบัดยาเสพติดโดยหลักๆ จะเป็นการเปลี่ยนความคิด และพฤติกรรมผู้เสพไม่ให้กลับไปอยากเสพยาอีก รวมถึงใช้ยารักษา เพื่อบรรเทาอาการอยากยาให้น้อยลง

การบำบัดรักษาเพื่อเลิกยาเสพติดมีหัวใจสำคัญอยู่ที่แรงใจของผู้เลิกยาว่า จะตั้งใจไม่กลับไปเสพยาได้มากแค่ไหน ซึ่งหลายคนจำเป็นต้องใช้กำลังใจสำคัญจากคนรอบข้าง และได้รับแรงจูงใจมากพอเพื่อให้สามารถเลิกยาได้สำเร็จ

นอกจากนี้ผู้เสพ และคนรอบตัวยังอาจต้องอดนต่อสู้กับโรคแทรกซ้อนซึ่งอาจเกิดจากการเสพยาเสพติดด้วย ซึ่งการรักษาจะหายขาดหรือไม่ ก็ขึ้นอยู่กับตัวโรคว่า ร้ายแรง และลุกลามไปถึงขั้นไหนแล้ว

เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาการติดยาเสพติดในสิ่งแวดล้อมใกล้ตัวคุณ คุณต้องเริ่มจากตัวคุณเองก่อน โดยไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับสารเสพติดทุกประเภท หากมีใครชักชวนให้เสพยา คุณต้องปฏิเสธคำชักชวนทุกกรณี ไม่ว่าผู้ชวนจะสนิทสนมกับคุณแค่ไหนก็ตาม

และหากคุณพบเห็นคนเสพยาเสพติด หรือมีการซื้อขายยาเสพติดในชุมชน อย่ารอช้าที่จะรีบแจ้งผู้ปกครอง ผู้ใหญ่ในชุมชน หรือเจ้าหน้าที่ตำรวจให้รีบจัดการปัญหายาเสพติดให้หมดไป

เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจสารเสพติด จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


4 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
ตรวจสารเสพติด ในปัสสาวะและเลือด อยู่ในร่างกายกี่วัน?, (https://hdmall.co.th/c/drug-test).
สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, ลักษณะผู้ติดยาเสพติด สาเหตุ และการป้องกัน (http://www.sri.cmu.ac.th/~nsac/All_Page/Knowledge/Behavior_of_Patient.htm), 17 สิงหาคม 2563.
คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล, เด็กติดยาเสพติด (https://med.mahidol.ac.th/ramamental/generalknowledge/06212014-1613#:~:text=โทษของการติดยาเสพติด&text=เสียบุคลิกภาพ%20ขาดความสนใจ,เนื้อและระบบประสาทบกพร่อง), 17 สิงหาคม 2563.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป