การเปลี่ยนแปลงที่เล็บเท้านั้นอาจเป็นสัญญาณของโรคบางอย่างได้ และผิวเล็บเท้าที่หนาขึ้นเรื่อยๆ นั้นก็อาจแสดงถึงการติดเชื้อราได้เช่นกัน ซึ่งหากไม่ได้รับการรักษา ก็จะทำให้เกิดอาการปวดและระคายเคืองบริเวณดังกล่าว
หากคุณพบว่าตนเองมีโอกาสจะติดเชื้อราที่เท้า ก็ควรรีบเข้ารับการรักษาทันที เพราะการติดเชื้อรานั้นรักษาได้ยาก และอาจต้องใช้ระยะเวลาในการรักษานานหลายเดือน
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
อาการของเชื้อราที่เล็บเท้า
อาการหลักๆ ที่มักพบเห็นบ่อยของการติดเชื้อราที่เล็บเท้าคือ เล็บเท้ามีความหนาที่ผิดปกติ แต่นอกจากนั้น ยังมีอาการอื่นๆ ซึ่งเป็นสัญญาณของการติดเชื้อราที่เล็บเท้าได้ เช่น
- เล็บเท้าเปลี่ยนสีเป็นสีเหลือง น้ำตาลหรือเขียว
- มีกลิ่นเหม็นออกมาจากเล็บเท้า
- เล็บเท้าหลุดออกมาจากนิ้วเท้า
- เล็บเท้าแตกเป็นชิ้น
- เล็บเท้ามีผิวเป็นขุย คล้ายกับผงฝุ่นชอล์ก
- ใต้เล็บเท้ามีสิ่งสกปรกอยู่ และไม่ได้ถูกทำความสะอาด
ในระยะแรกของการติดเชื้อ คุณอาจแค่รู้สึกว่ามีอาการแปลกๆ เกิดขึ้นบริเวณเล็บเท้าหรือนิ้วเท้าที่ติดเชื้อเท่านั้น แต่เมื่ออาการเริ่มหนักและรุนแรงมากขึ้น ก็จะเริ่มมีอาการเจ็บตามมา
สาเหตุของเชื้อราที่เล็บเท้า
การติดเชื้อราที่เล็บเท้ามักพบมากในผู้คนวัยผู้ใหญ่ ซึ่งภาวะนี้เกิดจากเชื้อราได้เข้าสู่เล็บเท้าโดยผ่านทางเล็บเท้าที่มีรอยแตก หรือแผลบริเวณผิวหนังที่สัมผัสกับเล็บเท้า จากนั้นก็จะเติบโตขึ้นโดยอาศัยความชื้นภายใต้เล็บเท้า โดยในช่วงแรก การติดเชื้อจะเริ่มจากบริเวณเล็กๆ ของเล็บเท้าก่อน และหลังจากนั้นเชื้อก็จะขยายวงกว้างออกไป และทำให้เล็บเท้าหนาขึ้น รวมถึงเกิดอาการข้างเคียงอื่นๆ ตามมา
ส่วนสาเหตุที่เชื้อรามักเกิดที่บริเวณเท้า หรือเล็บเท้านั้น นั่นก็เพราะบริเวณดังกล่าวมักจะสัมผัสกับอากาศที่เปียก ร้อนและชื้น ซึ่งความชื้นนั้นจะทำให้เชื้อราเติบโตได้ดีนั่นเอง
ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดเชื้อราที่เล็บเท้า
คุณจะมีแนวโน้มในการติดเชื้อราที่เท้ามากขึ้น จากปัจจัยต่อไปนี้
- การเดินเท้าเปล่าในสถานที่สาธารณะที่มีพื้นเปียก เช่น สระว่ายน้ำ ห้องอาบน้ำ และสถานที่ออกกำลังกาย
- เท้าไปสัมผัสกับน้ำสกปรกเช่น น้ำโคลน น้ำขยะ หรือเวลาน้ำท่วม เป็นเวลานานหรือบ่อยครั้งและไม่มีการทำความสะอาดให้เรียบร้อย
- การแช่น้ำนานๆ หรือบ่อยๆ
- ใส่รองเท้าที่รัดแน่นเกินไป
- เท้ามีเหงื่อออกมาก
- รองเท้าเปียก
- มีแผลที่เล็บเท้า
- มีการติดเชื้อราที่เท้าและลามมาที่เล็บเท้าด้วย
- ใช้ยาที่กดภูมิคุ้มกัน
- พันธุกรรม
- สูบบุหรี่
โรคประจำตัวที่ทำให้เกิดเชื้อราที่เท้า
นอกจากปัจจัยภายนอกที่กล่าวมาด้านบน คุณยังมีแนวโน้มที่จะติดเชื้อรามากขึ้นอีก หากคุณมีโรคประจำตัวต่อไปนี้
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง
- โรคเบาหวานชนิดที่ 1
- โรคเบาหวานชนิดที่ 2
- โรคเกี่ยวกับระบบไหลเวียนโลหิต
- โรคสะเก็ดเงิน
นอกจากนี้ การรักษาโรคมะเร็งนั้นยังสามารถเพิ่มความเสี่ยงต่อการติดเชื้อราที่เล็บได้ด้วย ดังนั้น หากคุณมีโรคประจำตัวและเกิดการติดเชื้อราไม่ว่าจะบริเวณไหนของร่างกาย คุณควรรีบไปพบแพทย์เพื่อทำการรักษาทันที เพราะเมื่อการติดเชื้อลุกลามรุนแรงขึ้น หรือเกิดจากภาวะแทรกซ้อนของโรคบางอย่าง เล็บเท้าอาจหนาถึงขั้นที่ทำให้คุณรู้สึกไม่สบายตัว หรือรู้สึกเจ็บขณะเดินได้ และจะส่งผลไปถึงการเคลื่อนไหวที่ยากลำบากขึ้น
นอกจากนี้ ถึงแม้คุณจะไม่มีโรคประจำตัวใดๆ ก็ตาม แต่การติดเชื้อราแล้วไม่ยอมเข้ารับการรักษาให้หายโดยเร็ว ก็สามารถเกิดเป็นภาวะแทรกซ้อนได้เช่นเดียวกัน
การวินิจฉัยเชื้อราที่เล็บเท้า
หากสังเกตพบความผิดปกติของเล็บเท้า คุณควรไปพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยอาการทันที เพราะการรักษาอาการติดเชื้อราตั้งแต่เพิ่งเริ่มเป็นนั้น จะช่วยป้องกันไม่ให้อาการติดเชื้อแย่ลงได้ วิธีการวินิจฉัยคือ แพทย์จะทำการตรวจเล็บเท้าเพื่อวินิจฉัยโรคก่อน และอาจมีการเก็บตัวอย่างจากใต้เล็บ หรือตัดเล็บบางส่วนเพื่อไปตรวจเพิ่มเติม
การรักษาเชื้อราที่เล็บเท้า
มีหลายวิธีในการรักษาเชื้อราที่เท้าซึ่งคุณสามารถเลือกได้ว่า จะลองรักษาที่บ้านเองก่อน หรือจะรักษาโดยปรึกษาแพทย์ไปเลย หรือเมื่อรักษาด้วยตนเองแล้วอาการไม่ดีขึ้น ก็ค่อยไปพบแพทย์เพื่อหาวิธีรักษาอื่นต่อไป ซึ่งส่วนมากการรักษาเชื้อราที่เท้าจะอยู่ในรูปของการใช้ยาทาที่แผล หรือเป็นยารับประทาน
การรักษาที่บ้าน
คุณสามารถทดลองใช้วิธีต่อไปนี้ในการรักษาเชื้อราที่เท้าได้
- ทำความสะอาดบริเวณที่ติดเชื้อราด้วยน้ำ และสบู่ทุกวัน
- ตัดเล็บอย่างสม่ำเสมอ และอาจใช้ครีมยูเรีย (Urea) เพื่อทำให้เล็บนิ่มลงก่อนแล้วพันทิ้งไว้ข้ามคืน จากนั้นจึงล้างออกและตัดเล็บ
- ทายาฆ่าเชื้อราที่เล็บเท้าหลังจากตัดเล็บเสร็จแล้ว
การรักษาโดยแพทย์
หากคุณอยากหายจากการติดเชื้อราที่เล็บเท้าโดยเร็วนั้น อาจต้องให้แพทย์เป็นผู้รักษาจะดีที่สุด โดยการรักษานั้นจะประกอบด้วย
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง
- ยาทา
- ยารับประทาน
- การเลเซอร์
