โรคหูด ปัญหาโรคผิวหนังที่คุณป้องกันได้

มาทำความรู้จักโรคหูด ปัญหาโรคผิวหนังที่รักษา และป้องกันได้
เผยแพร่ครั้งแรก 28 มี.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 27 พ.ค. 2019 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
โรคหูด ปัญหาโรคผิวหนังที่คุณป้องกันได้

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • หูด เป็นโรคผิวหนังชนิดหนึ่ง เกิดจากการติดเชื้อไวรัสเอชพีวี (HPV) ไม่มีอาการ ใช้ระยะเวลาในการฝักตัวประมาณ 1-6 เดือน และสามารถติดต่อได้ผ่านการสัมผัสโดยตรง หรือผ่านการมีเพศสัมพันธ์
  • ผู้ที่เสี่ยงต่อการเป็นโรคหูด ได้แก่ ผู้ที่มีระบบภูมิต้านทานโรคต่ำ ร่างกายอ่อนแอ ไม่สบายบ่อยๆ ทำให้ติดเชื้อได้ง่ายกว่าคนทั่วไป
  • หูด แบ่งเป็น 3 ชนิด ได้แก่ หูดธรรมดา มีผิวขรุขระ หูดชนิดแบน มีตุ่มเม็ดเล็ก ผิวเรียบ และหูดฝ่าเท้า มีลักษณะเป็นไต แผ่นหนาแข็ง และมีขนาดใหญ่กว่าหูดธรรมดา
  • วิธีรักษาหูด แพทย์จะทำลายเซลล์ที่ติดเชื้อไวรัสด้วยวิธีการต่างๆ เช่น ทายา จี้ด้วยไนโตรเจนเหลว จี้ด้วยไฟฟ้า จี้ด้วยเลเซอร์ ผ่าตัดออก หรือใช้ภูมิคุ้มกันบำบัด
  • การรักษาสุขภาพร่างกายให้แข็งแรงอยู่เสมอ และรักษาสุขอนามัย จะช่วยป้องกันการเกิดโรคหูด หรือการกลับมาเป็นซ้ำได้ (ดูแพ็กเกจตรวจสุขภาพได้ที่นี่)

"หูด" โรคผิวหนังชนิดหนึ่ง ที่มีลักษณะเป็นเม็ดตุ่มนูน แข็ง มีรากอยู่ข้างใน มีหลายขนาด สามารถเกิดได้กับทุกเพศทุกวัย โดยเมื่อเกิดขึ้นแล้วจะค่อยๆ โตอย่างช้าๆ ไม่มีอาการ พบได้บ่อยตามมือและเท้า 

โรคหูดเกิดจากอะไร มีกี่ชนิด มีอาการอะไรบ้าง แล้วจะรักษาอย่างไร ไปติดตามอ่านกันเลย

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

สาเหตุของโรคหูด

หูด มีสาเหตุจากการติดเชื้อไวรัสเอชพีวี (Human papilloma virus: HPV) โดยเชื้อไวรัสจะกระตุ้นให้ส่วนผิวหนังของเซลล์หนังกำพร้าค่อยๆ หนาตัว หรือแข็งตัวขึ้น มีระยะฟักตัวราว 1-6 เดือน  

โรคหูดสามารถติดต่อได้ผ่านการสัมผัสผัวหนังโดยตรง และการมีเพศสัมพันธ์ ขึ้นอยู่กับชนิดของหูด

ผู้ที่มีโอกาสเสี่ยงเป็นโรคนี้ คือ ผู้ที่มีระบบความต้านทานของโรคต่ำ เช่น ผู้ป่วยโรคมะเร็งที่ได้รับยากดภูมิคุ้มกัน ผู้ที่ไม่สบายบ่อยๆ และร่างกายอ่อนแอ ทำให้ติดเชื้อต่างๆ ได้ง่าย

ชนิดของหูด

หูด แต่ละชนิด จะแตกต่างกันตามลักษณะที่เกิดขึ้น แบ่งเป็น 3 ชนิด ดังนี้

  1. หูดที่มีลักษณะธรรมดา (common wart) มีลักษณะเป็นตุ่มเม็ดนูนแข็งขึ้นจากผิวหนังชั้นกำพร้า ลักษณะผิวค่อนข้างขรุขระ อาจมีเม็ดเดียว หรือหลายเม็ด พบได้บ่อยบริเวณแขน ขา มือ และเท้า

  2. หูดชนิดแบน (plane wart) มีลักษณะเป็นตุ่มเม็ดเล็กแข็ง ผิวเรียบ พบได้บ่อยบริเวณหลังมือ และหน้าผาก

  3. หูดฝ่าเท้า (plantar wart) มีลักษณะเป็นไต แผ่นหนาแข็ง มีขนาดใหญ่กว่าหูดแบบธรรมดา มีรอยปื้นใหญ่ พบได้บ่อยบริเวณฝ่าเท้า และข้างใต้ฝ่าเท้า

อาการของโรคหูด

ปกติแล้ว ผู้ป่วยโรคหูดมักจะไม่แสดงอาการใดๆ ไม่มีอาการคัน แดง หรือบวม แต่หากหูดเกิดบริเวณฝ่าเท้า ผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นคือ เมื่อเดินจะทำให้เกิดการกดทับหูดโดยตรง อาจทำให้บริเวณที่เป็นหูดมีอาการเจ็บได้

วิธีการรักษาโรคหูด

การรักษาหูด แพทย์จะใช้หลักการทำลายเซลล์ที่ติดเชื้อไวรัสให้หายไป ซึ่งทำได้หลายวิธี เช่น

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

  • การทายา มักจะใช้กับหูดที่มีขนาดเล็ก นิยมใช้ยาที่มีส่วนผสมของกรดซาลิซิลิก กรดไตรคลออะซิติก หรือไบคลออะซิติก โดยระยะเวลาที่รักษาจะขึ้นอยู่กับขนาดของหูด

  • การจี้ด้วยไนโตรเจนเหลว เป็นวิธีการรักษาด้วยความเย็น หากหูดมีแผ่นหนาแพทย์จะฝานก่อนจี้ หลังการจี้ 1 วัน แผลจะบวมพองเป็นตุ่มน้ำ อาจมีเลือดออกอยู่ข้างใน หลังจากนั้นจะค่อยๆ ตกสะเก็ด และหายไป ใช้เวลาประมาณ 1-3 สัปดาห์ จำนวนครั้งที่จี้ขึ้นอยู่กับขนาด และลักษณะของหูด

  • การจี้ด้วยไฟฟ้า เป็นการรักษาโดยใช้ความร้อน โดยแพทย์จะคำนึงถึงขนาด และลักษณะของหูดแต่ละชนิด เพื่อเลือกการรักษาที่เหมาะสมกับหูดนั้นๆ

  • การจี้ด้วยเลเซอร์คาร์บอนไดออกไซด์ (CO2 Laser) หลังจากรักษา บริเวณรอยโรคจะเกิดแผล และตกสะเก็ดราว 1 สัปดาห์ แล้วแผลก็จะค่อยๆ จางหายไป

  • การผ่าตัดออก พบว่า วิธีนี้จะไม่ค่อยเป็นที่นิยมมากนัก วิธีการคือ ผ่าตัดเอาก้อนหูดออกจากผิวหนังไปทั้งก้อน

  • ภูมิคุ้มกันบำบัด (Immunotherapy) เป็นการใช้ภูมิคุ้มกันของผู้ป่วยเองในการกำจัดหูด จะใช้วิธีนี้ได้ก็ต่อเมื่อการรักษาด้วยวิธีอื่นไม่ได้ผล ตัวอย่างภูมิคุ้มกันบำบัด เช่น การทา Diphencyprone (DCP) ที่หูด ซึ่งจะทำให้หูดหายไปได้

การป้องกันตนเองจากหูด

โดยปกติแล้ว หูด สามารถหายได้เอง แต่อาจต้องใช้ระยะเวลาเป็นเดือน หรือเป็นปี สิ่งสำคัญอย่างยิ่งในการป้องกันหูด คือ การรักษาความสะอาดเพื่อไม่ให้เชื้อต่างๆ เข้าสู่ร่างกายจนทำให้เกิดการแพร่กระจายไปยังส่วนต่างๆ ได้ 

โรคหูดนั้น เกิดจากระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ การรักษาสุขภาพร่างกายให้แข็งแรงอยู่เสมอ เช่น รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ พักผ่อนให้เพียงพอ และออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ จะช่วยให้ระบบภูมิคุ้มกันทำงานได้ดีขึ้น ช่วยลดโอกาสเกิดการติดเชื้อต่างๆ ได้ 

และแม้ว่า หูดจะหายไปแล้ว ก็ควรรักษาความสะอาดอย่างสม่ำเสมอ เพื่อป้องกันการกลับมาเป็นซ้ำ

ดูแพ็กเกจตรวจสุขภาพ เปรียบเทียบราคา โปรโมชั่นล่าสุดจากโรงพยาบาลและคลินิกชั้นนำได้ที่นี่ หรือไม่พลาดทุกการอัปเดตแพ็กเกจเหล่านี้ เมื่อกดเป็นเพื่อนทางไลน์ @hdcoth และกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


2 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)