กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD
ทีมแพทย์ HD
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
ทีมแพทย์ HD

ลดน้ำหนักหลังคลอดอย่างไรให้ได้ผลเร็ว

เผยแพร่ครั้งแรก 5 ก.พ. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 12 มี.ค. 2019 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
ลดน้ำหนักหลังคลอดอย่างไรให้ได้ผลเร็ว

หลังคลอดลูกแล้วโดยทั่วไป คุณแม่จะยังมีรูปร่างเหมือนตอนตั้งครรภ์ 6 เดือน ทำให้คุณแม่หลายคนผิดหวัง ท้อแท้ ที่จะลดน้ำหนักให้กลับมามีรูปร่างดีตามเดิม แต่ความจริงแล้วคุณแม่ที่เพิ่งคลอดลูกมานั้นสามารถกระชับหุ่น ลดน้ำหนัก ให้กลับมามีรูปร่างดีดั่งเดิมได้ โดยควรเริ่มบริหารร่างกายทันทีหลังคลอดลูกครบ 24 ชม. ด้วยเทคนิคที่เราบอกนี้จะสามารถทำให้คุณแม่กลับมามีหุ่นเพรียวสวยได้ภายใน 3 เดือน

การลดน้ำหนักด้วยท่าบริหารนั้น ควรเริ่มจากท่าง่ายๆ ไปสู่ท่าที่ยากขึ้น หนักขึ้น เมื่อลองปฏิบัติครบ 2 เดือนจะเห็นผลบางอย่าง โดยการบริหารร่างกายมีความเกี่ยวข้องกับภาวะซึมเศร้าหลังคลอดลดลง และช่วยป้องกันความเสี่ยงที่ของโรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูงอีกด้วย บางคนอาจจะยังไม่ได้กลับมาผอมเหมือนตอนยังไม่ตั้งครรภ์ แต่ก็มีการเปลี่ยนแปลงมากพอที่จะช่วยให้มีกำลังใจที่จะลดน้ำหนักต่อไปได้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

ข้อแนะนำในการบริหารร่างกายเพื่อลดน้ำหนักหลังคลอด

  1. ควรเริ่มจากท่าง่ายๆ เพื่อเป็นการอบอุ่นร่างกายก่อนทุกครั้ง
  2. เน้นการฝึกกายบริหารแบบสั้นๆ ใช้เวลาน้อยๆ แต่เน้นทำบ่อยๆ ดีกว่าท่าที่ต้องใช้เวลานาน
  3. ทำกายบริหารช้าๆ ไม่ควรหักโหมในเวลาเดียว แต่ควรทำอย่างสม่ำเสมอทุกวันจะได้ประโยชน์มากกว่า
  4. ให้เวลาพักระหว่างการบริหารแต่ละท่า เพื่อให้ร่างกายได้ผ่อนคลายบ้าง
  5. ให้หยุดพักทันที่ถ้ารู้สึกเหนื่อย บางครั้งอาจจะรู้สึกเหนื่อยง่าย 2 - 3 วันติดต่อกัน แสดงว่าร่างกายยังไม่พร้อม
  6. อย่าปล่อยให้การเลี้ยงลูกมาขัดขวางการริหารร่างกาย ควรแบ่งเวลาให้เหมาะสม

ท่าออกกำลังกายสำหรับคุณแม่หลังคลอด (หลังคลอด 24 ชั่วโมง)

  1. ให้ใช้ท่าออกกำลังกายเหมือนตอนที่ตั้งครรภ์ซึ่งคุณแม่สามารถออกกำลังกาย บริหารรูปร่างได้ทันทีหลังคลอด หรือจะนั่งนิ่งๆ บนเตียง การขมิบช่องคลอดสม่ำเสมอจะช่วยให้กล้ามเนื้อสามารถทำงานได้ดี กระชับตัวมากขึ้น
  2. เน้นที่การหายใจและควบคุมการหายใจด้วยกล้ามเนื้อกระบังลม เริ่มโดยนั่งหรือนอนแล้วใช้มือวางบนหน้าท้อง สูดหายใจเข้าลึกๆ ช้าๆ จนรู้สึกท้องป่องขึ้น แล้วค่อยๆ ผ่อนลมหายใจออกทางปากช้าๆ จนกล้ามเนื้อหน้าท้องแฟบลง

ท่าออกกำลังกายสำหรับคุณแม่หลังคลอด (ระยะ 3 วันแรกหลังคลอดลูก)

  1. ให้นอนหงายและยกศีรษะให้สูงเล็กน้อย ชันเข่าขึ้นมาและวางเท้าห่างเท่าช่วงสะโพก ใช้หมอนหนุนศีรษะและไหล่ วางมือแนบข้างลำตัว แล้วยกศีรษะขึ้นช้าๆ จนสุดแล้วปล่อยลงช้าๆ ทำซ้ำๆ วันละหลายๆ ครั้งทุกวันจนสามารถยกคางจรดอกได้ ท่านี้ใช้ได้ตลอด 3-4 สัปดาห์แรกหลังคลอด
  2. อีกท่าคือการบริหารขา เริ่มด้วยการนอนราบเหมือนท่าแรก ชันเข่าทั้ง 2 ข้าง จากนั้นลดขาขวาลงราบกับพื้นและยกกลับมาชันเขา และสลับข้างกันไปมา โดยพยายามให้หลังส่วนล่างติดพื้น ทำสลับทีละข้างซ้ายขวาสลับกันข้างละ 3-4 ครั้ง แล้วค่อยๆ เพิ่มจำนวนครั้งจนได้ข้างละ 12 ครั้ง ท่านี้สามารถทำจนครบ 3 สัปดาห์หลังคลอด
  3. ท่าบริหารอุ้งเชิงกราน เริ่มด้วยท่านอนเช่นเดิม หายใจเข้าพร้อมกับเกร็งกล้ามเนื้อหน้าท้อง หายใจออกพร้อมกับคลายกล้ามเนื้อ ทำซ้ำ 3-4 ครั้งต่อวันแล้วเพิ่มจำนวนไปจนได้ 12-24 ครั้ง

หลังจากบริหารท่าเหล่านี้ไปได้จนถึง 6 สัปดาห์หลังคลอด และได้รับการตรวจสุขภาพว่าทุกสิ่งกลับคืนสู่สภาพปกติแล้ว ก็จะสามารถออกกำลังกายได้ทุกชนิดตามที่ต้องการ แต่ไม่ควรหักโหมจนเกินไป และควรจะบริหารกล้ามเนื้อช่องคลอดอยู่เสมอจะช่วยให้กล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานกระชับและป้องกันการกลั้นปัสสาวะไม่อยู่อีกด้วย นอกจากนี้ยังควรบริหารกล้ามเนื้อหน้าท้องเพื่อช่วยลดอาการปวดหลัง หลอดเลือดขอด ปลายเท้าบวม และอาการตะคริวได้ และยังช่วยให้การไหลเวียนของเลือดในร่างกายดีขึ้นอีกด้วย


2 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Psychological effects of an aerobic exercise session and a rest session following pregnancy. Koltyn KF, Schultes SS J Sports Med Phys Fitness. 1997;37(4):287.
Effects of Exercise on Mild-to-Moderate Depressive Symptoms in the Postpartum Period: A Meta-analysis. McCurdy AP, BouléNG, Sivak A, Davenport MH Obstet Gynecol. 2017;129(6):1087.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)