กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

เคล็ดลับการเดินเพื่อสุขภาพ เดินแล้วมีประโยชน์อย่างไร

รวมเคล็ดลับการเดินเพื่อสุขภาพ แต่ละช่วงวัยควรเดินกี่ก้าว เดินไม่ให้น่าเบื่อทำอย่างไร
เผยแพร่ครั้งแรก 28 มี.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 9 ธ.ค. 2020 เวลาอ่านประมาณ 4 นาที
เคล็ดลับการเดินเพื่อสุขภาพ เดินแล้วมีประโยชน์อย่างไร

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • การเดินเพื่อสุขภาพทำได้ไม่ยาก แต่ต้องขึ้นอยู่กับเป้าหมายในการเดิน เงื่อนไขในช่วงวัย และสุขภาพ โดยอย่างน้อยในทุกๆ วัน ทุกคนควรเดินเพื่อออกกำลังอย่าง 30 นาที
  • คนแต่ละช่วงวัยจะมีจำนวนการก้าวเดินต่างกัน โดยวัยต่ำกว่า 18 ปี ควรเดินอยู่ที่ 6,000 ก้าวต่อวัน วัย 18 ปีขึ้นไป ควรเดินอยู่ที่ 10,000 ก้าวต่อวัน วัยสูงอายุควรเดิน 3,000-10,000 ก้าวต่อวัน
  • การเดินเพื่อสุขภาพไม่ได้จำกัดแค่บนลู่วิ่ง หรือแค่ที่สวนสาธารณะ แต่คุณสามารถเดินขึ้นบันไดแทนการใช้ลิฟต์เพื่อออกกำลังกายได้ นอกจากนี้คุณยังต้องอบอุ่นร่างกายก่อนเดินออกกำลังกายด้วย หรือหากรู้สึกว่า เบื่อการเดินเฉยๆ ก็อาจเดินกับเพื่อน เดินฟังเพลงไปด้วย
  • ผู้ที่มีปัญหานอนไม่หลับ มีภาวะซึมเศร้า ต้องการลดน้ำหนัก สามารถใช้การเดินในการพัฒนาสุขภาพตนเองได้
  • เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจลดน้ำหนัก ออกกำลังกาย

จการเดิน ถือเป็นอีกแนวทางออกกำลังกายที่ทำได้ไม่ยาก สามารถทำได้ไม่ยาก อย่างไรก็ตาม ทุกๆ คนต้องรู้จักวิธีการเดินอย่างเหมาะสม เพื่อให้ทั้งสุขภาพที่ดี และไม่ทำให้ร่างกายบาดเจ็บ

เพราะเงื่อนไขสุขภาพ และช่วงวัยของแต่ละคนที่แตกต่างกัน วิธีการเดินเพื่อสุขภาพของคนแต่ละคนจึงแตกต่างกันไป เช่น

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

การเดิน 100 ก้าวต่อนาที ถือเป็นเป้าหมายที่ดีใน 1 วันสำหรับช่วงเด็กวัยรุ่นอายุ 18 ปีขึ้นไป หรือผู้ใหญ่วัยกลางคน แต่อาจน้อย และช้าเกินไป สำหรับกลุ่มผู้ที่ออกกำลังกายอย่างหนักเป็นประจำอยู่แล้ว หรือเป็นนักกีฬา นักวิ่งมาราธอน

และการเดิน 100 ก้าวต่อนาทีก็เป็นเป้าหมายที่อาจทำได้ยากในผู้ที่มีโรคประจำตัว มีน้ำหนักเกินเกณฑ์มาก หรือกำลังได้รับบาดเจ็บซึ่งยากต่อการเคลื่อนไหว

เรามาดูกันว่า การเดินเพื่อสุขภาพควรเป็นอย่างไร

จำนวนการก้าวเดินที่เหมาะสมของคนแต่ละช่วงวัย

จำนวนการก้าวเดินในแต่ละวันของคนแต่ละช่วงวัยจะแตกต่างกัน โดยจำแนกออกได้ 3 ช่วง

  1. วัยเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี เป็นวัยที่กระดูกกำลังเจริญเติบโต และกำลังเรียนรู้วิธีการเคลื่อนไหวร่างกาย อีกทั้งมักมีความกระตือรือร้นในการเดิน หรือทำกิจกรรมมาก วัยเด็กจึงจะมีจำนวนการก้าวเดินอยู่ที่ 6,000 ก้าวต่อวัน

  2. วัยรุ่นอายุ 18 ปีขึ้นไป และวัยผู้ใหญ่ ควรจะอยู่ที่ 10,000 ก้าวต่อวันเป็นจำนวนมาตรฐาน แต่หากคุณมีอาชีพที่ต้องอยู่หน้าคอมพิวเตอร์นานๆ ไม่ได้ลุกไปไหน และเดินน้อยกว่า 7,000 ก้าวต่อวัน ก็ควรเสริมความแข็งแรงของร่างกายด้วยการออกกำลังกายเพิ่มเติม

  3. วัยสูงอายุที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป เป็นวัยที่กระดูกจะเริ่มเสื่อมสภาพ ไม่ได้คงทนแข็งแรงเท่าแต่ก่อน จำนวนก้าวที่ควรมีในแต่ละวันจึงจะลดลงมาอยู่ที่ประมาณ 3,000-10,000 ก้าว แต่ทั้งนี้ต้องขึ้นอยู่กับโรคประจำตัว ภาวะสุขภาพ และความแข็งแรงของกระดูกด้วย

เดินเพื่อสุขภาพ ทำอย่างไร?

คุณควรใช้เวลาในการเดินอย่างน้อย 30 นาทีต่อวัน ไม่จำเป็นจะต้องเดินเร็ว หรือเดินช้า แต่เดินในปริมาณก้าวปกติที่คุณเดินทุกๆ วัน ยกเว้นแต่คุณต้องการลดน้ำหนัก เพิ่มความแข็งแรงให้กับร่างกาย นั่นความว่า คุณจะต้องใช้เวลาเดินมากกว่านั้น และอาจต้องมีการออกกำลังกายอื่นเข้ามาเสริม

นอกจากนี้ยังมีเคล็ดลับการเดินอื่นๆ ที่คุณสามารถทำได้ เพื่อให้สุขภาพแข็งแรงขึ้น เช่น

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

  • ใช้บันไดแทนการใช้ลิฟต์ หากคุณจะต้องเดินขึ้นอาคารที่ไม่ได้สูง หรือหลายชั้นมากนัก รวมถึงมีเวลาเดินเพียงพอ เพื่อให้ร่างกายได้เผาผลาญพลังงาน และเสริมความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขา

  • ใช้การเดินแทนการนั่งรถ หากจุดหมายที่คุณจะไปห่างที่ที่คุณอยู่ไม่ไกลนัก

  • อย่าจำกัดสถานที่ในการเดิน หลายคนมักยึดติดการเดินแค่อยู่บนลู่วิ่ง หรือที่สวนสาธารณะ แต่ความจริงแล้ว การเดินออกกำลังกายสามารถทำได้ทุกที่ ทุกเวลา ขอเพียงคุณได้ก้าวเดิน หรือเคลื่อนไหวร่างกาย นั่นก็ถือเป็นการออกกำลังกายแล้ว

  • จัดตารางเวลาให้ตนเองมีเวลาในการเดินออกกำลังกายทุกวัน หากคุณคิดว่า ตนเองไม่มีเวลา ลองเขียนออกมาว่า แต่ละวัน ในแต่ละชั่วโมง คุณทำอะไรบ้าง แล้วมีเวลาไหนที่คุณจะสามารถเปลี่ยน 30 นาทีนั้นเป็นการเดินเพื่อสุขภาพได้

  • ใส่เครื่องนับก้าวในระหว่างเดิน แต่หากไม่สะดวก ให้คุณจับเวลากับนาฬิกาข้อมือ หรือโทรศัพท์มือถือว่า ใช้ระยะเวลาเดินนาน และเพียงพอตามเป้าหมายหรือไม่

