อาการหิวในช่วงเวลากลางคืน ชนวนเหตุสำคัญ พร้อมวิธีแก้ไขอย่างตรงจุด

เผยแพร่ครั้งแรก 28 มี.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 11 ก.พ. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที

หนึ่งในปัญหาเกี่ยวกับพฤติกรรมการกินที่พบเห็นมากในสังคมก็คือ อาการหิวในช่วงเวลากลางคืน ซึ่งมักเกิดขึ้นแม้ว่าจะเพิ่งทานมื้อเย็นหมดไปแล้วก็ตาม ผู้ที่ประสบกับปัญหานี้จึงมักแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ...โดยการรับประทานเพิ่มเข้าไปอีกเพื่อดับความหิว เป็นพฤติกรรมที่ฟังดูแล้วก็ไม่น่าจะมีปัญหาอะไร เพราะถ้าหิวก็ต้องทาน แต่ความจริงแล้ว นี่แหละคือจุดเริ่มต้นของโรคอ้วน! และชนวนเหตุสำคัญอาจเกิดจากพฤติกรรมดังต่อนี้...

เพราะไม่ทานอาหารเช้า

หากคุณเพิ่งรับประทานมื้อเย็นหมดไป แต่เพียงไม่กี่อึดใจก็กลับรู้สึกว่าในท้องมีที่ว่างมากพอที่จะแทรกอีกหนึ่งมื้อใหญ่ๆเข้าไปได้เลย นั่นอาจเป็นเพราะร่างกายของคุณได้รับพลังงานไม่เพียงพอจากการที่ไม่ได้ทานมื้อเช้านั่นเอง

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

[caption id="" align="aligncenter" width="500"] อาหารเช้า[/caption]

เมื่อไม่ได้ทานอาหารเช้า เรามักจะรู้สึกหิวมากเป็นพิเศษจนทำให้ต้องทานมากกว่าปกติในมื้อถัดๆมา โดยเฉพาะในช่วงเย็นหรือช่วงหัวค่ำ ซึ่งเป็นพฤติกรรมที่ไม่ถูกต้อง เพราะนอกจากจะทำให้กระเพาะอาหารและลำไส้ทำงานหนักในเวลาสั้นๆแล้ว ยังอาจทำให้มีพลังงานแคลอรี่ตกค้างได้

คำแนะนำ: อย่าข้ามมื้อเช้าโดยเด็ดขาด และควรแบ่งสันปันส่วนอาหารในแต่ละมื้อให้มีปริมาณและพลังงานแคลอรี่ที่เท่าๆกัน เพื่อให้เกิดความสมดุลในการนำพลังงานมาใช้ระหว่างวัน

รับประทานเร็วจึงหิวไว

การลำเลียงอาหารไปยังกระเพาะนั้นต้องใช้เวลานานพอสมควร บางครั้งก็นานมากจนผู้ที่รับประทานอาหารเร็วมักด่วนตัดสินใจเร็วเกินไปด้วยว่ายังรู้สึกท้องว่างอยู่ ทำให้สามารถทานได้มากกว่าปกติและบางครั้งอาจมีอาการท้องอืดรวมอยู่ด้วย

คำแนะนำ: การตักอาหารคำเล็กๆ และเคี้ยวให้ละเอียดยิ่งขึ้นจะช่วยทำให้รับประทานอาหารช้าลงได้ หรือไม่เช่นนั้นก็ควรนั่งพักหลังมื้ออาหารก่อน อย่าเพิ่งรีบรับประทานเพิ่มทันที

ดื่มน้ำน้อย

การที่ยังรู้สึกว่าท้องว่างอยู่หลังจากเพิ่งรับประทานอาหารเสร็จอาจเกิดจากการที่คุณดื่มน้ำน้อยเกินไประหว่างวันหรือหลังมื้ออาหาร เมื่อร่างกายของเรากระหายน้ำก็มักจะมีปฏิกริยาตอบสนองที่คล้ายกับอาการหิว ซึ่งมักเป็นความรู้สึกที่คล้ายกันมากจนแทบแยกไม่ออกเลยทีเดียว

คำแนะนำ: หลังจากรับประทานอาหารเสร็จแล้วควรดื่มน้ำตามอย่างน้อย 1 แก้ว ซึ่งนอกจากจะช่วยทำให้รู้สึกอิ่มแล้วยังช่วยให้ระบบย่อยอาหารและระบบขับถ่ายทำงานได้อย่างคล่องตัวมากขึ้นอีกด้วย

ทานของหวาน หรือดื่มน้ำอัดลม

ของหวานและน้ำอัดลมชนิดต่างๆนั้นเต็มไปด้วยน้ำตาลที่เมื่อเข้าสู่ร่างกายในปริมาณมากแล้วจะไปสกัดกั้นการทำงานของฮอร์โมนเลปทิน (leptin) ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ทำให้ร่างกายรับรู้ว่าได้รับประทานเพียงพอแล้ว เมื่อขาดฮอร์โมนตัวนี้ไปเราจึงไม่รู้สึกอิ่มเสียที อีกทั้งความหวานจากน้ำตาลที่ติดอยู่ที่ลิ้นของเรายังทำให้รู้สึกอยากรับประทานเพิ่มมากขึ้น หรือที่เราเรียกว่าเป็นอาการ/ความรู้สึกหวาน 'หวานปาก' ที่เป็นการกระตุ้นความอยากอาหารได้โดยตรงอีกด้วย

คำแนะนำ: หลีกเลี่ยงการรับประทานขนมหวานหรือดื่มน้ำอัดลม โดยเฉพาะหลังจากการทานมื้อเย็นแล้ว แต่หากขนมหวานเป็นส่วนหนึ่งของมื้ออาหารเย็นแล้วละก็ แนะนำให้แปรงฟันและบ้วนปากทันทีเพื่อลดอาการหวานปากหลังมื้ออาหาร


5 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Late-night eating: OK if you have diabetes?. Mayo Clinic. (https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/diabetes/expert-answers/diabetes/faq-20058372)
The Surprising Reason You Snack at Night (and How to Stop It). Health.com. (https://www.health.com/condition/obesity/the-surprising-reason-you-snack-at-night-and-how-to-stop-it)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป