สัญญาณชีพหรือชีพจร วิธีการวัด และอุปกรณ์วัด

เผยแพร่ครั้งแรก 27 ก.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
สัญญาณชีพหรือชีพจร วิธีการวัด และอุปกรณ์วัด

ในยามที่ผู้คนเจ็บป่วยต้องเข้ารับการรักษาในสถานพยาบาล ก่อนเข้าพบแพทย์ได้นั้นจะต้องมีการสอบถามถึงอาการเจ็บป่วยกับประวัติ การชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง และขั้นตอนการเก็บข้อมูลเกี่ยวกับการวัดสัญญาณชีพจรหรือชีพจร ซึ่งสามารถบอกการทำงานของอวัยวะภายในได้ว่ายังทำงานปกติหรือมีบางสิ่งบางอย่างที่ผิดปกติหรือไม่

สัญญาณชีพหรือชีพจรหมายถึงอะไร

สัญญาณชีพหรือชีพจร (Vital sign) จะมีค่าตัวเลขที่บ่งบอกว่ายังมีชีวิตอยู่หรือไม่ หากไม่มีสัญญาณนี้จากร่างกายของผู้ป่วย นั่นหมายถึงการมีชีวิตได้สิ้นสุดลงแล้ว ทางการแพทย์จะใช้ค่าต่างๆ เหล่านี้เป็นตัวประเมินการทำงานของปอด หัวใจ และสมอง ซึ่งเป็นการประเมินสุขภาพของผู้าป่วยเบื้องต้น โดย 4 อาการที่สัญญาณชีพบอกได้คือ

  1. ชีพจร แสดงถึงอัตราการเต้นของหัวใจ
  2. การหายใจ แสดงถึงอัตราการหายใจ
  3. อุณหภูมิ แสดงถึงอุณหภูมิภายในร่างกาย
  4. ความดันโลหิต

ค่าต่างๆ ของแต่ละคนนั้นไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับเพศ อายุ ขณะมีความเคลื่อนไหวหรืออาการตกใจ มีไข้  หากมีความเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมในแต่ละบุคคล อาจหมายถึงมีความผิดปกติในร่างกายหรือเกิดโรคได้

วิธีการวัดสัญญาณชีพ

  1. การวัดชีพจร ใช้วิธีการคลำเส้นเลือดแดงที่อยู่ตรงข้อมือ ถ้าหัวใจบีบตัวจะทำให้เส้นเลือดมากระทบกับนิ้วมือที่คลำ เมื่อหัวใจคลายตัวก็จะส่งผลให้เส้นเลือดที่มากระทบนิ้วมือที่คลำลดลง แบบนี้ถือว่าเป็นการเต้นของหัวใจ 1 ครั้ง ส่วนมากจับเวลาการนับเพียง 30 วินาที ได้จำนวนกี่ครั้งก็คูณสอง ขณะจับชีพจรต้องดูการเต้นว่าสม่ำเสมอหรือไม่ อีกทั้งหากมีสัญญาณเต้นมากระทบนิ้วเบาๆ แสดงว่าหัวใจบีบเลือดได้น้อย
  2. การวัดการหายใจ ให้สังเกตการเคลื่อนไหวของทรวงอกแล้วนับว่าใน 1 นาที มีการเคลื่อนไหวกี่ครั้ง จึงจะบ่งบอกว่าการหายใจเพียงพอหรือไม่ ถ้าไม่พอจะทำให้หายใจถี่หรือเร็วและแรงขึ้น
  3. การวัดอุณหภูมิ จะใช้ปรอทวัดไข้ให้ผู้ป่วยอมไว้ใต้ลิ้นแล้วอ่านค่าได้เลยเมื่อครบเวลา หรือวัดทางทวารหนักด้วยการใส่ปรอทเข้าที่ง่ามก้นประมาณครึ่งถึงหนึ่งนิ้วแล้วใช้นิ้วจับไว้ จากนั้นรอสัญญาณและอ่านผล อีกวิธีหนึ่งที่ใช้กันบ่อยๆ คือวัดทางรักแร้ ด้วยการใส่ปรอทไว้ที่ซอกด้านบนของรักแร้แล้วให้คนไข้ทิ้งแขนหนีบไว้ค่อยรออ่านผล นอกจากนี้ยังสามารถวัดที่หูได้ หากเป็นเด็กให้ดึงติ่งหูทิ้งไปด้านล่างและไปข้างหลัง ส่วนผู้ใหญ่ดึงขึ้นและไปข้างหลัง กดปุ่มวัดแล้วรออ่านผล
  4. การวัดความดันโลหิต
    • การฟังด้วยเครื่องวัดแบบแมนนวล เป็นการวัดด้วยแรงที่กระทำจากผ้าพันแขนด้วยการสูบลมจนมีระดับปรอทอยู่เหนือค่า SBP ประมาณ 20 – 30 มิลลิเมตรปรอท แล้วจึงเป่าลมออก จากนั้นอ่านค่าที่เสียงดังสูงสุดและปล่อยให้ปรอทลงต่ำสุดจนเสียงหายไปจึงอ่านค่าอีกครั้ง
    • เครื่องอัตโนมัติดิจิตอล สามารถกดปุ่มผ้าพันแขนก็จะรัดแน่นแล้วรออ่านผลได้เลย