  • เพิ่มระยะทางให้กับตนเอง ผ่านการตั้งเป้าหมายว่า วันนี้คุณจะเดินให้ได้กี่กิโลเมตร แล้วในสัปดาห์ถัดไป คุณจะเพิ่มเป้าหมายให้ตนเองอีกกี่กิโลเมตร เพื่อให้การเดินของคุณมีการพัฒนาประสิทธิภาพ ไม่อยู่กับที่

    นอกจากนี้คุณไม่จำเป็นต้องเดินเร็ว หรือวิ่งเร็วจนหอบเหนื่อยเสมอไป คุณควรเดินในจังหวะการก้าวเดินที่คุณหายใจสะดวก สามารถพูดคุยได้ รวมถึงมีสมาธิกับการเดินได้เป็นอย่างดี

  • มีการอบอุ่นร่างกายก่อนเดิน และยืดกล้ามเนื้อหลังเดิน เพื่อให้ร่างกายได้เตรียมพร้อม และผ่อนคลายทั้งก่อน และหลังเดิน คำแนะนำนี้ยังจะช่วยให้ลดโอกาสการบาดเจ็บในระหว่างเดินให้กับคุณด้วย

  • สวมใส่เสื้อผ้าที่ใส่สบาย เคลื่อนไหวได้คล่องตัว เพื่อให้คุณไม่รู้สึกอึดอัด หรือหายใจไม่สะดวกในระหว่างเดิน นอกจากนี้คุณยังควรใส่รองเท้าผ้าใบสำหรับออกกำลังกาย หรือสำหรับวิ่งในระหว่างเดินด้วย เพื่อลดโอกาสบาดเจ็บบริเวณเท้า ข้อเท้า หรือข้อต่อต่างๆ

  • เพิ่มความน่าสนใจ และความสนุกในระหว่างเดิน โดยคุณอาจเดินไปพร้อมกับสัตว์เลี้ยง เดินในสวนสาธารณะ ฟังเพลงในระหว่างเดิน หรือเดินออกกำลังกายกับครอบครัว คนรัก เพื่อนๆ เพื่อให้การเดินของคุณไม่ใช่แค่การออกกำลังกายที่น่าเบื่อเท่านั้น

หากคุณเป็นผู้ที่มีโรคประจำตัว หรือไม่รู้ว่า ตนเองควรเดินออกกำลังในปริมาณ จำนวนก้าว ระยะเวลานานเท่าไรจึงจะเหมาะสม ก็สามารถเข้ารับการตรวจสุขภาพ และปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับแนวทางการออกกำลังกายอย่างเหมาะสมได้

เดินไปคุยไป ดีจริงหรือไม่?

จากคำแนะนำการเดิน ถึงแม้การเดินไปคุยไปจะทำให้การออกกำลังกายไม่น่าเบื่อ แต่มันก็ยากที่จะทำให้คุณจดจ่อกับบทสนทนาได้ เพราะคุณจะต้องเคลื่อนไหวร่างกายไปพร้อมๆ กับพูดคุย

นอกจากนี้การเดินไปคุยไปจะทำให้คุณหายใจไม่ทันในระหว่างเดิน ส่งผลให้เสี่ยงเป็นลม หรือหอบหนักได้ หากคุณเดินช้า หรือเดินเล่น ก็สามารถพูดคุยได้ตามปกติ

แต่หากอยู่ในระหว่างเดินออกกำลังกาย เริ่มเดินเร็ว วิ่งจ็อกกิ้ง หรือมีการนับก้าวในระหว่างเดิน จะดีกว่าหากคุณเพ่งสมาธิไปกับการเดินเท่านั้น และหยุดสนทนาชั่วคราวเพื่อให้ตนเองหายใจเข้าออกในระหว่างออกกำลังกายอย่างสะดวกมากขึ้น

