กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

HonestDocs เผย คนไทยสายเขียว 64% ใช้กัญชาเพื่อสันทนาการ มีเพียง 16% ใช้รักษาโรค

เผยแพร่ครั้งแรก 27 มิ.ย. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
HonestDocs เผย คนไทยสายเขียว 64% ใช้กัญชาเพื่อสันทนาการ มีเพียง 16% ใช้รักษาโรค

HonestDocs เผย คนไทยสายเขียว 64% ใช้กัญชาเพื่อสันทนาการ มีเพียง 16% ใช้รักษาโรค 

ผู้ตอบแบบสอบถามคนไทยจำนวน 14% ยอมรับว่าเคยทดลองใช้กัญชามาก่อน แต่มีเพียง 16% ของผู้ใช้นำกัญชามาใช้ทางการแพทย์เพื่อบรรเทาอาการเจ็บปวดเป็นหลัก ในขณะที่เยาวชนบางส่วนบริโภคกัญชาทุกวัน

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

ผลสำรวจการใช้กัญชาของคนไทย

กรุงเทพฯ, 27 มิถุนายน 2562 - การนำกัญชามาใช้ในทางการแพทย์กลายเป็นกระแสภายในระยะเวลาเพียงไม่นาน หลังจากรัฐบาลไทยเล็งประกาศปลดกัญชาออกจากบัญชียาเสพติด พร้อมการจับมือกับหลายภาคส่วน ด้วยจุดประสงค์ในการนำกัญชามาวิจัยและใช้ในเชิงการแพทย์ และเพื่อเป็นการเข้าใจการบริโภคกัญชาของคนไทย HonestDocs ศูนย์รวมข้อมูลด้านการแพทย์และสุขภาพ จึงได้จัดทำแบบสำรวจเกี่ยวกับการบริโภคกัญชาขึ้น 

แม้การใช้กัญชาทางการแพทย์กำลังอยู่ท่ามกลางการปรึกษาหารือเพื่อปลดล็อคทางกฏหมาย มีคนไทยจำนวนไม่น้อย ถึง 14% ที่เคยลิ้มรสกัญชามาก่อนจากผู้ตอบแบบสอบถามทั้งหมด 12,905 คน ทั้งนี้จากผลสำรวจพบว่า 64% ของผู้ใช้กัญชานำไปใช้เพื่อสันทนาการ และมีเพียง 16% เท่านั้นที่นำไปใช้เพื่อประโยชน์ทางการแพทย์

ในทางการแพทย์สารของกัญชาที่เป็นที่รู้จักและมีการวิจัยมากคือ THC (Tetrahydrocannabinol) และ CBD (Cannabidiol) ซึ่ง THC ออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท ทำให้เกิดความผ่อนคลาย เคลิบเคลิ้ม และลดอาการปวดได้ ในขณะที่ CBD นอกจากจะมีคุณสมบัติในการลดอาการปวดแล้ว ยังสามารถลดการอักเสบของแผล ดังนั้นจึงไม่แปลกใจเลยว่าผู้ตอบแบบสอบถามที่ใช้กัญชารักษาทางการแพทย์ ใช้กัญชาเพื่อบรรเทาอาการเจ็บปวดมากที่สุด (28%) ตามด้วยเพื่อคลายเครียด ช่วยทำให้นอนหลับ (16%) เพื่อรักษาโรคมะเร็ง (16%) และเพื่อรักษาโรคซึมเศร้า (10%)

อันที่จริงแล้ว ยังไม่มีการวิจัยใดยืนยันว่ากัญชาใช้ควบคุมหรือรักษาโรคมะเร็งได้ มีเพียงบางงานวิจัยที่พบว่าสารในกัญชาสามารถชะลอการเกิดใหม่หรือทำให้เซลล์มะเร็งบางชนิดตายได้ในห้องแล็บ แต่ยังจะต้องมีการวิจัยในมนุษย์ต่อไป ในขณะนี้สมาคมโรคมะเร็งแห่งสหรัฐอเมริกาแนะนำว่ากัญชาปลอดภัยในการใช้บรรเทาอาการของโรคมะเร็ง และผลข้างเคียงของการทำเคมีบำบัด เช่น คลื่นไส้ ไม่อยากอาหาร แต่ผู้ป่วยควรได้รับการรักษาจากแพทย์แผนปัจจุบันด้วย 

ผลสำรวจยังเผยให้เห็นว่า กว่า 60% ของเยาวชนวัยต่ำกว่า 18 ปีที่ใช้กัญชา ใช้กัญชาทุกวัน สิ่งที่น่าเป็นห่วงคือ การใช้กัญชามีผลกระทบต่อสมอง ทำให้ส่งผลกระทบโดยตรงกับคนวัยนี้ที่สมองกำลังพัฒนา โดยมีงานวิจัยพบว่า วัยรุ่นที่ใช้กัญชานั้นมี IQ ต่ำ ความจำแย่ และสมาธิสั้น กว่าคนที่ไม่ได้ใช้กัญชา

ในฐานะที่เป็นศูนย์รวมข้อมูลด้านการแพทย์และสุขภาพ HonestDocs แนะนำว่า แม้กัญชาจะใช้ประโยชน์ในทางการแพทย์ได้ แต่ก็ต้องใช้ภายใต้การควบคุมของแพทย์ในปริมาณที่เหมาะสม มิฉะนั้นอาจเกิดผลลบ เช่น ความคิดเลื่อนลอยสับสน ควบคุมตัวเองไม่ได้ ไม่สนใจสิ่งแวดล้อม ความจำเสื่อม กล้ามเนื้อลีบ หัวใจเต้นเร็ว หูแว่ว เป็นต้น

ทั้งนี้ 44% ของผู้ตอบแบบสอบถามที่ไม่บริโภคกัญชา ให้เหตุผลว่าไม่ได้มีความต้องการและไม่เห็นประโยชน์ในการบริโภคกัญชา และอีก 42% ยอมรับว่าไม่กล้าลองกัญชาเพราะว่ากลัวจะเสพติด 

หมายเหตุ: ข้อมูลและผลสำรวจโดย HonestDocsในบทความนี้เป็นเพียงข้อมูลอ้างอิงเบื้องต้นเท่านั้น ผู้ป่วยที่สนใจการใช้กัญชาเพื่อรักษาหรือบรรเทาโรคควรได้รับการแนะนำและดูแลจากแพทย์อย่างใกล้ชิด


4 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Marijuana. MedlinePlus. (https://medlineplus.gov/marijuana.html)
Marijuana (cannabis): Facts, effects, and hazards. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/246392)
Cannabis (Marijuana) and Cannabinoids: What You Need To Know. National Center for Complementary and Integrative Health (NCCIH). (https://nccih.nih.gov/health/marijuana-cannabinoids)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
โรคจากการเสพกัญชา
โรคจากการเสพกัญชา

อาการแสดงเมื่อเสพติดกัญชา ภาวะเสพติดกัญชา

อ่านเพิ่ม