ใส่บรานอน อันตรายจริงหรือ?

เผยแพร่ครั้งแรก 4 มิ.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
ใส่บรานอน อันตรายจริงหรือ?

โดยทั่วไปแล้ว เรามักใส่บราตอนกลางวัน แต่ก็อาจมีผู้หญิงบางคนที่ใส่บราขณะนอนตอนกลางคืนเช่นกัน อย่างไรก็ตาม คุณอาจเคยได้ยินมาว่าการสวมบรานอนอาจส่งผลเสียต่อร่างกาย บ้างก็บอกว่ามันสามารถเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็ง สำหรับคนที่สงสัยว่าการใส่บรานอนสามารถทำให้เกิดผลเสียหรือไม่ วันนี้เราจะพาคุณไปไขข้อข้องใจนี้พร้อมกันค่ะ

การสวมบราสามารถทำให้เกิดโรคมะเร็งจริงหรือ?

มีชาวอเมริกันเป็นโรคมะเร็งเต้านมมากกว่า 40,000 คนต่อปี ซึ่งมีหลายคนอ้างว่า การนอนโดยไม่ถอดบราสามารถทำให้ระบบน้ำเหลืองอุดตัน เพราะบราไปกดบริเวณต่อมน้ำเหลืองใต้วงแขน ทำให้สารพิษที่ก่อให้เกิดโรคมะเร็งไม่ถูกระบายออกมา อย่างไรก็ตาม ความเชื่อที่ว่านี้เริ่มต้นเมื่อกลางยุค 90 โดยมีที่มาจากหนังสือ Dressed to Kill: The Link Between Breast Cancer and Bras ซึ่งมีการระบุว่า การใส่บราอาจเป็นต้นเหตุของการเกิดโรคมะเร็งเต้านม

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

อย่างไรก็ตาม The American Cancer Society (ACS) ได้ออกมาชี้แจงแล้วว่าไม่เป็นความจริง ซึ่ง ACS ชี้ให้เห็นว่างานวิจัยในหนังสือไม่ได้มีวิธีการทางวิทยาศาสตร์ หรือการควบคุมทางวิทยาศาสตร์มารองรับอย่างเหมาะสม อีกทั้งยังไม่สามารถอธิบายถึงปัจจัยอื่นๆ ที่สามารถเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งในแต่ละคนได้

ทั้งนี้ ACS ได้ลองทำงานวิจัยที่แยกจากกันเพื่อหาความเป็นไปได้ว่าบราไปขัดขวางการระบายของต่อมน้ำเหลือง และเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งจริงหรือไม่ ซึ่งงานวิจัยชิ้นนี้ได้เฝ้าสังเกตคนไข้ที่ผ่าตัดเอาต่อมน้ำเหลืองใต้วงแขนออกแล้ว และพบว่าโรคมะเร็งเต้านมไม่ได้เกิดเพิ่มมากขึ้นในคนกลุ่มนี้ ในขณะที่งานวิจัยอีกชิ้นหนึ่งก็ยืนยันผลดังกล่าวเช่นกัน นักวิจัยได้ศึกษาผู้หญิง 1,000 คนที่เป็นโรคมะเร็งเต้านม และ 500 คนที่ไม่ได้เป็นโรคมะเร็ง ซึ่งทุกคนล้วนแต่อยู่ในวัยที่ผ่านพ้นวัยทองไปแล้ว งานวิจัยพบว่า การเกิดโรคมะเร็งเต้านมนั้นไม่ได้มีความเชื่อมโยงกับการใส่บราตลอดวัน ช่วงกลางวัน และกลางคืน ในงานวิจัยชิ้นนี้ จำนวนชั่วโมงเฉลี่ยที่ผู้หญิงใส่บราต่อวันไม่ได้มีความเชื่อมโยงกับโรคมะเร็ง

ใส่บราแล้วทำให้มีปัญหากับระบบหมุนเวียนเลือดจริงหรือ?

อีกหนึ่งข้อถกเถียงเกี่ยวกับการใส่บราตอนกลางคืนคือ มันจะไปกดหน้าอก และจำกัดการไหลเวียนโลหิต แต่ทั้งนี้ผู้เชี่ยวชาญอธิบายว่า การเกิดความรู้สึกไม่สบายตัวหรือเจ็บจากการใส่บรานอนนั้นสามารถเกิดขึ้นเมื่อบราไม่เหมาะกับขนาดหน้าอกหรือรัดแน่นมากเกินไป ซึ่งมันไม่เกี่ยวกับการสวมบรา แต่คุณอาจใส่บราที่ไม่เหมาะกับขนาดตัวก็เท่านั้นเอง

ใส่บราขณะนอนอาจมีประโยชน์

หากคุณเจ็บเต้านม นักวิจัยแนะนำว่าคุณสามารถบรรเทาอาการเจ็บโดยเลือกใส่บราที่มีขนาดเหมาะสม ซึ่งหมายความรวมถึงตอนนอน ตัวอย่างเช่น การใส่บราที่มีเนื้อนุ่มที่ช่วยพยุงหน้าอกให้เข้าที่ในขณะนอนจะช่วยให้อาการปวดหน้าอกที่เกิดก่อนมีประจำเดือนบรรเทาลง สำหรับคนที่ปวดหน้าอกชนิดที่ไม่เกี่ยวกับประจำเดือน การใส่บราที่ช่วยพยุงหน้าอกทั้งตอนกลางวันและกลางคืนทุกวันก็พอจะช่วยให้อาการดีขึ้นได้ นอกจากนี้การสวมบราชนิดที่ใส่หลังผ่าตัด หรือสปอร์ตบราที่สามารถเปิดจากด้านหน้าก็เป็นสิ่งที่แนะนำสำหรับผู้หญิงที่เพิ่งผ่าตัดเต้านม

อย่างไรก็ตาม การใส่บราขณะนอนถือเป็นทางเลือกส่วนบุคคล และเป็นเรื่องของความสะดวกสบาย คุณไม่ต้องกังวลว่ามันจะทำให้เกิดปัญหาสุขภาพ เพียงแต่คุณควรเลือกบราที่มีขนาดเหมาะกับหน้าอกของตัวเอง ซึ่งบราที่ดีจะต้องช่วยพยุงหน้าอก และไม่ทำให้รู้สึกเจ็บหรือระคายเคือง

ที่มา: https://www.curejoy.com/conten...


15 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Sleeping with socks on: Benefits and risks. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/321125)
Benefits of Sleeping Naked: Why It Can Be Key to a Good Night’s Sleep. Healthline. (https://www.healthline.com/health/benefits-of-sleeping-naked)
West K. (2018). Naked and unashamed: Investigations and applications of the effects of naturist activities on body image, self-esteem, and life satisfaction. DOI: (https://doi.org/10.1007/s10902-017-9846-1)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
สัญญาณเตือนแรกเกี่ยวกับโรคมะเร็งที่คุณควรรู้
สัญญาณเตือนแรกเกี่ยวกับโรคมะเร็งที่คุณควรรู้

คู่มือทำความเข้าใจโรคมะเร็งหลายชนิดและอาการของโรคมะเร็ง

อ่านเพิ่ม