- การถอดเล็บเพื่อทำการรักษาผิวหนังที่อยู่ใต้เล็บ
การรักษาการติดเชื้อราที่เล็บเท้านั้นใช้เวลานานหลายเดือน เพราะเล็บเท้าจะค่อยๆ งอกขึ้นมาอย่างช้าๆ และอาจต้องใช้เวลานานถึง 12-18 เดือนก่อนที่เล็บเท้าส่วนที่ติดเชื้อจะหลุดออกไปหมด หรือในกรณีที่ต้องถอดเล็บ คุณก็จำเป็นต้องรอให้เล็บเท้าใหม่งอกขึ้นมาซึ่งก็กินเวลานานเช่นเดียวกัน นอกจากนี้ คุณอาจมีการติดเชื้อราที่เท้าซ้ำได้หลังการรักษา หากคุณต้องการป้องกันไม่ให้การติดเชื้อกลับมาอีกครั้ง คุณสามารถปฏิบัติตามคำแนะนำต่อไปนี้ เพื่อป้องกันการติดเชื้อราได้
การป้องกันการติดเชื้อราที่เล็บเท้า
คุณสามารถป้องกันการติดเชื้อราที่เล็บเท้าได้ด้วยเคล็ดลับต่อไปนี้
- ดูแลเท้าให้สะอาดด้วยการล้างด้วยสบู่และน้ำเป็นประจำ จากนั้นให้เช็ดเท้าให้แห้งด้วย
- ดูแลเท้าให้แห้งให้ได้มากที่สุด หากเป็นไปได้ให้เปลี่ยนถุงเท้าวันละหลายๆ ครั้งด้วย และใส่ถุงเท้าที่ทำจากผ้าคอตตอนเพื่อช่วยลดความชื้นที่เท้า
- เปลี่ยนรองเท้าที่ใช้ในแต่ละวันเพื่อให้รองเท้าแห้งและไม่อับชื้นเกินไป รวมถึงเลือกซื้อรองเท้าที่ระบายอากาศได้ดีและไม่รัดเท้าแน่นจนเกินไป
- ใช้ผงทาเท้าที่ช่วยทำให้เท้าแห้ง
- ใส่รองเท้าแตะเวลาที่เดินในห้องเก็บของรวม หรือสระว่ายน้ำ
- ดูแลเท้าและตัดเล็บเท้าสม่ำเสมอ โดยเล็บเท้าไม่ควรยาวเกินขอบนิ้วเท้า
- ใช้อุปกรณ์ปลอดเชื้อเวลาที่ตัดเล็บเท้า และให้ทำความสะอาดอุปกรณ์ทุกครั้งหลังตัดเล็บ
- หากเคยติดเชื้อราที่เล็บมาก่อนและรักษาหายแล้ว ควรซื้อรองเท้าใหม่หลังจากที่รักษาเสร็จแทนการกลับไปใช้รองเท้าคู่เก่า
การป้องกันไม่ให้เกิดเชื้อรานั้นมีเคล็ดลับง่ายๆ นั่นคือ การรักษาความสะอาดบริเวณอวัยวะต่างๆ อยู่เป็นประจำ ไม่ใช่เพียงแค่เล็บเท้าเท่านั้น และรวมถึงมีการทำความสะอาดเสื้อผ้า เครื่องนุ่งห่ม อุปกรณ์ที่มีความเสี่ยงต่อการอับชื้นอยู่เสมอ
ให้จำไว้ว่า ที่อับชื้น ร้อน และเปียก คือแหล่งที่ทำให้เชื้อราเติบโตได้ดีที่สุด เราจึงควรหลีกเลี่ยงไม่ให้ร่างกายเกิดการอับชื้น หรืออยู่ในที่ที่อุณหภูมิอับ สกปรก และร้อน เพราะจากปัจจัยดังกล่าว ไม่ใช่แค่การเกิดเชื้อราเท่านั้นที่เป็นผลกระทบตามมา แต่ยังรวมไปถึงอาการป่วยของโรคอื่นๆ ที่อาจตามมาได้ด้วยเช่นกัน
ดูแพ็กเกจตรวจปรึกษาแพทย์ผิวหนังผ่านออนไลน์ เปรียบเทียบราคา โปรโมชั่นล่าสุดจากโรงพยาบาลและคลินิกชั้นนำได้ที่นี่ หรือไม่พลาดทุกการอัปเดตแพ็กเกจเหล่านี้ เมื่อกดเป็นเพื่อนทางไลน์ @hdcoth และกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android