ประโยชน์ของการเดิน

นอกจากการเดินจะมีประโยชน์ต่อสุขภาพแล้ว มันยังมีข้อดีอื่นๆ อีก เช่น

  • ทำให้อารมณ์ดียิ่งขึ้น เพราะการเดินจัดเป็นการออกกำลังที่ทำให้ร่างกายหลั่งสารเอ็นโดรฟิน (Endorphin) ซึ่งสารความสุข ทำให้โอกาสเป็นภาวะซึมเศร้า หรือโรคซึมเศร้าน้อยลง
  • ช่วยลดน้ำหนัก ซึ่งเป็นหนึ่งในประโยชน์ของการออกกำลังกายที่ทุกคนรู้จัก แต่ต้องทำอย่างสม่ำเสมอ และต่อเนื่อง
  • ลดโอกาสเป็นเส้นเลือดขอด เพราะการเดินจะทำให้ระบบไหลเวียนโลหิตไหลไปหล่อเลี้ยงบริเวณขาได้ดี รวมไปถึงหลอดเลือดส่วนอื่นๆ จะทำงานได้อย่างคล่องตัวมากขึ้น
  • ลดโอกาสปวดบริเวณไขข้อ หรือข้อต่อ
  • ทำให้นอนหลับได้ง่ายขึ้น ใครที่มีปัญหานอนหลับยาก นอนหลับไม่สนิท ลองเดินออกกำลังกายเพื่อให้สารเมลาโทนิน (Melatonin) ในร่างกายหลั่งมากขึ้น หากสารชนิดนี้หลั่งมากพอ คุณก็จะสามารถนอนหลับได้ง่ายขึ้น

นอกจากนี้การเดินยังมีส่วนช่วยลดโอกาสการเดินโรคร้ายอื่นๆ ได้อีกหลายชนิด จากการออกกำลังกาย ทำให้ระบบในร่างกายทำงานมีประสิทธิภาพ มีการเผาผลาญพลังงานอยู่เรื่อยๆ เช่น โรคเบาหวาน โรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง โรคซึมเศร้า โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่

การเดินเป็นการออกกำลังกายที่ไม่ยาก เพียงแต่ต้องอาศัยวินัย ความสม่ำเสมอ และการตั้งเป้าหมายว่า คุณต้องการเดินออกกำลังกายไปเพื่ออะไร เพียงเท่านี้คุณก็สามารถพัฒนาวิถีชีวิตประจำง่ายๆ ให้กลายเป็นการออกกำลังกายที่ดีได้อีกแบบหนึ่ง

เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจลดน้ำหนัก ออกกำลังกาย จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


4 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Meghan Rabbitt, 11 Biggest Benefits of Walking to Improve Your Health, According to Doctors (https://www.prevention.com/fitness/a20485587/benefits-from-walking-every-day/), 09 December 2020.
Health Publishing, Walk this way (https://www.health.harvard.edu/heart-health/walk-this-way), 09 December 2020.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
เครื่องวัดอัตราการเต้นของหัวใจเกี่ยวข้องกับอัตราการเต้นของหัวใจขณะออกกำลังกายอย่างไร?
เครื่องวัดอัตราการเต้นของหัวใจเกี่ยวข้องกับอัตราการเต้นของหัวใจขณะออกกำลังกายอย่างไร?

ทำความรู้จักเครื่องวัดอัตราการเต้นของหัวใจ หรือเครื่องวัดชีพจร และอัตราการเต้นของหัวใจในการออกกำลังกายแต่ละโซน

อ่านเพิ่ม
ชีพจรขณะพักคืออะไร
ชีพจรขณะพักคืออะไร

ทำความรู้จักค่าชีพจรที่เหมาะสมในแต่ละวัย และวิธีการวัดชีพจรแบบง่ายๆ ด้วยตัวเอง

อ่านเพิ่ม
ค่าเป้าหมายอัตราการเต้นของหัวใจ
ค่าเป้าหมายอัตราการเต้นของหัวใจ

อัตราการเต้นของหัวใจคืออะไร สำคัญอย่างไร ค่าอัตราการเต้นของหัวใจที่เหมาะสมในช่วงปกติและขณะออกกำลังกายของแต่ละช่วงวัยคือเท่าไร

อ่านเพิ่ม