อุปกรณ์ที่ใช้วัดสัญญาณชีพจร

  1. การวัดชีพจร ใช้นิ้วมือหรืออุปกรณ์วัดชีพจรแบบใช้สายคาดอกคล้ายนาฬิกา หรือเป็นระบบเซนเซอร์เพื่อใช้คู่กับสมาร์ทโฟน แต่ยังไม่เป็นที่นิยมมากเท่าไร
  2. การวัดการหายใจ ไม่ต้องใช้อุปกรณ์ แต่ให้ใช้การสังเกตด้วยตาแล้วนับและจับเวลา
  3. การวัดอุณหภูมิ ใช้ปรอทในการวัด ซึ่งมี 4 ชนิด คือ ปรอทแบบธรรมดาใช้อมไว้ใต้ลิ้น การวัดทางหูที่ใช้แสงอินฟาเรด ปรอทชนิด electronic ใช้วัดทางปาก ทวารหนัก รักแร้ และปรอทวัดไข้ชนิดแตะที่หน้าผาก
  4. การวัดความดันโลหิต ใช้อุปกรณ์ 3 ชนิด คือ แบบหูฟังที่ทำมาจากปรอท ซึ่งเป็นแบบที่นิยมและได้มาตรฐานแบบขดลวดที่ให้ความสะดวกและราคาไม่แพง เครื่องวัดแบบดิจิตอลที่ใช้งานง่ายและอ่านผลได้สะดวก

การวัดสัญญาณชีพไม่ได้กระทำแค่การเก็บประวัติก่อนรักษาโรคเท่านั้น แต่ยังมีการตรวจวัดอีกหลายครั้งขณะที่ทำการรักษา เพราะเป็นวิธีที่สามารถตรวจจับความผิดปกติของร่างกายได้ง่ายและแม่นยำ หากพบความผิดปกติในขั้นตอนเบื้องต้นนี้แล้ว จะช่วยให้แพทย์สามารถวิเคราะห์เพื่อตรวจหาโรคเป็นไปด้วยความรวดเร็วขึ้น



2 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
How to Measure Normal Adult Vital Signs. Verywell Health. (https://www.verywellhealth.com/normal-adult-vital-signs-914750)
Vital Signs (Body Temperature, Pulse Rate, Respiration Rate, Blood Pressure). Johns Hopkins Medicine. (https://www.hopkinsmedicine.org/health/conditions-and-diseases/vital-signs-body-temperature-pulse-rate-respiration-rate-blood-pressure)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)